Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2331
Title: การศึกษารูปแบบของเรือนไทยเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะในปัจจุบัน
Other Titles: A study of traditional Thai house and the application of its characteristics to present environment
Authors: กิติศักดิ์ อนันต์พูนผล, 2522-
Advisors: สุนทร บุญญาธิการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: soontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th
Subjects: เรือนไทย
สถาปัตยกรรมไทย
สถาปัตยกรรมกับภูมิอากาศ--ไทย
สถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงาน--ไทย
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากคุณสมบัติของเรือนไทยที่มีระดับอุณหภูมิของอากาศภายนอก และอากาศภายในที่ใกล้เคียงกัน ทำให้สภาพอากาศภายในของเรือนไทยในอดีต อยู่ในเขตสบายคล้อยตามสภาพอากาศภายนอก แต่ปัจจุบันสภาพอากาศภายนอกมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก สภาพอากาศภายในของเรือนไทยจึงไม่อยู่ในเขตสบายเหมือนในอดีต ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องสร้างเขตสบายให้กับเรือนไทยด้วยการใช้ระบบปรับอากาศ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษารูปแบบของเรือนไทย เพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะในปัจจุบัน โดยมุ่งศึกษาหลักการที่ทำให้เรือนไทยมีลักษณะพิเศษ 3 ประการ ได้แก่ ความสอดคล้องกับการใช้สอยในปัจจุบัน การประหยัดพลังงานในระบบปรับอากาศ และการลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน การวิจัยนี้แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน เริ่มจากการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อการประยุกต์เรือนไทยให้เหมาะสมกับสภาวะในปัจจุบัน ด้วยการวิเคราะห์เบื้องต้น การคำนวณทางคณิตศาสตร์ และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากนั้นเปรียบเทียบอิทธิพลของตัวแปรต่างๆ เพื่อหาระดับความเหมาะสมที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบ สุดท้ายศึกษารูปแบบและเทคนิคการก่อสร้าง โดยเน้นการประยุกต์ใช้ในการออกแบบที่คงไว้ซึ่งสัดส่วน ลักษณะและรูปลักษณ์ของเรือนไทย ผลการวิจัยพบว่า มีความเป็นไปได้ในการที่จะประยุกต์เรือนไทยให้เหมาะสมกับสภาวะในปัจจุบัน โดยอาศัยหลักการออกแบบที่มีการคำนึงถึงตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยภายในตัวเรือนให้สอดคล้องกับในปัจจุบัน มีการเลือกใช้วัสดุเปลือกอาคารที่มีระดับการป้องกันความร้อนสูง มีระดับการรั่วไหลของอากาศต่ำและมีมวลสารต่ำ รวมไปถึงการลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้วยการเพิ่มเนื้อที่ใช้สอย การใช้ระบบการก่อสร้างสำเร็จรูป การสร้างแยกหลังโดยใช้ชานกลางเป็นตัวเชื่อมต่อเมื่อต้องการขยายตัวในอนาคต และการใช้รูปแบบที่เป็นมาตรฐานเพื่อการก่อสร้างจำนวนหลายครั้ง ผลการวิจัยสรุปว่า สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยภายในเรือนไทย ให้สอดคล้องกับการใช้สอยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี กรณีปรับอากาศพบว่า สามารถลดภาระของระบบปรับอากาศ และปริมาณการสะสมความร้อนในมวลสารได้ประมาณ 12 เท่า และเมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการลงทุนโดย 1) การลดพื้นที่ผิวเปลือกอาคารต่อพื้นที่ใช้สอย 2) การเพิ่มความรวดเร็วในการก่อสร้าง 3) การแบ่งระยะในการลงทุน และ 4) การผลิตในปริมาณมาก สามารถลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการก่อสร้างแบบทั่วไปลงได้ประมาณ 27% 14% 16% และ 30% ตามลำดับ
Other Abstract: Traditional Thai house has been recognized for its outstanding characters most notably - a capability of exchanging heat between inside and outside and allowing efficient airflow. However such characteristics of the house has failed to counteract with the increasingly warming climate, and this has raised the demand for air-conditioning system. It is reckoned that the air-conditioning system would become essential to create a comfortable atmosphere. This study aims to examine the designing of traditional Thai houses and develop applications that serve 3 objectives namely 1. Fits every day's uses 2. Energy efficient and 3. Investment feasible. This study comprises of 3 steps. Mathematical calculation and computer modeling were used to determine the factors that affect the suitability of traditional Thai house and then evaluate each factor to find the most significant root causes. Then the study proceed on the construction techniques that would preserve the looks and feels of traditional Thai houses. The findings reveal that it is likely to apply and exert an architectural intelligence that helps the development of a traditional Thai house that answers everyone's needs. This could technically be accomplished by means of an improvement of space utilization, careful selection of exteriors with high insulation, no infiltration, and low mass features, implementation of instant and ready-to-use type of construction materials, and the movement to a mass production process. According to the study, it can be concluded that the service area in the house can be carefully utilized to suit functional needs, new design of air-conditioning system can greatly reduce heat build-up and workload of previous model by 12 times. Compared with the proposed existing design, design also yields a satisfactory cost reduction owing to the following measures, 1. Lowering the exterior area-service area ratio (cut cost by 27%), 2.) Shortening construction time (cut cost by 14%), 3.) Allowing more flexible investment cycle (cut cost by 16%) and 4.) Creating a possibility for mass production (cut cost by 30%).
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2331
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.343
ISBN: 9741753306
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.343
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kitisak.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.