Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21483
Title: การเปรียบเทียบผลของการให้ออกซิเจนด้วยวิธีต่างกันก่อนการดูดเสมหะ ต่อระดับความดันออกซิเจนในเลือดแดงของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
Other Titles: A comparison of effect of oxygenation method administered before suctioning of secretion to oxygen partial pressure level in aterial blood in patients with open heart operation
Authors: เพ็ญจันทร์ แสนประสาน
Advisors: สมคิด รักษาสัตย์
วรรณา สมบูรณ์วิบูลย์
Other author: บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ออกซิเจน
หัวใจ -- ศัลยกรรม
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลของการให้ออกซิเจนด้วยวิธีต่างกัน ก่อนการดูดเสมหะ ต่อระดับความดันออกซิเจนในเลือดแดงก่อนและหลังการดูดเสมหะของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด สุ่มตัวอย่างประชากรโดยวิธีเจาะจง (purposive sampling) ดังนี้ คือเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีอายุระหว่าง 20-50 ปี เป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัดระยะ 1-6 ชั่วโมงแรก กำลังได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจแบบเบนเนท เอมเอวัน ตัวอย่างประชากร 20 คน ตัวอย่างประชากรได้รับการทดลองทั้ง 4 วิธี ก่อนหลังโดยวิธีจับฉลากแบบเลือกออก แต่ละวิธีทำการทดลองห่างกัน 1 ชั่วโมง วิธีทำการทดลองดังนี้คือ ดูดเลือดแดงเพื่อหาความดันออกซิเจนไว้ก่อนที่จะทำการทดลอง แล้วจึงให้ออกซิเจนด้วยวิธีต่างกัน 4 วิธี คือ วิธีที่ 1 ให้ออซิเจนความเข้มข้น 40-60 เปอร์เซ็นต์ วิธีที่ 2 ขยายปอดให้ปริมาตรไทดัล 1 เท่า รวม 3 ครั้ง ในเวลา 1 นาที พร้อมทั้งให้ออกซิเจนมีความเข้มข้น 40-60 เปอร์เซ็นต์ วิธีที่ 3 ให้ออกซิเจนความเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ในเวลา 1 นาที วิธีที่ 4 ให้ออกซิเจน ความเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ พร้อมทั้งขยายปอดด้วยปริมาตรไทดัส เพิ่มขึ้น 1 เท่า 3 ครั้ง ในเวลา 1 นาที แล้วทำการดูดเสมหะ และภายหลัง 30 วินาที ทำการดูดเลือดแดงเพื่อหาความดันออกซิเจนในเลือดแดงอีกครั้งหนึ่ง นำค่าผลต่างของความดันก๊าซออกซิเจนในเลือดแดงระหว่างก่อนและหลังการดูดเสมหะมาเปรียบเทียบกันทั้ง 4 วิธี โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบซ้ำ(Analysis of Variance for the two way classification with a repeated measure) แล้วจึงนำค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบทีละคู่ โดยใช้สูตร นิวแมน คูลส์ ( Newman Keuls) ผลการวิจัยค่าเฉลี่ยของระดับความดันออกซิเจนในเลือดแดงก่อนหลังการดูดเสมหะ พบว่า วิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 แตกต่างกัน แต่วิธีที่ 3 และวิธีที่ 4 แตกต่างกับวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 แต่ไม่แตกต่างกันเอง
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the effect of arterial oxygen tension by different oxygenation method administered before and after suctioning the secretions in patients underwent open heart operation. The purposive sampling was applied according to the following nature : the patients who had open heart operation at Chulalongkorn Hospital, 1-6 hours post operatively, aging between 20-50 years, and were ventilated postoperatively by the respirator Bennett MAI. The research samples were 20, Four individual oxygenation method was administered by one hour apart to each patient before suctioning the secretion. Testing procedure was to collect the arterial sample and determined the arterial oxygen tension then administered oxygen all four methods as follows. Method 1 administered 40-60 percent of oxygen Method 2 administered 40-60 percent of oxygen and hyper inflated lung by 1 time of tidal volume at the rate of 3 times per minute Method 3 administered 100 percent of oxygen for one minute Method 4 administered 100 percent oxygen and hyper inflated lung by 1 times of tidal volume at the rate of 3 times per one minute Then suctioned the secretion, 30 seconds after that drew the arterial sample to determine the arterial oxygen tension one more. The arterial oxygen tension measured before and after suctioning of all four method were compared by using analysis of variance for the two way classification with a repeated measure and then compared the average results of each pair by using Newman Keuls formula. The research finding were as follows: the mean of arterial oxygen tension measure by Method 1 was statistically significant different from method 2 at the .05 level. The mean of arterial oxygen tension measure by method 3 Method were statically significant different from method 1, method 2 but there were not different from each other.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21483
ISBN: 9745635081
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penchun_Sa_front.pdf579.89 kBAdobe PDFView/Open
Penchun_Sa_ch1.pdf694.11 kBAdobe PDFView/Open
Penchun_Sa_ch2.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Penchun_Sa_ch3.pdf716.03 kBAdobe PDFView/Open
Penchun_Sa_ch4.pdf448.42 kBAdobe PDFView/Open
Penchun_Sa_ch5.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Penchun_Sa_back.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.