Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22865
Title: การวิเคราะห์การอ้างถึงของวิทยานิพนธ์สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ที่มีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวกับห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
Other Titles: Citation analysis of master's theses on library science related to college and university libraries
Authors: อารีย์ ชื่นวัฒนา
Advisors: ประภาวดี สืบสนธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักที่จะศึกษาประเภท ขอบเขตเนื้อหาวิชา อายุ ภาษา ประเทศผู้ผลิต และลักษณะของเอกสารที่ได้รับการอ้างอิง ตลอดจนศึกษารายชื่อวารสารที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดในวิทยานิพนธ์สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ที่มีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวกับห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ทั้งนี้โดยทำการวิเคราะห์การอ้างถึงที่ปรากฏในเชิงอรรถ 1,765 รายการ ของวิทยานิพนธ์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2518 ถึง 2522 จำนวน 31 เล่ม ผลการวิจัยที่นำเสนอเป็นค่าร้อยละ สามารถสรุปได้ดังนี้ คือ หนังสือและวารสารเป็นเอกสารที่ผู้เรียบเรียงวิทยานิพนธ์อ้างถึงมากที่สุด เอกสารที่ได้รับการอ้างถึงประมาณร้อยละ 67 เป็นเอกสารในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ที่เหลือเป็นเอกสารในสาขาวิชาอื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนการอ้างถึงเอกสารในสาขาวิชาสังคมศาสตร์มากที่สุด ในการวิเคราะห์อายุของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึง สรุปได้ว่า ผู้เรียบเรียงวิทยานิพนธ์มักจะอ้างถึงเอกสารใหม่ ๆ ที่มีอายุไม่เกิด 5 ปี และ 10 ปี สำหรับการศึกษาภาษาของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึง ปรากฏว่า เป็นการอ้างถึงเอกสารภาษาอังกฤษ ประมาณร้อยละ 61 และที่เหลือร้อยละ 39 เป็นการอ้างถึงเอกสารภาษาไทย เอกสารที่ได้รับการอ้างถึง ประมาณร้อยละ 50 เป็นเอกสารที่ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ยังปรากฏเด่นชัดว่า เอกสารที่ได้รับการอ้างถึงส่วนใหญ่เป็นเอกสารทุติยภูมิ จากการวิเคราะห์การอ้างถึงวารสารจำนวน 549 รายการ พบว่าในจำนวนนี้ ประมาณร้อยละ 80 เป็นการอ้างถึงวารสารหลักเพียง 26 รายการ วารสารภาษาไทยที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุด คือ วารสารห้องสุด ส่วนวารสารภาษาอังกฤษที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุด คือ College & Research Libraries ถึงแม้ว่าผลการวิจัยครั้งนี้จะแสดงถึงการใช้เอกสารโดยประมาณของนักวิจัยเพียงกลุ่มเดียวก็ตาม แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในงานห้องสมุดได้หลายประการ ตัวอย่างเช่น ช่วยเป็นแนวทางสำหรับบรรณารักษ์ในการพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเลือกสรรและจัดหา ทั้งยังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดเสนอบริการสารนิเทศที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้อีกด้วย เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้มีขอบเขตเฉพาะการวิเคราะห์การอ้างถึงในวิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ดังนั้น ควรจะได้มีการวิเคราะห์การอ้างถึงของวรรณกรรมทางบรรณารักษศาสตร์ทั้งแขนงวิชา เพื่อศึกษาการขยายตัวและโครงสร้างของวรรณกรรม สำหรับบรรณารักษ์ผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น ห้องสมุดทางวิทยาศาสตร์ หรือทางสังคมศาสตร์ สามารถนำวิธีการวิเคราะห์การอ้างถึงไปใช้ศึกษาการใช้ห้องสมุดและทรัพยากรในทางอ้อม และนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทรัพยากรและบริการของห้องสมุด นอกจากนี้ การศึกษาในเชิงเปรียบเทียบระหว่างการวิเคราะห์การอ้างถึงกับการศึกษาการใช้ห้องสมุดโดยตรง และการวิเคราะห์การอ้างถึงโดยใช้หน่วยการวิเคราะห์ในรูปต่าง ๆ เช่น หนังสือเล่ม วารสาร ฯลฯ เป็นเรื่องที่ควรจะได้รับความสนใจ เพราะจะช่วยชี้ให้เห็นถึงวิธีการวิเคราะห์การอ้างถึงที่เที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: The main purpose of this study is to determine the form, subject, time span, language, country of publication, and the type of cited documents. This study also aims at identifying the most cited journal. The source publication used in this study was 31 library science master’s theses relating to college and university libraries. These theses were completed between 1965-1979 at the Department of Library Science, Graduate School, Chulalongkorn University. The foot-notes used in this citation analysis were totally 1,765, The results were analyzed and presented in percentage and can be summarized as follows: It was found that books and journals were the most important forms of literature cited by the master’s candidates. Approximately, 67 percent of the total citations referred to the literature of library and information science. The rest cited the materials in other disciplines, of which the social science literature was predominant. Concerning the date of cited documents, it was indicated that the researchers in this area tended to cite the recent literature published within the past 5 and 5and 10 years. In terms of languages, the English documents made up about 61 percent of the total citations. The Thai documents accounted for about 39 percent. Nearly 50 percent of the cited documents was published in the United States. In addition, it was apparent that most of the citations referred to the secondary sources. From the analysis of 549 journal citations, 26 main journals were referred by about 80 percent of the total journal citations. The most cited Thai journal was Thai Library Association Bulletin, whereas College & Research Libraries was mostly cited among other English library journals. Although the findings of this study represented the characteristics of the literature presumably used by one specific group of researchers, they have several implications to library practice. For instances, they can serve librarians as the guidelines in library collection development, especially in setting up the selection and acquisition policies. They also guide the librarians in arranging appropriate information services in order to fulfill the users’ needs. Since this study was conducted only in the area of college and university libraries, further studies on citation analysis of the whole field of library science are needed so as to enlighten the growth and structure of the literature in this field. Librarians working in other types of libraries (i.e., special libraries in science and social sciences, etc.) can apply this method to study the use of library and materials indirectly. The results obtained may be useful for their library collection development as well as information service arrangement. Besides, the comparative studies of the citation analysis and the actual library use, along with using other types of source publications (i.e., monographs, serials, etc.) in citation analysis should receive further considerations and are recommended. These studies will likely point out the effective and valid method of citation analysis.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22865
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aree_Che_front.pdf507.07 kBAdobe PDFView/Open
Aree_Che_ch1.pdf401.88 kBAdobe PDFView/Open
Aree_Che_ch2.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Aree_Che_ch3.pdf732.24 kBAdobe PDFView/Open
Aree_Che_ch4.pdf877.76 kBAdobe PDFView/Open
Aree_Che_ch5.pdf641.21 kBAdobe PDFView/Open
Aree_Che_back.pdf759.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.