Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22387
Title: | การพิสูจน์เจตนาในทางอาญา |
Other Titles: | lProof of criminal intention |
Authors: | สุเมธ กำพลรัตน์ |
Advisors: | อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เจตนาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบกฎหมายอาญาปัจจุบัน ซึ่งจะต้องพิสูจน์ให้ได้อย่างปราศจากความสงสัยว่าจำเลยมีเจตนาในการกระทำผิดจริง จึงจะลงโทษจำเลยได้ แต่โดยที่เจตนาเป็นสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจจำเลย ซึ่งผู้อื่นไม่สามารถหยั่งรู้ได้แน่ชัด การพิสูจน์เจตนาจึงทำได้เพียงเสนอพยายหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำและข้อเท็จจริงแวดล้อม แล้วให้ศาลอนุมานคาดเดาเอาจากพยายหลักฐานเหล่านั้นตามที่กล่าวกันว่า กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา ดังนั้นเจตนาตามที่ศาลกล่าวอ้างในการพิพากษาลงโทษทุกวันนี้ แท้จริงแล้วก็คือ สิ่งที่ได้จากการใช้ดุลพินิจคาดคะเนเอาจากพยานหลักฐานชนิดดังกล่าว สิ่งนั้น จึงอาจเป็นเจตนาที่แท้จริงของจำเลยหรือไม่ก็ได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเป็นการค้นคว้าเพื่อหาหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของศาลในเรื่องดังกล่าว ซึ่งหมายถึงหลักเกณฑ์และวิธีการพิสูจน์เจตนาทั้งในศาลต่างประเทศและศาลไทย พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพิสูจน์เจตนาในศาลไทย แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ตลอดจนนำเสนอวิธีการสมัยใหม่ที่นำมาใช้ในกระบวนการพิสูจน์เจตนา ทั้งนี้ โดยทำการวิจัยจากหลักฐานตำราภาษาต่างประเทศและภาษาไทย จากการวิจัยพบว่าวิธีการพิสูจน์เจตนาในปัจจุบันนั้นยังไม่มีวิธีใดที่ดีไปกว่าการพิสูจน์จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้างต้น แม้จะปรากฏว่ามีการคิดค้นวิธีการสมัยใหม่ต่างๆ เพื่อค้นหาสภาพจิตใจภายในที่แท้จริง เช่น การใช้เครื่องจับเท็จ การใช้ยาฉีดบางชนิดเพื่อให้พูดความจริง หรือการสะกดจิต แต่วิธีการดังกล่าวก็ยังไม่แน่นอนว่าจะใช้ได้ผลจริง และยังถือว่าขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ดังนั้น โดยทั่วไปจึงไม่มีการยอมรับวิธีการดังกล่าว อย่างไรก็ดี วิธีการพิสูจน์เจตนาจากพยานหลักฐานในศาลไทยก็มีปัญหาเกิดขึ้นหลายประการ ปัญหาประการแรกคือ การอนุมานเจตนาของศาลในบางคดียังไม่เป็นบรรทัดฐานแน่นอนซึ่งส่งผลกระทบให้การลงโทษทางอาญาเป็นไปอย่างไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจตามอำเภอใจของศาล เช่นนี้ทำให้ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ของการลงโทษทางอาญาได้ ปัญหาประการที่สองคือหลักกฎหมายที่ศาลนำมาใช้เป็นดุลพินิจอนุมานเจตนานั้นเป็นกฎหมายของระบบกฎหมายที่แตกต่างไปจากระบบกฎหมายไทย ทำให้การอนุมานเจตนาผิดพลาด หรือให้เหตุผลในคำพิพากษาผิดพลาดไปจากหลักเจตนาตามกฎหมายไทย ปัญหาประการที่สามคือพยานหลักฐานที่ใช้ในการอนุมานเจตนาอาจผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงด้วยเหตุต่างๆ เช่น การให้การเท็จ ความบกพร่องของประสาทรับความรู้สึกหรือความลืมเลือน เป็นต้น ทำให้การพิสูจน์เจตนาเกิดความผิดพลาดไปด้วย และปัญหาประการสุดท้ายคือ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์เจตนาได้ด้วยตนเอง ทั้งๆ ที่เป็นผู้มีหน้าที่โดยตรงในการเสนอพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์เจตนา ทำให้พยานหลักฐานในบางคดีไม่เพียงพอแก่การพิสูจน์เจตนา สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาประการแรกนั้น ผู้เขียนเห็นว่า ศาลควรยึดถือแนวการอนุมานเจตนาในคดีก่อนเป็นหลักให้แน่นอนลงไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการลงโทษทางอาญา ส่วนปัญหาประการที่สองนั้นเห็นว่า ศาลควรละทิ้งแนวการอนุมานเจตนาที่ใช้หลักกฎหมายตามทฤษฎีคอมมอนลอว์ โดยใช้ทฤษฎีซิวิลลอว์อันเป็นทฤษฎีที่สอดคล้องกับระบบกฎหมายอาญาของไทยเป็นหลักในการอนุมานเจตนา ในปัญหาประกอรที่สามควรแก้ไขโดยจัดให้มีการอบรมวิชาจิตวิทยา พยานหลักฐานและการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานแก่ผู้พิพากษาทั่วไป และปัญหาประการที่สี่สมควรแก้ไขโดยใหพนักงานอัยการมีอำนาจสอบสวนหาพยานหลักฐานด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องอาศัยพนักงานสอบสวนเฉพาะในกรณีที่ได้พิจารณาสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนแล้ว เห็นว่าพยานหลักฐานไม่เพียงพอแก่การพิสูจน์เจตนา |
Other Abstract: | In criminal law today, intention is still accepted as an essential element of a crime. Accordingly, intention to commit crime shall be proved beyond reasonable doubt before criminal conviction. However, being in a defendant’s mind, intention can not be precisely revealed by any other means except by the defendant’s voluntary confession. Therefore, general practice to ascertain intention other than confession is to infer from the indirect evidence generated by the defendant’s overt acts and relating circumstances presented in the court. In effect, such inference is in fact the exercise of the judge’s discretion in evaluating and surmising those kinds of evidence. The outcome of such process—whether it may be the actual intention of the defendant or not is quite arbitrary. This thesis, therefore, researches and analyses the rules of how judges exercise their discretion : the rules and the methods of proving criminal intention in Thailand and in foreign court, the modern scientific methods of proof in Thai court. Documentary research of Thai and foreign sources is conducted. It is found from the research that, in present, there is still no other method of proof of criminal intention better than proof from these kinds of evidence afore mentioned. Though there are some modern methods invented to look into the state of mind, such as lie-detector, truth serum or hypnosis, they are not generally approved because their results are still in doubt and ti is often held that the use of them violates human rights principles. In Thai court, there are several problem concerning the method of ascertaining criminal intention from evidence. The first problem is that the inference of intention in some cases is oscillatory depending on the deliberate discretion of each judge. The second problem is, in the inference of intention, the court applies the legal theory different from the criminal law theory accepted in Thailand. This causes the wrong inference of intention or else the wrong reason in judgment. The third problem concerning the validity of fact- finding process. The process cleary subjects to bias, faulty memory, perjury, etc., thereby it affects the accuracy of such inference. And the last problem is that the public prosecutor does not has the power to collect evidence other than what has presented by the inquiry official; this causes insufficient evidence, in some cases, to substantiate proof of intention. From the writer’s point of view, the solution of the first problem is that the court should hold the inference of intention of the preceding cases as precedent in order to reach the purpose of criminal punishment. To solve the second problem, the court have to abandon the concept of common law theory in some cases and be generous to accept the civil law theory as a rule of inference. The third problem can be solved by traing judged in the use of psychological evidence and the systematic evaluation of evidence. Together the Criminal Procedure Code should be amended to give the public prosecutor the power to make an inquiry and search for any evidence to prove the intention, provided it is clear that the evidence of the inquiry official is insufficient. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22387 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sumate_Ka_front.pdf | 608.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumate_Ka_ch1.pdf | 799.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumate_Ka_ch2.pdf | 2.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumate_Ka_ch3.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumate_Ka_ch4.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumate_Ka_ch5.pdf | 553.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumate_Ka_back.pdf | 402.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.