Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22493
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสงัด อุทรานันท์-
dc.contributor.authorเสาวภา เชาวน์ชลากร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-10-09T08:23:56Z-
dc.date.available2012-10-09T08:23:56Z-
dc.date.issued2525-
dc.identifier.isbn9745610895-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22493-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับแนวการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง เกี่ยวกับแนวการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา 3. เพื่อเสนอแนวปฏิบัติในการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง สังกัดกองการมัธยมศึกษา จำนวน 53 โรงเรียนจากจำนวน 104 โรงเรียน โดยแบ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ 39 โรงเรียน และโรงเรียนขนาดกลาง 14 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งหมด 689 คน แยกเป็นผู้บริหาร 318 คน และครู 371 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย แบบตรวจสอบ แบบเกณฑ์ประมาณค่า แบบจัดอันดับ และแบบปลายเปิด โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 งานนิเทศการศึกษาที่ควรจัดขึ้นภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้ปฏิบัติ และกิจกรรมการนิเทศการศึกษา ตอนที่ 3 ปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นในการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ค่าที (t-test) และค่าไค-สแควร์ (Chi-square) สรุปผลการวิจัย 1. จากาการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา เกี่ยวกับงานนิเทศการศึกษานั้นส่วนใหญ่สอดคล้องกันและอยู่ในระดับเห็นด้วย สำหรับผู้ปฏิบัติ กิจกรรมหลัก และกิจกรรมประกอบ ปรากฏว่าความคิดเห็นส่วนใหญ่สอดคล้องกัน 2. จากการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา ปรากฏว่า 2.1 ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชากรในโรงเรียนขนาดใหญ่กับขนาดกลาง เกี่ยวกับงานนิเทศการศึกษา 8 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงด้านเดียวคือ ด้านการวางแผน การจัดการนิเทศการศึกษา จากงานทั้ง 8 ด้าน จำนวน 60 งาน ปรากฏว่าความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในโรงเรียนขนาดใหญ่กับขนาดกลางเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงานนิเทศภายในโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 12 งาน เกี่ยวกับกิจกรรมหลัก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 19 งานและเกี่ยวกับกิจกรรมประกอบแตกต่างกนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 11 งาน 2.2 ความคิดเห็นของผู้บริหารกับครูในโรงเรียนขนาดใหญ่เกี่ยวกับงานนิเทศการศึกษา 8 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3 ด้านคือ ด้านการวางแผนการจัดการนิเทศการศึกษา ด้านการจัดระบบการสอน และด้านการจัดระบบการสอน และด้านการประเมินผล จากงานทั้ง 8 ด้าน จำนวน 60 งาน ปรากฏว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารกับครูเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงานนิเทศภายในโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 12 งาน เกี่ยวกับกิจกรรมหลัก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 12 งานและเกี่ยวกับกิจกรรมประกอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 8 งาน 2.3 ความคิดเห็นของผู้บริหารกับครูในโรงเรียนขนาดกลาง เกี่ยวกับงานนิเทศการศึกษา 8 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดระบบการสอน และด้านการจัดบริการพิเศษอื่น ๆ จากงานทั้ง 8 ด้าน จำนวน 60 งาน ปรากฏว่าความคิดเห็นของผู้บริหารกับครูเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 7 งาน เกี่ยวกับกิจกรรมหลัก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4 งาน เกี่ยวกับกิจกรรมประกอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1 งาน 3. แนวปฏิบัติในการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง สังกัดกองการมัธยมศึกษาทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยส่วนรวมไม่แตกต่างกันสามารถจะใช้ร่วมกันได้ แต่การนำบางเรื่องไปปฏิบัติในโรงเรียนควรจะพิจารณาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในโรงเรียนเสียก่อน-
dc.description.abstractalternativeProposes of the Study 1. To study the opinions of administrators and teachers in Bangkok Secondary Schools under the Jurisdiction of the Secondary School Division, the Ministry of Education concerning supervisory management in secondary schools. 2. To compare the opinions of administrators and teachers in large schools and medium schools concerning supervisory management in secondary schools. 3. To propose the guide line of supervisory management in secondary schools. Methodology The sample of this study consisted of administrators and teachers in 53 Bangkok Secondary Schools under the Jurisdiction of the Secondary School Division from 104 schools, divided into 39 large schools and 14 medium schools. The total sample was 689 in number; of these, there were 318 administrators and 371 teachers. The instrument used in this research was a questionnaire which was constructed in forms of check-list, rating-scale, rank order and open-ended. The questionnaire, divided in to 3 parts: Part I : Status of the sample in this research. Part II : Supervisory tasks which should be done in secondary schools, performers and supervisory activities. Part III : Problems and obstacles which might be occurred in supervisory management in secondary schools. Data were analyzed by using percentage, Mean, standard deviation, frequency, t-test and chi-square. Findings 1. Administrators and teachers in Bangkok Secondary Schools under the Jurisdiction of the Secondary Schools Division agreed with each other in majority concerning supervisory tasks an also performers, main activities and subordinate activities. 2. To compare the opinions of administrators and teachers in Bangkok Secondary Schools under the Jurisdiction of the Secondary School Division was found that: 2.1 Opinions of the sample in large schools and medium schools concerning 8 functions of supervisory tasks were different significantly only 1 function. It was supervisory planning. From 60 items in 8 functions, it was found that the opinions of the sample in large schools and medium schools were different significantly 12 items in supervisory performers in schools, 19 items in main activities and 11 items in subordinate activities. 2.2 Opinions of the administrators and the teachers in large schools concerning 8 functions of supervisory tasks were different significantly 3 functions. They were supervisory planning, systematic instructional management and evaluation. From 60 items in 8 functions, it was found that the opinions of the administrators and the teachers were different significantly 12 items in supervisory performers in schools, 12 items in main activities and 8 items in subordinate activities. 2.3 Opinions of the administrators and the teachers in medium schools concerning 8 functions of supervisory tasks were different significantly 3 functions. They were curriculum, systematic instructional management and extra-service management. From 60 items in 8 functions, it was found that the opinions of the administrators and the teachers were different significantly 7 items in supervisory performers in schools. 4 items in main activities and 1 item in subordinate activities. 3. The guide line in supervisory management of large and medium Bangkok Secondary Schools under the Jurisdiction of the Secondary School Division was not different in majority but it should be studied the opinions of the administrators and the teachers in each school before some items would be implemented.-
dc.format.extent561953 bytes-
dc.format.extent504923 bytes-
dc.format.extent1432382 bytes-
dc.format.extent424145 bytes-
dc.format.extent3749447 bytes-
dc.format.extent1791972 bytes-
dc.format.extent3341222 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง สังกัดกองการมัธยมศึกษาen
dc.title.alternativeSupervisory management in Bangkok secondary schools under the jurisdiction of the secondary schools divisionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sauwapha_Ch_front.pdf548.78 kBAdobe PDFView/Open
Sauwapha_Ch_ch1.pdf493.09 kBAdobe PDFView/Open
Sauwapha_Ch_ch2.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Sauwapha_Ch_ch3.pdf414.2 kBAdobe PDFView/Open
Sauwapha_Ch_ch4.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
Sauwapha_Ch_ch5.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Sauwapha_Ch_back.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.