Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22633
Title: ความสสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม สติปัญญา และความสนใจในอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Relationships between personality, socio-economic status, intelligence and vocatio8nal interest of mathayom suksa three students
Authors: อัญชลี บุปผาพิบูลย์
Advisors: พรรณราย ทรัพยะประภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหวางบุคลิกภาพ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม สติปัญญาและความสนใจในอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 จากโรงเรียนชายและหญิงอายุระหว่าง 14-18 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนรัฐบาลในกรุงเทพมหานคร 5 โรงเรียน จำนวน 266 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสำรวจความสนใจในอาชีพของคุเตอร์ (Kuder General Interest Survey) แบบสำรวจบุคลิกภาพแสดงตัวและเก็บตัว แบบทดสอบสติปัญญาชุดสแตนดาร์ดโปรเกสสิฟ เมริซิส (Standard Progressive Matrices) และแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การคำนวณค่าร้อยละ และวิธีทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาปรากฏว่า 1. บุคลิกภาพที่มีความสัมพันธ์กับความสนใจในอาชีพของนักเรียนที่ระดับความสัมพันธ์ .73 2. สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับความสนใจในอาชีพของนักเรียน 3. สติปัญญาไม่มีความสัมพันธ์กับความสนใจในอาชีพอันดับแรกของนักเรียน แต่สติปัญญามีความสัมพันธ์กับความสนใจในอาชีพอันดับสองของนักเรียนที่ระดับความสัมพันธ์ .77
Other Abstract: The purposes of this study was to investigate the relationship between personality, socio-economic status, intelligence and vocational interest of the students. The subjects were 266 male and female students between the age of 14 and 18 years who were studying at mathayomsuksa three level selected from the five government schools in Bangkok. Kuder General Interest Survey, Introvert and Extrovert Personality Inventory, standard Progressive Matrices and the questionnaire were used for the data collection. Percentage and Chi-Square were utilized as the data analysis. The results revealed that: 1. There was the relationship between the personality and the vocational interest of the students. The Contingency coefficience is .73. 2. The socioeconomic status has no relationship with the vocational interest of the students. 3. The intelligence has no relationship with the first vocational interest of the students but there was the relationship between the intelligence and the second vocational interest of the students. The Contingency coefficience is .77.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22633
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
anchalee_bu_front.pdf347.58 kBAdobe PDFView/Open
anchalee_bu_ch1.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
anchalee_bu_ch2.pdf466.57 kBAdobe PDFView/Open
anchalee_bu_ch3.pdf349.3 kBAdobe PDFView/Open
anchalee_bu_ch4.pdf477.38 kBAdobe PDFView/Open
anchalee_bu_ch5.pdf337.52 kBAdobe PDFView/Open
anchalee_bu_back.pdf999.47 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.