Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23050
Title: เขตอำนาจรัฐสากลเหนืออาชญากรรมระหว่างประเทศ
Other Titles: Universal jurisdiction over international crimes
Authors: กิตติ โอสถเจริญผล
Advisors: สุผานิต เกิดสมเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชานิติศาสตร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภายใต้หลักสากลแล้วรัฐสามารถใช้เขตอำนาจรัฐเหนือผู้กระทำผิดใดๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น สัญชาติของผู้กระทำความผิด หรือสัญชาติของเหยื่อที่ได้รับความเสียหาย ส่งผลให้รัฐทั้งหลายสามารถใช้เขตอำนาจรัฐสากลเพื่อดำเนินการสืบสวนและดำเนินคดีบุคคลผู้ต้องสงสัยว่ากระทำอาชญากรรมได้ แม้ว่าความผิดนั้นจะเกิดขึ้นในรัฐอื่น หรือเป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐอื่น กระทำต่อเหยื่อที่มีสัญชาติของรัฐอื่น หรือกระทำต่อผลประโยชน์ของรัฐอื่นก็ตาม ในทางทฤษฎีนั้น รัฐทุกรัฐในประชาคมระหว่างประเทศต่างมีพันธกรณีไม่ว่าจะเป็นพันธกรณีตามจารีตประเพณีหรือตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศในการใช้เขตอำนาจรัฐสากลเหนืออาชญากรรมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งจากพันธกรณีดังกล่าวส่งผลให้รัฐไม่เพียงแต่สามารถดำเนินคดีผู้กระทำความผิดได้เท่านั้นแต่รัฐยังอาจส่งตัวผู้กระทำความผิดข้ามแดนไปยังรัฐที่มีความต้องการที่จะดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพได้อีกด้วยตามหลัก Aut Dedere Aut Judicare แต่อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติของรัฐต่างๆ การปรับใช้เขตอำนาจรัฐสากลประสบกับปัญหาบางประการ ทำให้รัฐไม่สามารถใช้เขตอำนาจรัฐสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังเช่น ปัญหาการขาดหรือความไม่เพียงพอของบทบัญญัติกฎหมายภายใน การแทรกแซงทางการเมือง ปัญหาในการรวบรวมพยานหลักฐาน เป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาวิจัยนี้ได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว พร้อมทั้งยังได้เสนอแนะแนวทางในการเยียวยาความเสียหายแก่เหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นนั้นด้วย
Other Abstract: Under the principle of universality, a state is entitled to claim its jurisdiction over any offender, regardless of the place where the offences were committed, nationality of effenders or victims. As a result, states can investigate as well as prosecute a person who is suspected of having committed a crime in another state or against the nationals or interests of another state. In theory resulting from either custom or international treaties, states in the international community have an obligation to exercise their universal jurisdiction over international crimes of genocide, war crimes and crime against humanity. According to this obligation, a state can not only prosecute offenders who presence in its territory but it can also extradite the offenders to another state which is entitled and intends to prosecute those offenders fairly and effectively under the principle of aut dedere aut judicare. However, there are many problems which bring the states to exercise their universal jurisdiction inefficiently. More recently, the states are faced or will continue to face the problems about the absence and inadequate of municipal legislation, the political interference, the lack of evidences and etc. This research is therefore given to provide the reader with suggestions for solutions to the aforementioned problems as well as the prospects to remedy victims of international crimes above.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23050
ISBN: 9740314953
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kitti_os_front.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open
Kitti_os_ch1.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open
Kitti_os_ch2.pdf39.84 MBAdobe PDFView/Open
Kitti_os_ch3.pdf28.98 MBAdobe PDFView/Open
Kitti_os_ch4.pdf72.95 MBAdobe PDFView/Open
Kitti_os_ch5.pdf30.85 MBAdobe PDFView/Open
Kitti_os_ch6.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open
Kitti_os_back.pdf55.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.