Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21962
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจามรี อาระยานิมิตสกุล-
dc.contributor.authorมนัส เผ่าพงษ์ศิลป์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialสุพรรณบุรี-
dc.date.accessioned2012-08-31T15:27:22Z-
dc.date.available2012-08-31T15:27:22Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21962-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ดีเหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานจากชุมชนขนาดเล็กไปสู่ระดับความเป็นเมือง จากการศึกษาประวัติศาสตร์พบว่าเมืองโบราณอู่ทองมีความเป็นชุมชนเมืองที่ซ้อนกันถึง 3 สมัย ได้แก่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยสุวรรณภูมิ และสมัยทวารวดี ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีเมื่อ พ.ศ.2478 ภายหลังจากขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เกิดปัญหาบุกรุกพื้นที่โบราณสถานเพื่อทำการเกษตรและอยู่อาศัย กรมศิลปากรจึงมีนโยบายให้ประชาชนเช่าพื้นที่โดยทำสัญญาปีต่อปีและมีเงื่อนไขเพื่อทำกินและอยู่อาศัยเท่านั้น จึงทำให้ปัจจุบันเมืองโบราณอู่ทองมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พื้นที่บางส่วนได้มีข้อตกลงให้หน่วยงานราชการใช้พื้นที่เป็นศูนย์ราชการและพื้นที่ประชาชนเช่าใช้ประโยชน์ ไม่มีการควบคุมอาคารและสิ่งก่อสร้าง ไม่มีการกำหนดพื้นที่ปกป้องโบราณสถาน รวมทั้งการก่อสร้างถนนขนาด 6 ช่องจราจรผ่านเมืองโบราณ จนไม่สามารถรับรู้ได้ถึงความเป็นเมืองโบราณอู่ทองที่สำคัญในอดีต ดังนั้นการศึกษาโครงการแผนอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์เมืองโบราณอู่ทองให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ จังหวัดสุพรรณบุรี และการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ จึงเป็นการอนุรักษ์เมืองโบราณ ให้สามารถสื่อความหมายและฟื้นฟูบรรยากาศของความเป็นเมืองโบราณอู่ทองได้ชัดเจนมากขึ้นสำหรับผู้มาศึกษาหาความรู้และมาท่องเที่ยว โดยที่แผนอนุรักษ์และพัฒนา รวมทั้งการปรับปรุงภูมิทัศน์นั้นจะเกิดประโยชน์แก่ชุมชนและเป็นการสร้างเมืองน่าอยู่สำหรับประชาชนในเขตเมืองโบราณด้วย จากการศึกษาครั้งนี้คือ 1. แผนอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์เมืองโบราณอู่ทอง ในแบบที่ยังมีชุมชนอาศัยอยู่ (Living Monument) 2. แนวทางการออกแบบ และปรับปรุงภูมิทัศน์เมืองโบราณอู่ทองen
dc.description.abstractalternativeSuphanburi, a province with a long history, is a good geographical location for settlement, whether small communities or larger urban ones. Based on historical studies, U-Thong District, Suphanburi is where the ancient town of U-Thong was situated. The town’s history spans three periods: Pre-Historic, Suvarnabhumi, and Tavaravadee. In 1935, U-Thong was registered as an historic town under the supervision of the Office of Archeology, Fine Arts Department. Not long afterwards, the expansion of the urban community began to encroach on the ancient town area for agricultural and housing purposes. Therefore, the Fine Arts Department established a policy to allow people to rent the land on a yearly contract basis for the two purposes mentioned. As a result, the historic town site of U-Thong has experienced drastic changes. At present, besides being rented by ordinary people, some parts of the ancient town area house government offices. In addition, there are no regulations to limit construction in restricted zones. For example, a six-lane road was constructed in the area of the ancient town. Consequently, the existing architecture has not been preserved to reflect the past importance of the ancient town of U-Thong. Due to these problems, the purpose of this study was to devise a plan forarchitectural conservation and landscape improvement to help preserve the historic town U-Thong and to enable it to become a tourist attraction. This, it is hoped, will lead to a better preservation of the historical meaning and atmosphere of the ancient town for both tourists and other interested parties. This will also promote the community to become a more pleasant place to live.To conclude, the two main findings from the study are: The importance of a conservation and landscape development plan of the ancient town of U-Thong to preserve it as a living monument.Guidelines must be established to design and improve the architectural landscape of the ancient town of U-Thong.en
dc.format.extent23045390 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.524-
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ -- สุพรรณบุรีen
dc.subjectเมืองโบราณ -- สุพรรณบุรีen
dc.subjectการออกแบบภูมิทัศน์en
dc.titleแผนอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์เมืองโบราณอู่ทองให้เป็นแหล่งการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ จังหวัดสุพรรณบุรีen
dc.title.alternativeLandscape planning for conservation and tourism development of U-Thong historic town, Suphanburi provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภูมิสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChamree.A@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.524-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manat_Ph.pdf22.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.