Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22211
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมิตร คุณานุกร-
dc.contributor.authorสงบ มณีแสง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-09-28T08:01:13Z-
dc.date.available2012-09-28T08:01:13Z-
dc.date.issued2517-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22211-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517en
dc.description.abstractเพื่อศึกษาสำรวจการจัดโปรแกรมพลศึกษาระดับปริญญาตรีในภาคกลาง 4 โปรแกรมคือการสอนพลศึกษาในชั้นเรียน การแข่งขันกีฬาภายในและภายนอกการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัย และสันทนาการในมหาวิทยาลัยและเพื่อสำรวจความต้องการ ความสนใจ และความคิดเห็นต่อผลสัมฤทธิ์ในการจัดโปรแกรมพลศึกษาระดับปริญญาตรีจากนิสิต นักศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานแนวทางในการจัดโปรแกรมพลศึกษาให้สอดคล้องสมบูรณ์ดีขึ้นต่อไป วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย หัวหน้าแผนก หรือหัวหน้าภาควิชา และอาจารย์ที่สอนประจำในแผนกวิชา หรือภาควิชาพลศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 12 คน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13 คน มหาวิทยาลัยรามคำแหง 11 คน และจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒบางแสน 9 คน กับกลุ่มตัวอย่างจากนิสิต นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ในคณะศึกษาศาสตร์ และคณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง จำนวน 381 คน เป็นชาย 193 คน หญิง 188 คน การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์กับหัวหน้าแผนกวิชา และอาจารย์ ส่วนแบบสอบถามใช้กับนิสิต นักศึกษา ข้อมูลที่ได้จากแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลแบบเนื้อหา (Content Analysis) โดยหาค่าร้อยละของคำตอบ ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (X̅) สรุปผลการวิจัย ผลสำคัญของการวิจัยพบว่า การจัดโปรแกรมพลศึกษาระดับปริญญาตรีในภาคกลางมหาวิทยาลัยทุกแห่งจัดครบทั้ง 4 โปรแกรม คือ การจัดโปรแกรมการสอนพลศึกษาในชั้นเรียน มีความมุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะและเจตคติในวิชาการพลศึกษาทั้งการภาคทฤษฏีและปฏิบัติ โดยจัดเป็นวิชาพื้นฐานทั่วไปให้นิสิตทุกคณะเลือกเรียนตามความถนัดและสนใจเท่ากับจำนวนหน่วยกิตที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในหลักสูตรจัดให้นิสิตในระดับปีที่ 1 และปีที่ 2 ส่วนนิสิตปีที่ 3 และปีที่ 4 จัดเป็นวิชาโทและวิชาเอกพลศึกษาให้นิสิตที่เรียนวิชาการศึกษาได้เลือกเรียนตามความต้องการและสนใจ การจัดโปรแกรมการแข่งขันกีฬาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย มีความมุ่งหมายเพื่อให้นิสิต นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าร่วมในกิจกรรมกีฬาอย่างสม่ำเสมอทั่วทุกคน วิธีดำเนินการจัดโดยมี ชมรม ชุมนุม แผนก หรือสโมสรกีฬาต่างๆ ภายในองค์การนิสิต นักศึกษาเป็นผู้จัด โดยได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในด้านเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ เงินงบประมาณและบุคคลากรกิจกรรมกีฬาที่จัดแข่งขันเป็นกีฬาที่สนใจอยู่ในสังคม การจัดโปรแกรมการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัยมีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพลานามัยและสมรรถภาพทางกายควบคู่กับการส่งเสริมมาตรฐานการกีฬาของมหาวิทยาลัยตามระเบียบแบบแผนของกีฬาสมัครเล่น การดำเนินการจัดมีคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการจัดการแข่งขัน มหาวิทยาลัยต่างๆ หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพทุกๆ ปี งบประมาณในการจัดการแข่งขันได้มาจากงบประมาณแผ่นดิน และเงินค่าบำรุงประจำปีจากมหาวิทยาลัยสมาชิก การจัดโปรแกรมสันทนาการมีความมุ่งหมายเพื่อให้นิสิต นักศึกษา ได้เข้าร่วมกิจกรรมโดยความสมัครใจในยามว่าง ให้โอกาสปลูกฝังคุณธรรม พัฒนาบุคลิกภาพอันพึงประสงค์และมีความคิดสร้างสรรค์ วิธีดำเนินการจัดคือจัดเป็นชมรม ชุมนุม สโมสร แผนก หรือกลุ่มกิจกรรมนิสิตมีองค์การนิสิตควบคุมดูแล และอาจารย์เป็นที่ปรึกษาอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลจากรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต นักศึกษา มหาวิทยาลัยสนับสนุนในด้านการเงินและเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ความสนใจและความต้องการของนิสิต นักศึกษา โดยส่วนรวมทั้งชายและหญิง มีความสนใจโปรแกรมการสอนพลศึกษาในชั้นเรียนมากที่สุด โดยต้องการให้มหาวิทยาลัยจัดเป็นวิชาพื้นฐานทั่วไปให้เลือกเรียน ต้องการให้จัดการแข่งขันกีฬาในระหว่างคณะ การแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัยต้องการให้จัดในประเภทอุดมศึกษา และการจัดสันทนาการต้องการให้มีสถานที่ เครื่องอำนวยความสะดวก วัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอกับจำนวนนิสิตที่สนใจโดยทั่วกันนิสิต นักศึกษาชายสนใจและต้องการกิจกรรมพลศึกษาประเภทต่างๆ ที่จัดในอันดับที่ 1 คือ ฟุตบอล วิ่งเร็ว มวยไทย ว่ายน้ำ ราวเดี่ยว ดนตรี และร้องเพลง ส่วนนิสิตหญิงสนใจและต้องการกิจกรรมพลศึกษาในอันดับที่ 1 คือ บาสเกตบอล วิ่งเร็ว ยูโด ว่ายน้ำ ยืดหยุ่น ดนตรี และร้องเพลง นิสิตมีความคิดเห็นว่า การจัดโปรแกรมพลศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในภาคกลาง มีผลสัมฤทธิ์ในด้านการจัดต่างๆ และสอดคล้องกับความต้องการของนิสิตอยู่ในระดับปานกลางพอๆกัน ทั้งหัวหน้าแผนกวิชา อาจารย์ผู้สอนประจำในแผนกวิชาพลศึกษา และนิสิต นักศึกษาผู้เข้าร่วมในโปรแกรมพลศึกษาต่างๆ มีความคิดเห็นว่าในด้านบุคลากร เงินงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังมีจำนวนไม่เพียงพอในการจัดโปรแกรมพลศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
dc.description.abstractalternativeThe Purposes of the Study The purpose of this research was first to study the management of physical education programs at the undergraduate level in the central region of Thailand. These programs were : the required physical education class program, the intramural athletics program, the intercollegiate athletics program, and the management of the recreation program. The second purpose was to determine the needs and interest of the students toward the organization of physical education programs in the undergraduate level in the central region. Method and Procedures The data was gathered from the physical education department heads and instructors in four universities : 12 from Kasetssart University ; 13 from Chulalongkorn University ; 11 from Ramkamhaeng University ; and 9 from Sri Naharinwirot University Bangsaen. Data was also gathered from 381 students in the faculty of education of the four universities. Among them 193 were males and 188 females. In gathering the data, the physical education department heads and instructors were interviewed, and the student were given questionnaire forms. The results of the interview were analyzed by Content Analysis Method and the questionnaire forms by arithmetic mean (X̅) The research results The significant findings show that the physical education programs organized in four universities apparently cover the four categories. In management the class instructional programs which are regarded as required general education subjects, are offered to the first and second year students in all departments ; while elective subjects are offered to those students who take up physical education as a major or minor field in the third and fourth year of their education. The intramural program is aimed at allowing the students to have an opportunity to regularly engage in physical activities. This program is managed by sports clubs of the student unions with support from the university administration including club advisors, material supplies, equipment and facilities. Almost all the games and sports contests organized for this program are of public interest. The intercollegiate grogram is aimed simultaneously at promoting physical fitness as well as raising the collegiate athletic standard of the students up to that of the amateur athletic requirements. This program is organized and managed by the Intercollegiate Athletic Committee of Thailand. The recreational program is aimed at allowing the students to participate on a voluntary basic in recreational activities in their leisure time so that they can develop the sense of morality and desirable characteristics and initiatives. The program is organizes by student clubs, societies, faculties or groups under the control of the student unions or organizations and under the supervision of university advisors and the university’s deputy rector for student affairs. In general, the students in the central region, both males and females, pay most of their attention to the instructional program, and want the university administrators to organize prerequisite subjects in general physical education for them. They also want the universities to organize intramural activities among various departments in each university as intercollegiate activities among higher educational institutions, and to organize recreational programs with adequate facilities in an appropriate ratio with the number of interested students. The male students want to participate in the following physical education active activities : soccer, sprinting, Thai boxing, swimming, horizontal bar, music and singing ; while female students want to participate in basketball games, sprinting, judo contests, swimming, stunts and tumbling, music and singing. The students consider that the physical education programs for the undergraduate level in the central region have achieved a moderate success in all aspects, and have met the needs of the students in general. However, both instructors and students view that the universities still lack of personnel, money, materials and facilities for the management of physical education programs with efficiency.
dc.format.extent879542 bytes-
dc.format.extent685363 bytes-
dc.format.extent1178957 bytes-
dc.format.extent482391 bytes-
dc.format.extent6155549 bytes-
dc.format.extent913060 bytes-
dc.format.extent755367 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการศึกษาขั้นอุดมศึกษา
dc.subjectพลศึกษา -- การศึกษาและการสอน
dc.titleการจัดโปรแกรมพลศึกษาระดับปริญญาตรีในภาคกลางen
dc.title.alternativeManagement of physical education programs at the undergraduate level in central regionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sa-ngob_Ma_front.pdf858.93 kBAdobe PDFView/Open
Sa-ngob_Ma_ch1.pdf669.3 kBAdobe PDFView/Open
Sa-ngob_Ma_ch2.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Sa-ngob_Ma_ch3.pdf471.08 kBAdobe PDFView/Open
Sa-ngob_Ma_ch4.pdf6.01 MBAdobe PDFView/Open
Sa-ngob_Ma_ch5.pdf891.66 kBAdobe PDFView/Open
Sa-ngob_Ma_back.pdf737.66 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.