Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22477
Title: การสืบทอดการพากย์-เจรจาหนังใหญ่และโขนเรื่องรามเกียรติ์ของครูวีระ มีเหมือน
Other Titles: Transmission of recitation in Ramakien Nang Yai and Khon of Master Vira Mimuean
Authors: รัตนพล ชื่นค้า
Advisors: สุกัญญา สุจฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วีระ มีเหมือน
หนังใหญ่
โขน
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการสืบทอดการพากย์-เจรจาหนังใหญ่และโขนเรื่องรามเกียรติ์ของครูวีระ มีเหมือน โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูวีระ มีเหมือน และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการพากย์-เจรจาหนังใหญ่กับโขน โดยเลือกตอนศึกทศกัณฐ์ครั้งที่ ๕ (ศึกใหญ่) ของครูวีระ มีเหมือน เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ครูวีระ มีเหมือนเป็นครูผู้สืบทอดการพากย์-เจรจาหนังใหญ่และโขนตามแบบแผนโบราณ โดยสืบทอดการพากย์-เจรจาหนังใหญ่จากหม่อมราชวงศ์จรูญสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ ในสายของพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) และสืบทอดการพากย์-เจรจาโขนจากครูสง่า ศะศิวณิช ในสายของพระยาสุนทรเทพระบำ (เปลี่ยน สุนทรนัฏ) การสืบทอดองค์ความรู้ดังกล่าวเป็นการสืบทอดตามประเพณีมุขปาฐะ ด้วยวิธีการฝากตัวเป็นศิษย์กับครูและวิธีครูพักลักจำ องค์ความรู้ในการพากย์-เจรจาหนังใหญ่และโขนตามแบบแผนโบราณ ประกอบด้วย ประเภทของการพากย์-เจรจาหนังใหญ่และโขน ขั้นตอนการฝึกพากย์-เจรจาหนังใหญ่และโขน หลักการฝึกพากย์-เจรจาหนังใหญ่และโขน ภูมิปัญญาด้านการพากย์-เจรจาหนังใหญ่และโขนของครูวีระ มีเหมือน นอกจากสืบทอดองค์ความรู้ตามแบบแผนโบราณแล้ว ครูวีระ มีเหมือนยังได้สร้างสรรค์คำเจรจาลอยดอกในการแสดงหนังใหญ่และโขน ผู้วิจัยพบว่าทำนองพากย์-เจรจา หนังใหญ่และโขนมี ๕ ทำนอง คือ ทำนองพากย์ฉบัง ทำนองพากย์ยานี ทำนองพากย์ชมดง ทำนองพากย์โอ้ และทำนองเจรจาเท้าความ โดยทำนองพากย์-เจรจาหนังใหญ่และโขนที่มีความแตกต่างกัน คือ ทำนองพากย์ฉบังและทำนองเจรจาเท้าความ ปัจจัยที่ทำให้ไม่มีการสืบทอดองค์ความรู้ดังกล่าวในปัจจุบันมี ๓ ประการ คือ ปัจจัยเรื่อง ผู้ถ่ายทอด ปัจจัยเรื่องผู้สืบทอด และปัจจัยเรื่องสภาพการแสดง ผลการศึกษาเปรียบเทียบการพากย์-เจรจาหนังใหญ่กับโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกทศกัณฐ์ ครั้งที่ ๕ (ศึกใหญ่) ของครูวีระ มีเหมือน พบว่า มีความแตกต่างอยู่ ๕ องค์ประกอบ คือ คำพากย์ คำเจรจา ทำนองพากย์-เจรจา สำเนียงพากย์-เจรจา และการเรียนรู้ประเภทและอายุของตัวละคร ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือ ทำนองพากย์-เจรจาหนังใหญ่เร็วกว่าทำนองพากย์-เจรจาโขน การพากย์-เจรจาหนังใหญ่ใช้สำเนียงอ่อนหวาน ขณะที่การพากย์-เจรจาโขนใช้สำเนียงดุดัน ขึงขัง
Other Abstract: This thesis aims at studying the maintainance of the recitation and intoned conversation of Nang Yai and Khon, which the Ramakien Tale is played, by interviewing Master Vira Mimuean and comparing the difference between the recitation-intoned conversation of the two performance, using “The Fifth Battle of Thotsakan” scene as a case study. The Study reveals that Master Vira Mimuean is an expert who conserves the recitation-intoned conversation style of Nang Yai from Master M.R.Charoonsawat Suksawat of Phraya Natthakanurak’s school and the Khon style from Master Sanga Sasiwanit of Phraya Soonthorntheprabam’s school. This knowledge has been transmitted in oral tradition by putting himself in the care of the teacher and memorizing. The knowledge of traditional Nang Yai and Khon is composed of types, processes, principles, quality of speechmen and speechmen’s roles. Despite of keeping traditional knowledge, Master Vira Mimuean create humourful conversation of the two performances. This research also discovers the five intonative styles of Nang Yai and Khon: the Chabang, the Yani, the Chomdong the Oh and the Cheracha Thao Khwam. Caused by the lacking of teacher, keeper and performance condition, it is hard to maintain the recitation-intoned conversation knowledge. The comparison of the recitation-intoned conversation of the selected scene performed by Master Vira Mimuean indicates the five dictinctive features: recitation wordings, conversation wordings, melodies, intonations and characters’s details. The most distinction are that the recitation-intoned conversation of Nang Yai are faster and sweeter, whereas the Khon style seems stronger.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22477
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.877
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.877
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattanaphon_Cu.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.