Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21236
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิรมล กุลศรีสมบัติ | - |
dc.contributor.author | ปาริษา มูสิกะคามะ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพมหานคร | - |
dc.date.accessioned | 2012-07-29T13:59:54Z | - |
dc.date.available | 2012-07-29T13:59:54Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21236 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | แนวคิดสำคัญของการอนุรักษ์ย่านประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต ซึ่งมักถูกละเลยในแผนงานอนุรักษ์ของกรุงเทพฯในอดีตคือการรักษาไว้ซึ่งพลวัตเชิงพื้นที่ ด้วยการรักษาไว้ซึ่งการใช้งานอย่างต่อเนื่องและหลากหลายตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการรักษาองค์ประกอบทางกายภาพที่มีคุณค่า งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวคิดการฟื้นฟูบูรณะย่านประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตผ่านมุมมองการอนุรักษ์ความเป็นสถานที่และพลวัตเชิงพื้นที่ ผ่านกรณีศึกษาย่านปากคลองตลาด ซึ่งเป็นย่านพาณิชยกรรมเก่าริมน้ำค้าส่งผลิตผลทางการเกษตรที่ตั้งอยู่ในเขตอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ และกำลังเผชิญกับภาวะเสี่ยงต่อการสูญเสียความเป็นสถานที่ด้วยการถูกย้ายออกของกิจกรรมทั้งหมด ตามแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2538 โดยมีระเบียบวิธีวิจัยหลักคือการสำรวจภาคสนามแบบสังเกตุการณ์ เพื่อสร้างแผนที่บันทึกรูปแบบการใช้พื้นที่และกิจกรรมภายในย่านปากคลองตลาดอย่างเป็นระบบในวันและช่วงเวลาต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาองค์ประกอบความเป็นสถานที่ ซึ่งประกอบด้วยกายภาพ กิจกรรม และความหมาย และเงื่อนไขความสัมพันธ์ของ 4 ตัวแปรที่ส่งเสริมพลวัตเชิงพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย ความยืดหยุ่น ความหนาแน่น ความเชื่อมต่อ และคุณภาพของพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อสังเคราะห์แนวความคิดการฟื้นฟูบูรณะย่านปากคลองตลาดผ่านการวางผังและออกแบบทางกายภาพต่อไป ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบความเป็นสถานที่ของย่านปากคลองตลาดนั้นมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของระบบคมนาคมทางมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีแม่น้ำ คลอง ท่าเรือ และการวางผังอาคารหันหน้าสู่น้ำเป็นองค์ประกอบเชิงกายภาพที่สำคัญในอดีต และมีถนน สะพาน อาคารตึกแถว และอุปกรณ์หาบเร่แผงลอยเป็นองค์ประกอบเชิงกายภาพที่สำคัญควบคู่ไปกับกิจกรรมการค้าขายผัก ผลไม้ และดอกไม้ที่เกิดขึ้นตลอดทั้ง 24 ชั่วโมงในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม พบว่าความหมายของปากคลองตลาดจากการเป็นย่านการค้าริมน้ำในอดีตได้เปลี่ยนแปลงสู่ย่านการค้าริมถนน ด้วยพื้นที่ริมน้ำหรือท่าเรือซึ่งเคยเป็นองค์ประกอบสำคัญในอดีตนั้นถูกลดทอนความสำคัญ ทิ้งร้างให้เป็นพื้นที่เสื่อมโทรม "หลังบ้าน" และขาดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่พื้นที่ริมถนนนั้นกลับได้รับการใช้งานอย่างคึกคักและหนาแน่นตลอดทั้งวัน เมื่อพิจารณาจากปัจจัยเชิงกายภาพโดยเงื่อนไขของพลวัตเชิงพื้นที่ 4 ตัวแปรข้างต้น พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อระดับการเข้าใช้พื้นที่ที่แตกต่างกันนี้สัมพันธ์กับ 3 ประเด็นปัญหาสำคัญคือ ศักยภาพในการมองเห็นและเข้าถึงพื้นที่ ความสัมพันธ์ของจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรระหว่างน้ำและบก และรูปแบบของกิจกรรมการค้าส่งและปลีกที่ทำให้เกิดความหนาแน่นและต่อเนื่องของกิจกรรม ผู้คน และเวลาที่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะในการวางผังและออกแบบเชิงกายภาพเพื่อการฟื้นฟูบูรณะย่านปากคลองตลาดที่ปัจจุบันกำลังอยู่ในสภาพ "หันหลังให้น้ำ-หันหน้าให้บก" และมีการใช้งานเป็นพื้นที่ "หลังบ้าน" ให้กลับมา "ฟื้นชีวิต" มีบทบาทสำคัญร่วมสมัยและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสังคมเมืองอีกครั้ง จึงถูกนำเสนอผ่าน 3 แผนงานสำคัญคือ การฟื้นฟูบูรณะโครงข่ายการสัญจร การใช้ประโยชน์พื้นที่ และความหนาแน่นของมวลอาคารและที่ว่าง โดยนำรูปแบบของการวางผังอาคารและเส้นทางเดินเท้าที่ให้ความสำคัญกับ "น้ำ" และยังมีร่องรอยปรากฎให้เห็นต่อเนื่องจากอดีตสู่ปัจจุบันมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการวางผังพื้นที่ และเสนอให้มีการปรับลดสัดส่วนของกิจกรรมการค้า การสัญจร และวัฒนธรรม ให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการร่วมสมัย ทั้งนี้ เพื่อให้ย่านปากคลองตลาดยังสามารถคง "พลัง" และ "ชีวิต" ได้อย่างต่อเนื่องทั้งในปัจจุบันและอนาคต | en |
dc.description.abstractalternative | The core idea for conservation of living historical place which always be overlooked by Bangkok conservation plan in the past is to preserve the dynamics of space by maintaining the continuity of uses along with preserving the valued physical elements. Accordingly, the objective of this research is to introduce a project to rehabilitate living historical place in order to conserve the place and urban dynamics. The researcher chooses Bangkok Park Klong Talat whish is an old commercial site on the bank of The Chao Pra Ya River as a case study. As this regional main market of agricultural products such as vegetables, fruits, and flowers is risk of being moved out according to The Rattanokosin Conservation and Development Master Plan in 1995. The methodology for collecting data is mainly observation and mapping activities and space use pattern at each time of day and night with the objective to find out what is "place" of Park Klong Talat and what make it so called "one of the most dynamic utilized area of The Rattanakosin Island and of Bangkok". The research shows that place of Park Klong Talat is related to the change of transportation network from the past to present. River, canal, pier and space planning which face to water was important element as all activities were along the water in the past. For nowadays, it is the road, bridge, shop house and street vendors that play important parts for market and 24 hours commercial activities in site. Still, the research shows that Park Klong Talat is now facing the problem of balancing the use of street side against the use of riverside or we can say that nowadays the areas by the bank are transformed to nonproductive backyard warehouse whereas the front yard street side is over busy moving and too crowded. The researcher found that the potential of access and visibility of the area, the connection transportation net work, and activities or you may say the employment of surrounding space are obviously conditioning with the utilization of each area.Therefore the researcher suggests the consideration of 3 rehabilitation programs consist of resurrection of transportation net work, the space use and the density of building mass and space. In order to make to bring the riverside back to play contemporary vital role and to be a part of social life one more time | en |
dc.format.extent | 29671142 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2101 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ภูมิศาสตร์พาณิชยกรรม -- ไทย -- ปากคลองตลาด (กรุงเทพฯ) | - |
dc.subject | ย่านการค้ากลางใจเมือง -- ไทย -- ปากคลองตลาด (กรุงเทพฯ) | - |
dc.subject | ย่านตลาด -- ไทย -- ปากคลองตลาด (กรุงเทพฯ) | - |
dc.subject | ชุมชนริมน้ำ -- ไทย -- ปากคลองตลาด (กรุงเทพฯ) | - |
dc.subject | Commercial geography -- Thailand -- Pak Khlong Talat (Bangkok) | - |
dc.subject | Central business districts -- Thailand -- Pak Khlong Talat (Bangkok) | - |
dc.subject | Marketplaces -- Thailand -- Pak Khlong Talat (Bangkok) | - |
dc.subject | Waterfronts -- Thailand -- Pak Khlong Talat (Bangkok) | - |
dc.title | พลวัตเชิงพื้นที่และการฟื้นฟูบูรณะย่านพาณิชยกรรมเก่าริมน้ำ กรณีศึกษาย่านปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Dynamics of space and rehabilitation for old commercial districts in waterfront areas : a case study of Pak Khlong Talat District, Bangkok | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การออกแบบชุมชนเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Niramol.K@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.2101 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
parisa_mu.pdf | 28.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.