Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21340
Title: ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย
Other Titles: The effects of health belief program on intention to use condoms among male vocational students
Authors: สุวรรณทิพย์ ชูทัพ
Advisors: รัตน์ศิริ ทาโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Ratsiri.T@chula.ac.th
Subjects: ถุงยางอนามัย
นักเรียนอาชีวศึกษา -- สุขภาพและอนามัย
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนักเรียนอาชีวศึกษาเพศชาย โดยใช้แนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพของ Becker and Maiman (1974) ร่วมกับการนำแนวคิดทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของ Thorndike (1932 cited in Bernard, 1972) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแนวทางการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพของนักเรียนอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษาเพศชาย หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 จาก 2 โรงเรียน ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันโรงเรียนละ 30 คน (1 ห้องเรียน) เลือกห้องเรียนโดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน (1 ห้องเรียน) และกลุ่มควบคุม 30 คน (1 ห้องเรียน) รวมทั้งหมด 60 คน กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ ที่ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ การบรรยาย การอภิปรายกลุ่ม การสาธิตและฝึกทักษะ การเล่นเกม การแสดงบทบาทสมมติ และการสรุปสาระสำคัญ โดยมีแผนการสอน ภาพสไลด์ และคู่มือนักเรียนอาชีวศึกษาร่วมใจก้าวทันโรค ที่ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิเป็นสื่อในการดำเนินกิจกรรม เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบวัดการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ แบบวัดการรับรู้ความรุนแรงของโรคที่เกิดจากการไม่ใช้ถุงยางอนามัย แบบวัดการรับรู้ประโยชน์ของถุงยางอนามัย แบบวัดการรับรู้อุปสรรคในการใช้ถุงยางอนามัย มีค่าความเที่ยง .77, .81, .87 และ .88 ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความตั้งใจในการใช้ ถุงยางอนามัย มีค่าความตรงตามเนื้อหา CVI=1 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนักเรียนอาชีวศึกษาเพศชายหลังได้รับโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนักเรียนอาชีวศึกษาเพศชาย กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับความรู้ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < .01)
Other Abstract: The purpose of this quasi–experimental research was to examine the effect of the health belief program on intention to use condoms among male vocational students. Health Belief Model (Becker and Maiman, 1974) and Connectionism Theory of Thorndike (1932 cited in Bernard, 1972) were used as a conceptual framework to develop the program. A sample of this study was 3rd year-vocational students from 2 comparable schools. Two classrooms (30 students per classroom), one from each, were randomly selected resulting in a total sample of 60 students. One classroom served as an experimental group, the other classroom served as a control group. The control group received usual knowledge while the experimental group received the health belief program. The intervention, developed by a researcher, consisted of 6 steps: 1) lecture, 2) group discussion, 3) demonstration, 4) game, 5) role play, and 6) summary. Lesson plans, slides, and a handbook for a vocational students were used in the program. The intervention was reviewed for content validity by a panel of experts. Perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits and perceived barries to condom use were measured to monitor the intervention effect. These questionnaires demonstrated Cronbach’s alphas at .77, .81, .87 and .88, respectively. The intention to use condoms were assessed using a questionnaire. Its content validity index (CVI) was at 1 and Cronbach’s alpha coefficient was at .81. Data were analyzed using descriptive and t-test statistics. Major findings were as follow: 1. The mean score of intention to use condoms in the experimental group after receiving the health belief program was significantly higher than before receiving the program (p < .01). 2. The mean score of intention to use condoms of the experimental group receiving the health belief program was significantly higher than those of the control group (p < .01).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21340
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1381
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1381
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suwantip_ch.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.