Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21523
Title: การจัดหาหนังสือของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
Other Titles: Book acquisition of university libraries in Thailand
Authors: พูลสุข ศรีภิรมย์
Other author: ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา -- ไทย
การจัดหาทรัพยากรห้องสมุด -- ไทย
Academic libraries -- Acquisitions -- Thailand
Issue Date: 2516
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการจัดหนังสือของห้องสมุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ความมุ่งหมายก็เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคที่ห้องสมุดต้องประสบ และเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ในการวิจัยได้ใช้วิธีค้นคว้าจากหนังสือ บทความวาสาร และเอกสารอื่น ๆ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดหาและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และทำการสำรวจโดยส่งแบบสอบถามและสัมภาษณ์บรรณารักษ์ห้องสมุดกลางของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยสิบแห่งคือ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้รับแบบสอบถามคืนทั้งสิบแห่ง ทำการสำรวจการผลิตและการจำหน่ายหนังสือโดยส่งแบบสอบถามไปยังสำนักพิมพ์ 18 แห่ง ได้รับคำตอบคืน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 ร้านจำหน่ายหนังสือ 23 แห่ง ได้รับคำตอบคืน 15 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 65.17 จากผลการวิจัยพอจะสรุปได้ว่าห้องสมุดมหาวิทยาลัยของไทยจัดให้งานจัดหาเป็นแผนกงานหนึ่งของห้องสมุด มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำ หน้าที่หลักของแผนกจัดหาคือ การเลือกหนังสือ การสั่งซื้อ การขอหนังสือบริจาค และการแลกเปลี่ยนหนังสือกับสถาบันอื่น การจัดหาหนังสือเข้าห้องสมุดส่วนมากกระทำโดยวิธีซื้อมากกว่าวิธีอื่น ๆ ห้องสมุดส่วนใหญ่ซื้อหนังสือภาษาต่างประเทศจากตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ปัญหาที่สำคัญในการจัดหาคือ การขาดแคลนงบประมาณสำหรับซื้อหนังสือ ไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอในการปฏิบัติงาน หนังสือภาษาไทยยังมีน้อยเกินไป ต้องอาศัยหนังสือภาษาต่างประเทศซึ่มีปัญหามากในการสั่งซื้อ ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความขาดแคลนคู่มือในการเลือกซื้อหนังสือทุกประเภทที่ผลิตในประเทศไทย ระเบียบการใช้จ่ายเงินของทางราชการก็มีส่วนทำให้การจัดหาหนังสือของห้องสมุดกระทำได้ไม่คล่องตัวเท่าที่ควร การที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ห้องสมุดควรจะได้รับงบประมาณอย่างเพียงพอสำหรับจัดหาหนังสือเพื่อสนองความต้องการทางด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัย มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมากขึ้นมีเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดหาที่ทันสมัย ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างห้องสมุดด้วยกันในการจัดหาและการแลกเปลี่ยนเอกสาร ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดกับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายหนังสือในการติดต่อซื้อขายหนังสือ และขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกันส่งเสริมให้มีการผลิตหนังสือดี ๆ [พร้อม] ทั้งคู่มือการเลือกหนังสือที่สมบูรณ์และทันสมัยอยู่เสมอ ทางด้านผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดและร่วมมือทุกวิถีทางที่จะทำให้ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาหาความรู้ของมหาวิทยาลัย
Other Abstract: The purpose of this thesis to study major problems on book acquisition in university libraries in Thailand, and to find suitable to solve those problems. The documentary research were employed through the use of books, articles and other printed material concerning book acquisition and related fields, Questionaires were sent to librarians of ten university libraries namely; Chulalongkorn, Thammasat, Mahidol, Kasetsart, Silpakorn, Cheing Mai, Khon Kaen, National Institute of Development administration, Prince of Songkhla, and Ramkamhaeng, all of them were returned. In addition, other 2 sets of questionaires were sent out, one to 18 publishers and the other 23 bookdealers; 50% and 65.17% were returned respectively. Results of the research reveal that in each library there is an acquisition department doing the acquisition work and having fulltime personnel. Major functions of the acquisition department are selecting and ordering books, handling gifts and exchange activities. Books are acquired mostly by purchasing. Most libraries buy foreign books through domestic agents. Major problems confonting acquisition work are the insufficient budget, the shortage of personnel, the lack of good Thai books and selection tools, the difficulties in acquiring foreign books, and the strictness of official regulation on payment. To solve those problems the libraries should be given sufficient book budget in order to meet the need of the universities, and should have more personnel, more and up – to – date selection tools. Cooperation should be promoted among libraries in the cooperative acquisition and the exchange of publications , between libraries and producers and bookdealers in selling and buying books. Every person or institution concerned should seek for the producing of good books including complete and current selection tools. University administrators should realize the importance of the library and help make it an education center of the university.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21523
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poonsuk_Sr_front.pdf592.78 kBAdobe PDFView/Open
Poonsuk_Sr_ch1.pdf565.97 kBAdobe PDFView/Open
Poonsuk_Sr_ch2.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open
Poonsuk_Sr_ch3.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open
Poonsuk_Sr_ch4.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Poonsuk_Sr_ch5.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open
Poonsuk_Sr_ch6.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Poonsuk_Sr_back.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.