Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21150
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภิชัย ตั้งใจตรง-
dc.contributor.advisorอาจอง ประทัตสุนทรสาร-
dc.contributor.authorบุปผชาติ มัธยม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-07-26T03:00:55Z-
dc.date.available2012-07-26T03:00:55Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21150-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวน้ำตก การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว และการพัฒนาดัชนีวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวน้ำตก การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ทางเดินเข้าน้ำตก ซึ่งมีนักท่องเที่ยวที่ศึกษาจำนวน 220 คน และพื้นที่บริเวณน้ำตกซึ่งมีนักท่องเที่ยวที่ทำการศึกษาจำนวน 500 คน จากการศึกษาพบพฤติกรรมที่นักท่องเที่ยวทำมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ การชมธรรมชาติ การถ่ายรูป และการเล่นน้ำ ส่วนพฤติกรรมซึ่งเป็นข้อห้ามของอุทยานที่นักท่องเที่ยวทำมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ การส่งเสียงดัง กระโดดน้ำและทิ้งขยะ ในด้านการพัฒนาดัชนีวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยว พิจารณาคัดเลือกผลกระทบที่จะนำไปพัฒนาเป็นดัชนีจาก จำนวนผลกระทบสืบเนื่อง จำนวนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดผลกระทบ และจำนวนนักท่องเที่ยวที่ทำพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบนั้น พบว่ามีตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนผลกระทบได้ดีที่สุด 3 ตัวชี้วัดคือ จำนวนชนิดของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่พบ ความสามารถในการย่อยสลายของชนิดขยะที่พบ และความสามารถในการมองเห็นชัดเจนในแหล่งน้ำ ซึ่งสามารถพัฒนาดัชนีได้ทั้งหมด 4 รูปแบบ คือดัชนีรูปแบบที่ 1 ใช้ผลรวมของตัวชี้วัดทั้งสามตัว ดัชนีรูปแบบที่ 2 ไม่คิดตัวชี้วัดความขุ่นของน้ำ ดัชนีรูปแบบที่ 3 ไม่คิดความสามารถในการย่อยสลายของขยะที่พบ และดัชนีที่ 4 ไม่คิดตัวชี้วัดจำนวนชนิดของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่พบ จากการเปรียบเทียบดัชนีทั้ง 4 รูปแบบ พบว่าดัชนีรูปแบบที่ 4 มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากสามารถประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้สอดคล้องกับสภาพผลกระทบสิ่งแวดล้อมจริงในพื้นที่น้ำตกคลองพลู ผลการวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่น้ำตกคลองพลูคือ มีระดับผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ต่ำมากen
dc.description.abstractalternativeThis study comprised two parts, i.e., studying of tourist behaviors and developing of indices on environmental impacts from waterfall tourism. Tourist behaviors were observed from 220 and 500 individuals along a trail to Khlong Phlu Waterfall and at the Waterfall, respectively. The result showed that the three highest activities conducted by tourists were scenic seeing, photo-taking and swimming. The three highest misbehaviors that are nonconforming to the National Park rules were making noise, jumping into the waterfall and littering. The index development for environmental impacts from waterfall tourism was determined from a set of criteria concerning number of consequence impacts, number of behaviors inducing the impact, and number of tourists whose behaviors caused the impact. The study showed that by using 3 indicators that met the criteria could sufficiently reflect the impact level. The three indicators were number of vertebrates, compostability of litter and turbidity of water. The three indicators could be used to formulate four different index forms. The first form was an aggregation of all 3 indicators, the second form excluded the turbidity indicator, the third form excluded litter indicator, and the last form excluded the vertebrate indicator. From the comparison of the four index forms, the fourth form was the most appropriate because it could estimate real environmental impacts at Khlong Phlu Waterfall. The environmental impact at Khlong Phlu Waterfall was estimated as very low impact.en
dc.format.extent2120991 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1293-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมen
dc.subjectการท่องเที่ยว -- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมen
dc.subjectนักท่องเที่ยวen
dc.subjectเครื่องชี้ภาวะสิ่งแวดล้อมen
dc.subjectน้ำตกคลองพลูen
dc.titleการพัฒนาดัชนีวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวน้ำตกกรณีศึกษา : น้ำตกคลองพลู อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างen
dc.title.alternativeIndex development for environmental impacts from waterfall tourism case study : Khlong Phlu Waterfall Mu Ko Chang National Parken
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSupichai.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisorArt-Ong.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1293-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Buppachat_ma.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.