Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23057
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรพัฒน์ วัชรประทีป
dc.contributor.authorเพิ่มศักดิ์ กอบกิจสกุล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-03T03:24:46Z
dc.date.available2012-11-03T03:24:46Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745666491
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23057
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractการศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคสตรีในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อโฟมล้างหน้าเป็นหัวข้อที่น่าศึกษาเรื่องหนึ่ง เพราะเดิมโฟมล้างหน้าเป็นสินค้าประเภทเครื่องสำอางที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มผู้ใช้เครื่องสำอางเท่านั้น แต่เมื่ออาศัยเครื่องมือทางการตลาดก็สามารถทำให้โฟมล้างหน้ากลายเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้กันได้ทั่วไป ในการศึกษานั้นจะเป็นการศึกษาวิจัยโดยการออกแบบสอบถามเพื่อต้องการทราบถึงทัศนคติผู้บริโภคสตรีที่มีต่อโฟมล้างหน้าในด้านเหตุผลในการใช้ และรายละเอียดต่างๆของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคสตรีต้องการ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตในการที่จะปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดและผลิตภัณฑ์ให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคสตรีมากขึ้น จากการศึกษาและวิเคราะห์ พบว่าผู้ที่ใช้โฟมล้างหน้านี้ส่วนใหญ่จะเป็นสตรี มีอายุระหว่าง 26-35 ปี มีระดับรายได้ 1501-3000 บาทต่อเดือน มีระดับการศึกษาขั้นอุดมศึกษาอาชีพหรือพนักงานหรือลูกจ้างบริษัทเอกชน และมีสถานภาพโสด โดยมีเหตุผลในการใช้เพราะล้างหน้าที่สะอาดดี ซึ่งยี่ห้อที่นิยมใช้มากที่สุดคือยี่ห้อเฟี๊ยซ ส่วนในด้านพฤติกรรมการซื้อนั้น ผู้บริโภคสตรีจะชอบซื้อโฟมล้างหน้าด้วยตนเอง ขนาดที่นิยมที่สุดคือขนาดกลาง ส่วนสถานที่ซื้อนั้นผู้บริโภคสตรีชอบที่จะซื้อตามซุปเปอร์มาเก็ต สำหรับสาเหตุที่ผู้บริโภคไม่เคยใช้โฟมล้างหน้าคือเคยชินกับการใช้สบู่ จากการศึกษาในเรื่องนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะดังนี้โฟมประเภทสินค้าอุปโภคบริโภคผู้ผลิตหรือจำหน่ายควรให้ความสนใจในด้านผลิตภัณฑ์ เพราะคุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกยี่ห้อของผู้บริโภคสตรี คือมีการออกโฟมล้างหน้าที่ใช้กับลักษณะผิวหน้าต่างๆ กัน นอกจากนี้ยังต้องอาศัยความได้เปรียบในแง่ของราคาที่ต่ำ และความได้เปรียบทางช่องทางจำหน่ายที่กว้างขวางของซุปเปอร์มาร์เก๊ต และร้านค้าปลีก ส่วนการส่งเสริมการจำหน่ายนั้นควรใช้การโฆษณาโทรทัศน์ นิตยสารสตรี เป็นหลักร่วมกับการแจกตัวอย่างสินค้าเพื่อทดลองใช้ ส่วนโฟมประเภทเครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีอยู่แล้ว แต่ควรจะเพิ่มขนาดบรรจุภัณฑ์ทั้งขนาดเล็กขนาดกลาง เพื่อให้เกิดการทดลองซื้อใช้ การตั้งราคาควรศึกษาจิตวิทยาในการเลือกซื้อของผู้บริโภคประกอบกับภาพพจน์ของผลิตภัณฑ์ โดยวางจำหน่ายตามเคาน์เตอร์ขายเครื่องสำอางหรือการขายตรง ส่วนการส่งเสริมการจำหน่ายควรใช้พนักงานขายเป็นหลัก
dc.description.abstractalternativeA study on the attitude of female consumers in Bangkok metropolitan area towards facial foam is very interesting because facial foam was primarily a kind of cosmetic product that was used among cosmetic users, with marketing tools, the manufacturers and distributors can make it become a consumer product. For Studying, the female consumers' attitude, their reasons for using as well as their requirements were acquired through questionnaires. This information would help guide the manufacturers and distributors to improve marketing techniques and the product itself. The result of the research reveals that most of the consumers are female, aged between 26-35 years and the range of their income is between 1501-3000 Baht a month. Their education is graduation level, their occupation is company officers and their status is single. The reason for using facial foam is that it can wash face clearly. The female consumers prefer to buy themselves and preferably middle size. The favourite place to buy is supermarket, The main reason some consumers never use facial foam is because they are accustomed to soap. From the research, there are many which should be improved:- For consumer facial foam, the manufacturers and distributors ought to concern on the product because its quality is the important factor which attracts the consumers. Lower price and wider channels can be a benefit. To promote products they should use television and woman magazines as their major media for advertising, and should distribute free samples. For cosmetic facial foam, the manufacturers and distributors should maintain good quality and launch both small and middle sizes. In pricing, they should study on consumers’ buying behavior together with their brand image. For distribution, they should rely on counter sales or direct sales.
dc.format.extent430028 bytes
dc.format.extent355767 bytes
dc.format.extent669114 bytes
dc.format.extent1583056 bytes
dc.format.extent679444 bytes
dc.format.extent327260 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectโฟมล้างหน้า -- การตลาด
dc.subjectผู้บริโภค -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.titleการศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อโฟมล้างหน้าen
dc.title.alternativeA study on the attitude of female consumers in Bangkok Metropolitan area towards facial foamen
dc.typeThesises
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Permsak_Ko_front.pdf419.95 kBAdobe PDFView/Open
Permsak_Ko_ch1.pdf347.43 kBAdobe PDFView/Open
Permsak_Ko_ch2.pdf653.43 kBAdobe PDFView/Open
Permsak_Ko_ch3.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Permsak_Ko_ch4.pdf663.52 kBAdobe PDFView/Open
Permsak_Ko_back.pdf319.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.