Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21041
Title: | การปรับปรุงค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้า |
Other Titles: | An improvement of overall equipment effectiveness in welding electrode manufacturing process |
Authors: | ศักดา วิริยะภาพ |
Advisors: | สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suthas.R@Chula.ac.th |
Subjects: | การบำรุงรักษาเชิงทวีผลโดยรวม เครื่องมือในการอุตสาหกรรม การควบคุมความสูญเปล่า ลวดเชื่อมไฟฟ้า การบริหารงานผลิต |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อที่จะทำการปรับปรุงค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้า เพื่อให้ได้ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรของกระบวนการผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้า ที่มีค่า OEE ให้สูงขึ้นมากกว่า 70% โดยศึกษาในส่วนของฝ่ายผลิต 3 แผนก ได้แก่ แผนกดึงรีดตัด แผนกหุ้มฟลั๊กซ์ แผนกเตาอบและบรรจุ ซึ่งมีเครื่องจักรรวมทั้งหมด 30 เครื่องโดยแยกตามกระบวนการผลิตดังนี้ กระบวนการรีดตัดมี 5 เครื่อง กระบวนการตัดมี 8 เครื่อง กระบวนการหุ้มฟลั๊กซ์มี 8เครื่อง และกระบวนการอบมี 9 เครื่อง การดำเนินการโดยเก็บข้อมูลก่อนปรับปรุงเป็นเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม 2552 และเดือนมกราคม 2553 หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร เฉลี่ยในแต่ละกระบวนการก่อนการปรับปรุงได้ดังนี้ กระบวนการดึงรีดตัดได้ 84.53% กระบวนการตัดได้ 89.18% กระบวนการหุ้มฟลั๊กซ์ได้ 45.98% และ กระบวนการอบได้ 55.65% รวมทุกกระบวนการผลิตเฉลี่ยได้ 68.84% เมื่อหาสาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยใช้แผนผังพาเรโตแสดงสาเหตุของข้อบกพร่อง และปริมาณความสูญเสียที่เกิดขึ้นแล้ว ดำเนินการใช้แผนผังก้างปลาเพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุทั้งหมด และนำเสนอมาตรการปรับปรุงได้ดังนี้(1) กำหนดวิธีคำนวณและทำตารางบันทึกค่า OEE (2) กำหนดเวลามาตรฐานการผลิตที่ปรับปรุงใหม่(3) ปรับปรุงวิธีการทำงานและมาตรฐานการผลิตที่ทำให้ค่า OEE ต่ำ (4) ปรับปรุงระบบ การบำรุงรักษาเครื่องจักรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (5) ฝึกอบรมพนักงานคุมเครื่องจักรและช่างซ่อมบำรุงให้รู้วิธีการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง หลังจากดำเนินการตามมาตรการปรับปรุงค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร จากเดือนกันยายน-เดือนพฤศจิกายน 2553 ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร OEE หลังการปรับปรุงแต่ละกลุ่มเพิ่มขึ้นดังนี้ กลุ่มเครื่องจักรดึงรีดตัดเป็น 86.60% เครื่องจักรตัดเป็น 93.83% เครื่องจักรหุ้มฟลั๊กซ์เป็น 79.50% และกลุ่มเครื่องจักรเตาอบเป็น 72.71% ค่า OEE เฉลี่ย เป็น 83.16% ซึ่งสามารถเพิ่มค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรได้เป็น 17.21% |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to improve the overall equipment effectiveness for welding electrode manufacturing process with the target more than 70%. The study focused on 3 production departments as drawing & cutting, cutting, coating, dying & packaging with the total number of machines 30:5 machines in drawing & cutting process, 8 machines in cutting process 8 machines in coating process and 9 machines in baking. The data collection was conducted 3 months from November 2009 to January 2010. After that the raw data was calculated for the overall equipment effectiveness of each machine group; 84.53% for drawing and cutting machine group, 89.18% for cutting machine group, 45.98% for coating machine group, 55.65% for drying & baking oven group, the average for all machine group was 68.84%. Pareto and fish-bone diagram were used to analyze the causes of problem and suggested the improvement methods as follows; (1) Establish Calculation adjustment and create standard table for OEE record in machine group. (2) Set standard time for each product and update when it is improved. (3) Improving work and production standard in each machine for low OEE. (4) Improving maintenance system. (5) Organize the training course for operator and mechanic for maintenance method. After implementation for the improvement plan with the duration of 3 months from September-November 2010. The result was as follows; 86.60% for drawing & cutting machine group, 93.83% for cutting machine group, 79.50% for coating machine group, 72.71% for drying & baking machine group. The average for all departments was 83.16% which was increased by 17.21%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21041 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.393 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.393 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sakda_wi.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.