Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23070
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุมา สุคนธมาน-
dc.contributor.authorภาวนี เจียมวัฒนสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-03T04:52:30Z-
dc.date.available2012-11-03T04:52:30Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23070-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractความมุ่งหมายของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียนและครูประถมศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานและปัญหาในการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรประถมศึกษา ในด้านหลักการดำเนินงานของโครงการฯ การปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ และการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียนและครูประถมศึกษา เกี่ยวกับการดำเนินงานและปัญหาในการดำเนินงานของโครงการ โรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรประถมศึกษา ในด้านหลักการดำเนินงานโครงการฯ การปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ และการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 วิธีดำเนินงานวิจัย คือ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบโครงการโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรประถมศึกษา จำนวน 90 คน ผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียน ผู้นำการใช้หลักสูตร รุ่นที่ 1 จำนวน 180 คน และครูผู้สอน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ในโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร รุ่นที่ 1 จำนวน 180 คน รวมทั้งสิ้น 450 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบและแบบมาตราส่วนประเมินค่า แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านหลักการดำเนินงานของโครงการฯ การปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ และการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปจำนวน 450 ฉบับ ได้รับคืนมา จำนวน 381 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 84.67 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชากร 3 กลุ่ม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และทดสอบความแตกต่างของทุกกลุ่มที่ระดับมีนัยสำคัญที่ .05 โดยการใช้ Studentized Range Statistics ผลการวิจัยสรุปว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรนั้น ผลปรากฏว่าศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียนและครูประถมศึกษา มีความคิดเห็นโดยส่วนรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากในทุกๆ ด้าน ยกเว้นด้านหลักการดำเนินงานของโครงการฯ และการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 ที่มีบางเรื่องอยู่ในระดับปานกลางและน้อย ดังนี้ คือ 1.1) ด้านหลักการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร ได้แก่ ก.เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการของโครงการฯ เรื่องการให้โรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร ช่วยเหลือตนเองโดยใช้งบประมาณตามปกติที่มีอยู่นั้น ผู้บริหารโรงเรียนและครูประถมศึกษา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง และน้อย ตามลำดับ ข.เกี่ยวกับการช่วยเหลือโรงเรียนในโครงการฯ เรื่องวิทยาลัยครู ได้มีบทบาทในการช่วยเหลือด้านวิชาการของโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรนั้น ผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ค.เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนในโครงการฯ เรื่องการประเมินผลและการประกาศเกียรติคุณสำหรับโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร มีวิธีการดำเนินงานที่สะดวกและเหมาะสมต่อการนำไปปฏิบัตินั้น ศึกษานิเทศก์ก็มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 1.2) ด้านการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 เกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน เรื่องโรงเรียนได้รับคำแนะนำและปรึกษาในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนด้วยตนเอง จากศึกษานิเทศก์จังหวัดและศึกษานิเทศก์อำเภอเป็นอย่างดี และเรื่องโรงเรียนได้รับความช่วยเหลือในการอบรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อการเรียนการสอนจากหน่วยงานเจ้าสังกัดหรือวิทยาลัยครูนั้น ทั้งผู้บริหารโรงเรียนและครูประถมศึกษา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ เห็นด้วย ปานกลาง ทั้ง 2 เรื่อง 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรประถมศึกษานั้น ผลปรากฏว่า ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียนและครูประถมศึกษา มีความคิดเห็นโดยส่วนรวมอยู่ในระดับเป็นปัญหาน้อยและปานกลางเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นด้านหลักการดำเนินงานของโครงการฯ และการปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ ที่มีบางเรื่องเป็นปัญหาอยู่ในระดับมาก ดังนี้ คือ 2.1) ด้านหลักการดำเนินงานของโครงการฯ เรื่องไม่ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนด้านงบประมาณในการดำเนินงานจากกรมวิชาการและหน่วยงานเจ้าสังกัดนั้น ศึกษานิเทศก์และผู้บริหารโรงเรียน มีความคิดเห็นว่าเป็นปัญหามาก 2.2) ด้านการปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ เรื่อง ขาดการบำรุงขวัญและให้กำลังใจในการดำเนินงานของโครงการฯ นั้น ศึกษานิเทศก์และผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นว่าเป็นปัญหามาก 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียนและครูประถมศึกษา เกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรประถมศึกษา ในแต่ละด้าน ปรากฏผลดังนี้ คือ 3.1) ด้านหลักการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในเรื่องแนวคิดและหลักการของโครงการฯ ยกเว้นเรื่องการช่วยเหลือโรงเรียนในโครงการฯ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนในโครงการฯ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3.2) ด้านการปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในเรื่องต่างๆ ดังนี้ การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างจังหวัดกับโรงเรียน กลุ่มโรงเรียนกับโรงเรียน และผู้บริหารโรงเรียนกับครูผู้สอน ยกเว้นเรื่องการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างกรมวิชาการกับจังหวัดหรือหน่วยงานเจ้าสังกัด มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3.3) ด้านการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 นั้น ผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในเรื่องต่างๆ ดังนี้ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล ยกเว้น เรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและวัสดุหลักสูตร มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียนและครูประถมศึกษา เกี่ยวกับปัญหาในการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรประถมศึกษาในแต่ละด้าน ปรากฏผลดังนี้ คือ 4.1) ปัญหาด้านหลักการดำเนินงานของโครงการฯ ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไรไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4.2) ปัญหาด้านการปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4.3) ปัญหาด้านการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 ผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 ทั้ง 4 ด้าน คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและวัสดุหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล แตกต่างกันอย่าง ไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative1.To study the opinions of supervisors, elementary school administrators, and teachers concerning the conducting and problems of the Elementary Curriculum Implementation in Pioneer Schools Project on its principle, the co-operativeness among the involved personnels and the implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521 2. To compare the opinions among supervisors, elementary school administrators and teachers concerning the conducting and problems of the Elementary Curriculum Implementation in Pioneer schools Project on its principle, the co-operativeness among the involved personnels and the implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521. Procedure : Subjects used in this research are 90 supervisors who are responsible for the project, 180 administrators, and 180 Prathom Suksa 5 teachers from the first group, of the Pioneer Schools. The instruments used are a checklist and a rating scale which are divided into 3 aspects namely, the principle on conducting of the project, the co-operativeness among the involved personnels and . the implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521. The 450 questionnaires were sent out and 381 or 84.67 % were returned. The data analysis are percentage distribution, mean, standard deviation, One-Way Analysis of Variance and Studentized Range Statistics. Research Findings : 1. Concerning the conducting of the Elementary Curriculum Implementation in Pioneer Schools Project,- the supervisors, elementary school administrators', and teachers strongly agree with almost every aspect except the principle on conducting of the project and the Implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521 from which some aspects are agreed moderately and mildly as followings : 1.1 The principle of the project a. Concerning the ideas and principle of the : project the Pioneer Schools should help them by using the usual budget are moderately and mildly agreed by administrators and teachers accordingly. b. Concerning the aid to the schools in project : the teachers-training colleges in that province or near-by should have roles in helping academically the schools in the project, are moderately agreed by the 3 sampling groups. c. Concerning the evaluation of the Pioneer Schools Project ; the evaluating process and the merit announcement are convenient and suitable in using, are moderately agreed by the supervisors. 1.2 The implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521 concerning the instructional materials, both elementary school administrators and teachers agree moderately with the two issues: the schools are well advised in forming themselves instruc¬tional materials by provincial and district supervisors, and schools are helped in training about instructional materials production by their own department or the teacher-training colleges. 2. Concerning the problems in conducting of the Curriculum Implementation in Pioneer Schools Project, generally most of the supervisors, elementary school administrators and teachers agree both mildly and moderately except for its principle and the co¬operativeness among the involved personnels, in which some issues are serious problems as followings : 2.1 The principle of the project ะ without financial support from the '.Department of Curriculum and Instruction Develop¬ment and their own department, the supervisors and administrators find it very problematic. 2.2 The co-operativeness among the involved personnels : without morale support and encouragement, the supervisors and admi¬nistrators find it very problematic. 3. The comparison among the opinions of the supervisors, elementary school administrators and teachers concerning the conducting of the Curriculum Implementation in Pioneer Schools Project in each aspect are as followings: 3.1. The principle of the project concerning the idea and principle, the 3 sampling groups’ oinions are significantly different at the .05 level except for the school support and the evaluation, in which the opinions are not significantly different. 3.2 The co-operativeness among the involved personnels concerning the co-operation between school and the province, between school-group and school and between administrators and teachers, the 3 sampling groups’, opinions are significantly different at the .05 level except for the co- operativeness between the Department of Curriculum and Instruction Development and province or their own department, in which the opinions are' .not significantly different. 3.3 The Implementation of the Elementary Curriculum B.E. 2521 concerning learning activities, instructional materials, and measurement and evaluation, the 3 sampling groups’ opinions are significantly different at the .05 level except for the understanding of curriculum and curriculum materials, in which' the opinions are not : significantly different. 4. The comparison among the opinions of the supervisors, elementary school administrators, and teachers concerning the problems in conducting of the Curriculum Implementation in Pioneer Schools Project in each aspect are as followingst 4.1 Problems in the principle of the project, the opinions of the 3 sampling groups are not significantly different at the .05 level. 4.2 Problems in the co-operativeness among the involved personnels, the opinions of the 3 sampling groups are significantly different at the .05 level. 4.3 Problems in the implementation of the' Elementary Curriculum B.E. 2521 concerning the understanding of curriculum and curriculum materials, learning activities management, instructional materials, and measurement and evaluation, the opinions of the 3 sampling groups are not significantly different at the .05 level.
dc.format.extent874778 bytes-
dc.format.extent705134 bytes-
dc.format.extent2125013 bytes-
dc.format.extent482872 bytes-
dc.format.extent1620972 bytes-
dc.format.extent1074640 bytes-
dc.format.extent1292211 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโครงการโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร
dc.subjectการศึกษาขั้นประถมศึกษา -- หลักสูตร
dc.subjectศึกษานิเทศก์ -- ทัศนคติ
dc.subjectนักบริหาร -- ทัศนคติ
dc.subjectครู -- ทัศนคติ
dc.titleความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียนและครูประถมศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงาน ของโครงการโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรen
dc.title.alternativeOpinions of supervisors, elementary school administrators, and teachers concerning the conducting of the curriculum implementation in pioneer schools projecten
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bhavanee_Je_front.pdf854.28 kBAdobe PDFView/Open
Bhavanee_Je_ch1.pdf688.61 kBAdobe PDFView/Open
Bhavanee_Je_ch2.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Bhavanee_Je_ch3.pdf471.55 kBAdobe PDFView/Open
Bhavanee_Je_ch4.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Bhavanee_Je_ch5.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Bhavanee_Je_back.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.