Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21950
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูล-
dc.contributor.authorธณัฐชา รัตนพันธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-08-31T02:25:12Z-
dc.date.available2012-08-31T02:25:12Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21950-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการซึ่งปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 482 คน ตัวแปรแฝงที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น 5 ตัวแปร ได้แก่ ความอยู่รอด ความสัมพันธ์ภายในองค์กร ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันต่อองค์กร โดยมีตัวแปรที่สังเกตได้ 19 ตัวแปร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และ การวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (Linear Structure Relationship model Version 8.72) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน วิชาการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก (chi-square = 21.56, df = 47, p = 0.999, RMSEA = 0.000, RMR = 0.005, GFI = 1.000, AGFI = 0.980) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนวิชาการได้ร้อยละ 87 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการได้ร้อยละ 58 2. ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการได้รับอิทธิพลโดยรวมจากตัวแปรความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมา คือ ความสัมพันธ์ภายในองค์กร ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน และความอยู่รอด ตามลำดับ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการได้รับอิทธิพลโดยรวมจากตัวแปรความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมา คือ ความสัมพันธ์ภายในองค์กร และความอยู่รอด ตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the factors which effect on the organization commitment of university academic support staff in Bangkok and vicinity and 2) to develop and validate the model with organization commitment of university academic support staff in Bangkok and vicinity empirical data. The sample consisted of 482 university academic support staff operated in Bangkok and vicinity. The latent variable consisted of: existence, relation in organization, to progress and growth, job satisfaction and organization commitment used by nineteen observed variables. The data were collected by questionnaires and analyzed by descriptive statistics, correlation and linear equation model. (Linear Structure Relationship model Version 8.72). The major findings were as follows: 1. The model of organization commitment of university academic support staff was fitted to the empirical data (chi-square= 21.56, df = 47, p = 0.999, RMSEA = 0.000, RMR = 0.005, GFI = 1.000, AGFI = 0.980) The model accounted 87% of variance in organization commitment of university academic support staff and accounted 58% of variance in job satisfaction of university academic support staff. 2. The organization commitment of university academic support staff received the highest total effect from job satisfaction, relation in organization, to progress and growth and existence. And job satisfaction of university academic support staff received the highest total effect from to progress and growth, relation in organization and existence.en
dc.format.extent1524381 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1032-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectลิสเรลโมเดลen
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การen
dc.titleการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลen
dc.title.alternativeThe development of a causal model of organization commitment of university academic support staff in Bangkok and vicinityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAuyporn.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1032-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanatcha_ra.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.