Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23152
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระ สัจกุล-
dc.contributor.authorประดิษฐ์ ชวชาติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-06T03:23:04Z-
dc.date.available2012-11-06T03:23:04Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745666386-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23152-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractหมู่บ้านจัดสรรเอกชนได้มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้สูงและได้รับความนิยมมาโดยตลอด ในการดำเนินงานแม้จะมีหน่วยงานของรัฐเข้ามามีส่วนควบคุมธุรกิจประเภทนี้ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติมักมีการหลีกเลี่ยงข้อกำหนดของกฎหมายอยู่เสมอ เป็นเหตุให้เกิดปัญหาการขาดแคลนและการขาดคุณภาพในองค์ประกอบบางอย่างของชุมชน นอกจากนั้นยังพบว่ามีความไม่สอดคล้องระหว่างสภาพแวดล้อมกายภาพซึ่งผู้ออกแบบกำหนดขึ้นกับพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผู้ใช้สอยสภาพแวดล้อมนั้น ๆ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อการประเมินเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมกายภาพภายในโครงการบ้านจัดสรร โดยใช้ความพอใจของผู้อยู่อาศัยเป็นเครื่องวัดความสำเร็จของโครงการขณะเดียวกันทำการเปรียบเทียบทัศนคติผู้อยู่อาศัย เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของความพอใจหรือไม่พอใจข้างต้น อันเนื่องมาจากผลกระทบของสภาพแวดล้อมนั้นๆ การศึกษานี้ได้แบ่งสภาพแวดล้อมออกเป็นสภาพแวดล้อมทั่วไปของชุมชน ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบพื้นฐานชุมชนและส่วนบริการชุมชนด้านสันทนาการและสภาพแวดล้อมด้านสาธารณูปการและการดูแลชุมชน โดยแนวการศึกษานี้ย่อมทำให้ทราบถึงปัญหาและสาเหตุข้อขัดแย้งในการใช้สอยองค์ประกอบชุมชนของผู้อยู่อาศัย ซึ่งจะสามารถนำไปแก้ไขปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่และยังเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการประเภทเดียวกันในอนาคต ในการศึกษาได้เลือกโครงการจากแหล่งใหญ่ของหมู่บ้านจัดสรรย่านตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพมหานครที่มุ่งสนองความต้องการของผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้สูง และมีส่วนบริการด้านสันทนาการที่ต้องการศึกษาเป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของชุมชน 4 แห่งซึ่งได้แก่ หมู่บ้านเมืองทอง, ผาสุก, สัมมนากรและหมู่บ้านพฤกษชาติ และเนื่องจากหมู่บ้านทั้งหมดสร้างขึ้นในยุคแรกของหมู่บ้านจัดสรรและอยู่ในทำเลที่ตั้งย่านเดียวกัน จึงสามารถควบคุมตัวแปรในเรื่องที่ตั้งและอายุชุมชน ซึ่งอาจมีผลกระทบถึงความรู้สึกและทัศนคติในบางองค์ประกอบที่ศึกษา ในการศึกษานี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำคัญโดยทำการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 5 ของประชากรทั้งสิ้นใน 4 โครงการ ก่อนทำการศึกษาในส่วนของสภาพแวดล้อมตามจุดมุ่งหมายข้างต้น ได้ทำการศึกษาถึงสภาพมูลฐานทางสังคมและเศรษฐกิจเพื่อให้ทราบถึงโครงสร้างทางสังคมและค่านิยมของประชากร และจากการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างกันมากนักในลักษณะดังกล่าวที่จะส่งผลถึงความรู้สึกและทัศนคติของผู้อยู่อาศัยที่มีต่อสภาพแวดล้อมในแต่ละหมู่บ้าน ในการศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบสภาพแวดล้อมกายภาพในชุมชน 6 องค์ประกอบได้แก่ ชุมชนโดยส่วนรวม, ถนนและทางเท้า, อาคารพาณิชย์, สโมสรและสระว่ายน้ำ, สนามเด็กเล่นและสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อน และองค์ประกอบด้านสาธารณูปการและการดูแลชุมชนอีก 5 องค์ประกอบได้แก่ การดูแลรักษาความสะอาดชุมชน, การเก็บขยะ, การรักษาความปลอดภัย, ระบบน้ำดื่มน้ำใช้และการป้องกันน้ำท่วม รวมทั้งสิ้น 11 องค์ประกอบนั้น ในการประเมินผลโดยการวิเคราะห์หาค่ารวมมัชฌิมเลขคณิตของความพอใจในองค์ประกอบทั้งหมดพบว่า ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านสัมมนากรและหมู่บ้านเมืองทองจะมีความพอใจในหมู่บ้านในระดับสูงใกล้เคียงกัน รองลงมาได้แก่หมู่บ้านผาสุกและหมู่บ้านพฤกษชาติตามลำดับ ผลจากการเปรียบเทียบค่ามัชฌิมเลขคณิตความพอใจและจัดเรียงลำดับองค์ประกอบกายภาพนั้น ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านทั้ง 4 แห่งมีความพอใจในระดับที่ “ค่อนข้างพอใจ” ถึง “พอใจมาก” ในองค์ประกอบของ ชุมชนโดยส่วนรวม ถนนและทางเท้า และอาคารพาณิชย์ในชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานและองค์ประกอบด้านบริการที่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันมากกว่าองค์ประกอบด้านสันทนาการ ซึ่งใช้เป็นเครื่องส่งเสริมการขายของโครงการทั่วไปอันได้แก่ สโมสรและสระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อน โดยองค์ประกอบเหล่านี้จะมีคะแนนประเมินความพอใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ “ยอมรับได้” ถึง “ไม่พอใจมาก” การศึกษาความรู้สึกและทัศนคติซึ่งใช้อธิบายถึงสาเหตุความพอใจนั้น ความพอใจในชุมชนโดยส่วนรวมจะเกิดจากความรู้สึกที่ว่า เป็นชุมชนที่ไม่แออัด เงียบสงบ ร่มรื่นและมีความปลอดภัยในการอยู่อาศัย สำหรับความพอใจในถนนและทางเท้าจะเกิดจากความรู้สึกที่ว่า ถนนกว้างขวาง มีสภาพดี ไม่พลุกพล่านและมีความปลอดภัยในการใช้สอย ส่วนความพอใจในอาคารพาณิชย์ของชุมชนนั้นจะเกิดจากความรู้สึกที่ว่า ร้านค้าอยู่ใกล้หน่วยพักอาศัย ไปใช้สอยสะดวกและมีจำนวนมากเพียงพอสำหรับความรู้สึกในด้านลบที่มีต่อองค์ประกอบด้านสันทนาการนั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากความรู้สึกที่ว่า ขาดความร่มรื่นของบริเวณ ปราศจากการดูแลรักษาทั้งในส่วนของอุปกรณ์และบริเวณ ตลอดจนมีบรรยากาศไม่น่าใช้สอย สภาพแวดล้อมกายภาพภายในโครงการที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกและทัศนคตินั้น พบว่าสัดส่วนพื้นที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ ของหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นที่พอใจของผู้ใช้สอย โดยจะมีความรู้สึกในระดับที่ “ยอมรับได้” ถึง “ค่อนข้างกว้างขวาง” สำหรับความแตกต่างของตำแหน่งที่ตั้งศูนย์กลางชุมชนซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบด้านสันทนาการนั้น ไม่ปรากฏความแตกต่างในความรู้สึกของผู้ใช้สอยอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องของความสะดวกในการเข้าถึงและความรู้สึกใกล้ไกลทั้ง 4 หมู่บ้านโดยผู้ใช้สอยส่วนใหญ่มีความรู้สึกในระดับปานกลางที่ว่า “ยอมรับได้” ในส่วนของร้านค้านั้นปรากฏว่าร้านค้าที่ตั้งอยู่ในระยะห่างที่เหมาะสมและกระจายตามจุดต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้าที่ดัดแปลงจากหน่วยพักอาศัยนั้น ผู้ใช้สอยได้แสดงทัศนคติที่ดีต่อปรากฏการณ์นี้โดยเฉพาะความรู้สึกที่ว่ามีความสะดวกสำหรับการใช้สอย ในการวางผังของระบบถนนโดยการลดจุดตัดจากลักษณะ 4 แยกแบบตารางให้อยู่ในรูปของการบรรจบของถนนแบบตัว “ที” หรือแบบวนรอบนั้นพบว่า จะทำให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นในการใช้รถใช้ถนนในหมู่บ้าน สำหรับบริเวณพื้นที่สีเขียวในแต่ละโครงการซึ่งมีมาตรฐานพื้นที่ค่อนข้างสูงนั้น ผู้อยู่อาศัยได้ให้ค่าประเมินในเรื่องความเพียงพอและระยะทางเพียงในระดับที่ “ยอมรับได้” เนื่องจากการวางผังโดยการกำหนดให้พื้นที่มารวมอยู่บริเวณศูนย์กลางของชุมชนเพียงแห่งเดียว ส่วนผลกระทบในด้านความรู้สึกปลอดภัยสำหรับการอยู่อาศัยนั้นพบว่า ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่โครงการที่แคบและยาว การมีขอบเขตที่ไม่เด่นชัดและรกร้างตลอดจนการมีทางผ่านเข้าออกโครงการมากจุดมีผลให้ความรู้สึกปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยลดลง ในการศึกษาถึงความต้องการย้ายและแนะนำหมู่บ้านแก่ผู้อื่น เพื่อทดสอบความสอดคล้องกับผลการประเมินความพอใจในหมู่บ้านนั้นพบว่า สาเหตุในการย้ายส่วนใหญ่นอกจากปัญหาน้ำท่วมแล้วยังมีประเด็นที่สำคัญอื่นนอกเหนือจากสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านคือ ปัญหาเรื่องระยะทางที่ไกลจากเมืองและการขยายตัวของครอบครัวของผู้อยู่อาศัย ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า สภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านจัดสรรจากกรณีตัวอย่างทั้ง 4 แห่งนั้นได้สนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยในระดับที่ดีพอใช้ นับว่าผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจบ้านจัดสรรประสพความสำเร็จพอสมควรในการช่วยแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้สูงของกรุงเทพมหานคร
dc.description.abstractalternativeHousing as provided by private developers have substantially been a major housing stock for those urban medium and high income families. Although they have been controlled by government agencies concerned, in practice many have always been attempted to avoid complying with the regulations. This has often lowered the quality and also deprived the residential communities of the necessary elements. Besides, it has often been found that the physical environment as planned by designers or by the developers conflicts with the way of life of the residents. The purposes of the study is to evaluate and measure aspects of physical environment and of management that influence residents’ satisfaction. The physical environments of the projects comprising overall surrounding environment, neighborhood sport and recreation facilities, services and public utilities were assessed. Basic recommendations for the improvements of the housing projects were also made. Four private sector housing projects selected for the evaluation include; Muangthong Village, Phasook Village, Sammakorn Village and Phruksachart Village. All of those projects located in the same northeastern area of Bangkok, and the length of residency of the projects are about the same. Additionally, all four projects were developed to served middle and middle high income families. Given such facts, it is assumable that the major external factors related to location and physical distance, age of the projects are controlled. The study mainly consisted of surveys using structured questionnaires which were used for the interview of 5 percent of population in each of the four housing projects. The questionnaires were of 3 major parts. The first part was designed to assess the general characterestics of the families living withing the projects. The second part was used to record the residents’ utilization patterns of the neighborhood facilities and the third part was aimed at measuring satisfaction. It was found, from the first part of the questionnaires that there was no significant difference in residents’ demographic backgrounds which affected residents’ perceptions and evaluation of environment attributes in each of the four projects. An evaluation of overall environment includes, i.e., communities as a whole, roads and footpaths commercial buildings, clubs and swimming pools, playgrounds and parks, as well as 5 other components related to public utilities: care and maintenance of communities cleanliness, refuse collection, security measures, drinking and consumption water supply, and flood prevention, totaling 11 components altogether. It was found through analysis by arithmetic mean in respect of satisfaction indicated that the residents’ satisfaction in Sammakorn Village and Muangthong Village was on a similar level, while satisfaction among the residents of Phasook Village and Phruksachart Village was lower, respectively. A comparison of arithmetic mean values regarding residents’ satisfaction and physical components of the projects showed that the residents’ satisfaction in the 4 housing estates could be rated from “satisfied” to “very satisfied” with the communities as a whole, roads and footpaths, and commercial buildings, which are basic components and are more essential to daily living than recreation services. Such recreation services as clubs and swimming pools, playgrounds and parks were rated lower from the being “acceptable” to “very dissatisfied”. It was clear that the residents’ satisfaction of the communities as a whole emanated from the feeling that the communities were uncrowded, peaceful and full of shades and provided security. Their satisfaction of roads and footpaths stemmed from the feeling that the roads were sufficiently wide and in good conditions and that they had little traffic, and offered safety to road users. Satisfaction with neighborhood convenient stores came from the feeling that these stores were in close proximity with dwellings and adequately distributed within the neighborhood. In regard to physical conditions in the housing estates that affect the residents’ feelings and attitude, it was found that the proportion of various areas comprising the majority of the estates satisfied the users, whose ratings ranged from being “acceptable” to “rather spacious” in respect of location of communal recreation facilities. Negligible difference was noted in their views on convenience of access to the 4 estates and distance as they felt that the access and distance were “acceptable”. However negative feeling on recreation components resulted mostly from the inadequate shaded area, inadequate care and maintenance of the public utilities and communal spaces. In the matter of road systems, the reduction of the number of intersections and the layout of roads in the T pattern or circular roads around the estates were found to have increased safety in the use of vehicles on estate roads. Regarding layouts in which large green areas were located in the communal centers alone, the study showed that the distance and sufficiency of the area which were of a rather high standard received the residents’ rating that was lower than expected. On the residents’ feeling about security measures, it was found that the estates which were situated on long tracts of land but with narrow width and without clear boundaries, coupled with vacant and shrubby areas and with many accesses to the estates, lessen the sense of security among the residents. In order to test further the overall reaction of residents to their neighborhood environment, two questions were asked. The questions was: “Do you want to move out of the present community?” and: “Would you recommend this place to one of your friends or relatives?”. It was noted that the majority of those moving to other localities had been faced with floods and by the problem on the long distance from downtowns and the expansion of families – factors more important than environmental conditions. Conclusions drawn from the research were that environmental conditions of the 4 sampling housing estates answered the needs of the residents in a fairly satisfactory degree. This in return reflects the fact that those who engage in housing have achieved a [reasonable] success in helping to alleviate the housing problem for medium and high income earners.
dc.format.extent677758 bytes-
dc.format.extent554441 bytes-
dc.format.extent474779 bytes-
dc.format.extent1649453 bytes-
dc.format.extent429658 bytes-
dc.format.extent1773440 bytes-
dc.format.extent506480 bytes-
dc.format.extent592491 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectบ้านจัดสรร -- ความพอใจของผู้อยู่อาศัย
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- แง่สังคม -- ไทย
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectหมู่บ้านเมืองทอง
dc.subjectหมู่บ้านผาสุก
dc.subjectหมู่บ้านสัมมากร
dc.subjectหมู่บ้านพฤกษชาติ
dc.titleการประเมินโครงการบ้านจัดสรรเอกชน ในด้านความพอใจของผู้อยู่อาศัยที่มีต่อองค์ประกอบชุมชนอยู่อาศัยen
dc.title.alternativeAn evaluation of private housing projects : residents' preference and satisfaction of community environmenten
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pradit_Ch_front.pdf661.87 kBAdobe PDFView/Open
Pradit_Ch_ch1.pdf541.45 kBAdobe PDFView/Open
Pradit_Ch_ch2.pdf463.65 kBAdobe PDFView/Open
Pradit_Ch_ch3.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Pradit_Ch_ch4.pdf419.59 kBAdobe PDFView/Open
Pradit_Ch_ch5.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Pradit_Ch_ch6.pdf494.61 kBAdobe PDFView/Open
Pradit_Ch_back.pdf578.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.