Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22916
Title: | การนำเสนอรูปแบบงบประมาณสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
Other Titles: | Proposed model of budgeting for government higher education institutions |
Authors: | จิตรา เตมีย์ |
Advisors: | สุชาติ ตันธนะเดชา ธงชัย ลำดับวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Suchart.T@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | งบประมาณ สถาบันอุดมศึกษา ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหางบประมาณ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เปรียบเทียบรูปแบบงบประมาณของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในต่างประเทศกับประเทศไทย และนำเสนอรูปแบบงบประมาณสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย การดำเนินงานวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกการพัฒนารูปแบบโดยการศึกษาทฤษฎี การวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา และเปรียบเทียบรูปแบบงบประมาณ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศกับต่างประเทศ ขั้นตอนที่สอง ประเมินรูปแบบงบประมาณโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการงบประมาณสถาบันอุดมศึกษา แม้ว่าจะมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งที่แตกต่างกัน แต่การพัฒนาในปัจจุบันมีทิศทางที่จะเป็นสถาบันอุดมศึกษาสมบูรณ์แบบ การขยายตัวของงบประมาณจึงมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2536-2540 งบประมาณอุดมศึกษาเป็นร้อยละ 17.6 ของงบประมาณเพื่อการศึกษา ในงบประมาณอุดมศึกษาทั้งหมดเป็นของสถาบันอุดมศึกษา ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยร้อยละ 85.4 เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินเดือน งบดำเนินการอื่น งบลงทุนแล้ว งบลงทุนเป็นร้อยละ 42.35 ของงบประมาณ รายจ่ายทั้งหมด 2. การเปรียบเทียบรูปแบบงบประมาณ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทยกับอังกฤษและออสเตรเลีย พบว่า มีความแตกต่างของลักษณะหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณ ให้กับสถาบันอุดมศึกษาในอังกฤษ คณะบุคคลที่เป็นองค์กรอิสระเรียกย่อว่า HEFCE ในออสเตรเลียเป็นคณะบุคคลในสังกัดกระทรวงศึกษา เรียกย่อว่า DEETYA สำหรับในประเทศไทยคือ สำนักงบประมาณ ส่วนวิธีการจัดสรรงบประมาณนั้นทั้งอังกฤษและออสเตรเลีย จัดสรรในรูปแบบเงินอุดหนุนทั่วไป มีสูตรในการคำนวณเงินอุดหนุนการสอน ส่วนประเทศไทยใช้การจัดสรรในรูปแบบงบประมาณ ที่เน้นการควบคุมการใช้ทรัพยากรแบบรายการตามโครงการที่สถาบันอุดมศึกษาเสนอ ในการใช้งบประมาณนั้นสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ มีอิสระที่จะนำงบประมาณไปใช้ได้โดยไม่ต้องเคร่งครัดเรื่องรายการใช้จ่าย แต่ควบคุมโดยระบบตรวจสอบด้วยบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ เน้นการตรวจสอบที่ผลการดำเนินงานซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับรัฐในขณะที่การใช้งบประมาณของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยต้องใช้จ่าย ตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยเคร่งครัด รวมทั้งการประเมินผลการใช้งบประมาณด้วย3. การนำเสนอรูปแบบงบประมาณสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย ประกอบด้วย 3.1 หลักการอุดมศึกษา 4 ประการ คือ ความเป็นเลิศทางวิชาการ ความสามารถตอบสนองความต้องการของสังคม ความรับผิดชอบและให้สังคมตรวจสอบได้ และความมีอิสระในการดำเนินงาน โดยมีหลักการงบประมาณ คือ รัฐจะจัดสรรงบประมาณให้สถาบันอุดมศึกษาในฐานะที่การอุดมศึกษาเป็นบริการของรัฐ โดยผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมการรับภาระค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม การจัดสรรงบประมาณต้องเพียงพอที่สถาบันอุดมศึกษารักษามาตรฐานทางวิชาการ สถาบันอุดมศึกษาสามารถบริหารงานได้อย่างมีอิสระแต่ต้องมีระบบที่ตรวจสอบได้ การจัดสรรงบประมาณและการตรวจสอบพิจารณาที่ผลการปฏิบัติงาน และเป็นการตรวจสอบหลังการดำเนินงาน 3.2 ส่วนประกอบของรูปแบบงบประมาณ แยกเป็นรายรับจากรัฐบาลเป็นเงินอุดหนุน ที่ดิน สินทรัพย์อื่นๆ และรายจ่ายแยกเป็นแหล่งกองทุน โครงการและกิจกรรม 3.3 กระบวนการจัดสรรงบประมาณ 3.3.1 กำหนดสูตรในการคำนวณเงินสนับสนุนให้ชัดเจน และมีองค์กรที่รับผิดชอบเรื่องการจัดสรรงบประมาณให้กับสถาบันอุดมศึกษาโดยเฉพาะ ซึ่งควรมีลักษณะเป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณพิจารณาตามแผนความต้องการกำลังคน นโยบายการอุดมศึกษา อนุมัติวงเงินให้สถาบันอุดมศึกษาตามสูตรและโครงการในรูปแบบเงินอุดหนุนทั่วไป 3.3.2 การบริหารงบประมาณ สถาบันอุดมศึกษาจัดระบบสารสนเทศทางการเงินและการบัญชี ระบบการติดตามผลการปฏิบัติงาน ส่วนการติดตามตรวจสอบการใช้งบประมาณจากภายนอกหลังการดำเนินงานจากรายงานที่สถาบันอุดมศึกษาแสดงต่อสาธารณชน 3.4 การนำรูปแบบงบประมาณที่พัฒนานี้นำไปใช้ จะต้องมีการกำหนดนโยบายส่งเสริมการศึกษา ปรับแก้กฎหมายทั้งที่เกี่ยวกับการใช้งบประมาณ การจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อรองรับงานการจัดสรรงบประมาณและการประกันคุณภาพ มีการปรับบทบาทหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ ทบวงมหาวิทยาลัย รวมทั้งโครงสร้างการบริหารการเงิน และด้านวิชาการภายในสถาบันอุดมศึกษาด้วย |
Other Abstract: | To study status problem and suggestion to solve problems on budgeting for government higher education institutions, to compare budgeting model for higher educations between Thailand and other selected countries and to propose the budgeting model for government higher education institutions in Thailand. The research methodology were firstly, to develop budgeting model through content analysis from documentary research, budgeting theories and experts interview, secondly, to evaluate budgeting model by experts. The research's findings were as follows: 1. Thai higher education institutions were established in different purposes but developing status were almost comprehensive universities under supervision of Ministry of University Affairs which gained most financial support about 17.6% of national budget for education, 85.4% of budget for higher education. Higher Education budget were allocated in line-items grouped in three parts (1) operation (2) salary and (3) capital. The budget for capital was 42.35% in fiscal year 1997. 2. The comparison of budgeting model among England Australia and Thailand were different in four parts (1) status and components of funding council (2) resources allocation method with formula and program (3) budgeting model by "block grant" and by "line-items" (4) on line audit system and audit by document and rules. 3. The proposed budgeting model composed of 4 parts: 3.1 Principles : higher education principles (goals) and principles of higher education budgeting (means). 3.2 Budget structure (1) income from the government in block grant, land grant and property grant (2) expenses in activities, programs and fund. 3.3 Resource allocation (1) formula setting by Resource Allocation Council which was non-government. (2) allocated in block grant which government higher education institutions had autonomous in financial management and be accountable (3) post audit in administrative annual performance from internal and external agency. 3.4 Model implementation for Thailand : these were five conditions (1) Public Policy for Higher Education in financial subsidy (2) Budget law for autonomous higher education institutions (3) establish autonomous council for resource allocation and quality assurance (4) reinventing Ministry of University Affairs and Bureau of Budget in responsibility of resource allocation for higher education institutions. (5) restructuring higher education institutions in management by objective. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22916 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jittra_Ta_front.pdf | 805.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jittra_Ta_ch1.pdf | 771.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jittra_Ta_ch2.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jittra_Ta_ch3.pdf | 839.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jittra_Ta_ch4.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jittra_Ta_ch5.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jittra_Ta_ch6.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jittra_Ta_ch7.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jittra_Ta_back.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.