Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22955
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนันท์ ปัทมาคม | - |
dc.contributor.author | น้ำทิพย์ ไชยสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-10-30T15:38:30Z | - |
dc.date.available | 2012-10-30T15:38:30Z | - |
dc.date.issued | 2523 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22955 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2523 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาการผลิตและการใช้สื่อการสอนในการฝึกสอนของนักศึกษาวิทยาลัยครูสวนสุนันทา ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามส่งไปสอบถามตัวอย่างประชากรซึ่งเป็นนักศึกษาวิทยาลัยครูสวนสุนันทา จำนวน 142 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ เสนอเป็นตาราง ผลการวิจัยเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ทางสื่อการสอนของนักศึกษาก่อนออกไปฝึกสอน นักศึกษาส่วนใหญ่มีพื้นความรู้ทางโสตทัศนศึกษาน้อยมาก และขาดความชำนาญในการใช้โสตทัศนูปกรณ์ที่จำเป็น โดยเฉพาะประเภทเครื่องฉาย ทั้งนี้เพราะโอกาสในการฝึกใช้มีน้อยมาก ทัศนคติของนักศึกษาฝึกสอนที่มีต่อการใช้สื่อการสอน นักศึกษาฝึกสอนส่วนใหญ่ใช้สื่อการสอนเพราะทำให้นักเรียนสนใจบทเรียนมากกว่าปกติ และจะใช้สื่อการสอนเพื่อประกอบคำบรรยาย สื่อการสอนที่นักศึกษาฝึกสอนใช้มากที่สุดเป็นประเภทวัสดุ ได้แก่รูปภาพ ของจริง บัตรคำ แผนภูมิ กระดานผ้าสำลี ที่ใช้น้อยที่สุดเป็นประเภทกิจกรรมได้แก่ เกมต่างๆ และบทบาทสมมุติ นักศึกษาประสบปัญหาขาดทักษะในการใช้สื่อการสอน ประเภทเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ไม่ได้ทำการทดลองและซักซ้อมก่อนการใช้จริง ไม่สามารถเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาของบทเรียน ความรู้สึกของนักศึกษาในชั่วโมงที่ไม่ได้ใช้สื่อการสอน นักเรียนไม่สนใจเรียนเท่าที่ควร ข้อเท็จจริงสภาพปัญหาในการผลิต การใช้สื่อการสอน การบริการของโรงเรียนฝึกสอนและของภาควิชาโสตทัศนศึกษาของวิทยาลัย นักศึกษาฝึกสอนผลิตสื่อการสอนด้วยตนเองหรือร่วมผลิตกับนักเรียนและซื้อสื่อการสอนมาใช้ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว สื่อการสอนที่นักศึกษาผลิตได้เองส่วนใหญ่เป็นประเภทวัสดุ ได้แก่ บัตรคำ สมุดภาพ แผนภูมิ ภาพพลิก กระดานผ้าสำลี ภาพการ์ตูน แผนที่ สาเหตุที่นักศึกษาไม่ผลิตสื่อการสอนเองเพราะขาดทุนทรัพย์ เวลา ทักษะ ปัญหาในการผลิตที่นักศึกษาประสบคือขาดเงินในการจัดซื้อ ขาดทักษะ ขาดความรู้ ประสบการณ์ เวลาและสถานที่ การบริการของโรงเรียนฝึกสอนและภาควิชาโสตทัศนศึกษาของวิทยาลัยให้ความร่วมมือดีพอสมควร ข้อเสนอแนะ ผู้สอนในภาควิชาโสตทัศนศึกษาควรเปิดสอนวิชา ที่เกี่ยวกับโสตทัศนศึกษาหรือเทคโนโลยีทางการศึกษาให้มากขึ้นทั้งในระดับครุศาสตร์บัณฑิต และระดับ ป.กศ.สูง นักศึกษาฝึกสอนควรฝึกทักษะในการใช้และผลิตสื่อการสอนทั้งประเภทวัสดุและอุปกรณ์ให้มีความชำนาญ ผู้บริหารวิทยาลัยควรวางแผนงานการจัดหาสื่อการสอนจากแหล่งอื่นๆ เพื่อบริการนักศึกษาฝึกสอน รวมทั้งจัดสถานที่ให้นักศึกษาใช้ผลิตสื่อการสอนด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose was to study the problems of utilizing and producing instructional media of the Suansunanta student teachers, 142 questioners were distributed to them. The data was analyzed in terms of percentage. The results of this study were : most of them, before the training period, not only did they have little basic knowledges and experiences about instructional media but also lack of skills in utilizing audio-visual equipments, the projectors, especially. They thought instructional media can make pupils more interested than usual .and they used them for explaining the content of the subjects. Pictures, objects, wordcards, charts, feltboards were the materials they used most. The activities they used least were games and role-playing. The main problems of utilization were lack of skills, previewing before using and lack of knowledges of how to select them effectively. Word card, chart, flip-picture, cartoon, map were produced by student teachers themselves or with the help from their pupils. They sometimes bought them with their own expense. The problems in producing were lack of money, skills, knowledges, experiences, time and places. They thought the instructional media services of co-operation schools and the college’s Department of Audiovisual Educational Technology were good. The suggestions were the Audio-Visual Educational instructors should offer more courses in Educational Technology f or both levels of Certificate, and Bachelor of Education Degree. The student teachers should train more skills in producing and utilizing not only audio¬visual materials but also equipments. The administrators should plan to provide instructional media from the other sources to serve the need of student teachers and they should have suitable places for producing them. | - |
dc.format.extent | 607232 bytes | - |
dc.format.extent | 1254014 bytes | - |
dc.format.extent | 1143536 bytes | - |
dc.format.extent | 1227479 bytes | - |
dc.format.extent | 563780 bytes | - |
dc.format.extent | 538671 bytes | - |
dc.format.extent | 892611 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนในการฝึกสอน ของนักศึกษาวิทยาลัยครูสวนสุนันทา | en |
dc.title.alternative | Problems concerning utilization of instructional mediasin student teaching of The Suansunanta Teachers College | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Namtip_Ch_front.pdf | 593 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Namtip_Ch_ch1.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Namtip_Ch_ch2.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Namtip_Ch_ch3.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Namtip_Ch_ch4.pdf | 550.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Namtip_Ch_ch5.pdf | 526.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Namtip_Ch_back.pdf | 871.69 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.