Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21625
Title: ผลของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่มีต่อการยึดตนเป็นศูนย์กลาง ด้านการมองเห็นตำแหน่งของวัตถุของเด็กอนุบาล
Other Titles: Effects of social interaction on visual
Authors: ศรีสุดา พิสิษฐ์ศักดิ์
Advisors: เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: จิตวิทยาเด็ก
การกระทำระหว่างกันทางสังคม
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงผลของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่มีต่อการยึดตนเป็นศูนย์กลางด้านการมองเห็นตำแหน่งของวัตถุของเด็กอนุบาล โดยมีสมมุติฐานว่า การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะมีผลทำให้การยึดตนเป็นศูนย์กลางด้านการมองเห็นตำแหน่งของวัตถุลดน้อยลง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนในระดับอนุบาลและเตรียมประถมปีที่ 1 จำนวน 96 คน จากโรงเรียนเซนต์แอนโทนี อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้วิจัยได้ทำการวัดการยึดตนเป็นศูนย์กลาง จำนวน 62 คน เด็กที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อจำนวน 14 คน และเด็กที่ไม่ยึดตนเป็นศูนย์กลาง จำนวน 20 คน ผู้วิจัยได้สุ่มเด็กที่ยึดตนเป็นศูนย์กลางมา 32 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 16 คน กลุ่มควบคุม 16 คน โดยที่เด็กทั้งสองกลุ่มมีคะแนนจากการทดสอบการยึดตนเป็นศูนย์กลางไม่แตกต่างกัน ให้เด็กในกลุ่มทดลองเลือกจับคู่กับเด็กที่ไม่ยึดคนเป็นศูนย์กลางเป็นคู่ๆ ได้ 16 คู่ และจัดสภาพให้เด็กทั้ง 16 คู่ มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมโดยช่วยกันแก้ปัญหาการมองตำแหน่งของวัตถุ 4 ชุด หนึ่งสัปดาห์ต่อมาผู้วิจัยได้วัดการยึดตนเป็นศูนย์กลางของเด็กในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอีกครั้งหนึ่ง ผลการวิจัยเป็นดังนี้คือ 1. กลุ่มทดลองที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีการยึดตนเป็นศูนย์กลางด้านการมองเห็นตำแหน่งของวัตถุน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 2. ภายหลังการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กลุ่มทดลองมีการยึดตนเป็นศูนย์กลางด้านการมองเห็นตำแหน่งของวัตถุน้อยกว่าก่อนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of social interaction on visual/spatial egocentrism. The hypothesis was that social interaction would reduce visual/spatial egocentrism. Ninety-six kindergarteners and preschool children from Sain Anthony school, Amphur Muaeng, Chachoengsao Province were randomly tested for visual/spatial egocentrism. The instrument used was designed according to Piaget’s theory. Sixty-two children were found to be egocentric, fourteen children were transitional and twenty children were nonegocentric. Thirty-two egocentric children were randomly drawn from the sixty two egocentric children and randomly devided into experimental and controlled groups, sixteen in each. The two groups were not different in their visual/spatial egocentric scores. Each egocentric child in the experimental group was paired with their non-egocentric peers. The sixteen pairs participated in four social interaction situations to solve four visual/spatial problems. The experimental and controlled groups were posttested for visual/spatial egocentrism one week later. The results showed that 1. The experimental group was found to display lesser egocentrism than the controlled group. 2. After the social interaction, the experimental group was found to have lesser visual/spatial egocentrism than before the social interaction.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21625
ISBN: 9745639877
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srisuda_Pi_front.pdf425.86 kBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Pi_ch1.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Pi_ch2.pdf716.29 kBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Pi_ch3.pdf252.5 kBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Pi_ch4.pdf484.95 kBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Pi_ch5.pdf329.96 kBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Pi_back.pdf677.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.