Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23588
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เกษมศักดิ์ ภูมิศรีแก้ว | - |
dc.contributor.advisor | วัชรี ทรัพย์มี | - |
dc.contributor.author | วรกช นิธิกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-09T08:33:53Z | - |
dc.date.available | 2012-11-09T08:33:53Z | - |
dc.date.issued | 2535 | - |
dc.identifier.isbn | 9745812528 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23588 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดของญาติผู้ป่วยโรคจิตเภท เปรียบเทียบความเครียดของบิดาหรือมารดาของผู้ป่วย กับคู่สมรส หรือพี่-น้อง หรือบุตรของผู้ป่วย และเปรียบเทียบความเครียดของญาติที่แตกต่างกันในด้านภูมิลำเนา ระดับการศึกษาของญาติ เพศและระยะเวลาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือ ญาติของผู้ป่วยโรคจิตเภทที่พาผู้ป่วยมารับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยนอกหรือมาเยี่ยมผู้ป่วยในของโรงพยาบาลศรีธัญญา จำนวน 120 คน แบ่งเป็นกลุ่มบิดาหรือมารดา 1 กลุ่ม คู่สมรสหรือพี่-น้อง หรือบุตรอีก 1 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 60 คน โดยการสุ่มให้ได้ตัวอย่างตรงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบมาตรประเมินค่าที่สร้างขึ้นเอง การเก็บข้อมูลใช้วิธีสัมภาษณ์ ตามแบบสอบถามที่สร้างขึ้นนั้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างแต่ละคู่ โดยวิธีของลิสท์ซิกนิพิเคนท์ ดิฟเฟอเรนซ์ (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า ญาติผู้ป่วยโรคจิตเภทมีความเครียดสูงสุดเกี่ยวกับความกังวลว่ามีโอกาสน้อยมากที่จะรักษาผู้ป่วยให้หายดีดังเดิม มีความเครียดระดับปานกลางเกี่ยวกับด้านสัมพันธภาพภายในครอบครัว พฤติกรรมของผู้ป่วย ชีวิตสังคมและส่วนตัวของญาติ และความน่าอับอายเรื่องโรคจิต นอกจากนี้ยังพบว่า บิดาหรือมารดามีความเครียดสูงกว่าญาติอีกกลุ่ม เกี่ยวกับผู้ป่วยไม่ช่วยทำงานบ้าน และความเชื่อที่ว่าการเลี้ยงดูหรือการปฏิบัติของญาติมีส่วนทำให้ผู้ป่วยป่วยเป็นโรคจิต คู่สมรสหรือพี่-น้องหรือบุตร มีความเครียดสูงกว่าบิดาหรือมารดาเกี่ยวกับเรื่องการใช้อารมณ์กับผู้ป่วย การให้บริการที่โรงพยาบาลล่าช้า และความเชื่องช้าของผู้ป่วย และพบว่าญาติที่มีภูมิลำเนาในชนบทมีความเครียดสูงกว่าญาติผู้ป่วยที่อยู่ในเมือง | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study stresses in the relatives of schizophrenia patients, the comparison were made between the patients’ parents and the spouses, siblings or the offsprings. Another comparison were made between the relatives in different residential area, educational level, sex, and different period of patients’ illness. The random samples were on hundred and twenty persons who came to Srithanya Hospital, either accompanied patients or came to visit patients. Sixty of them were identified as patients of the patients and the rest belonged to the other category. The rating scale questionnaires were developed by the researcher and were applied to interview each of the samples. The data were analized by using percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance and least significant difference. The findings were that relatives were most anxious about the poor prognosis of the patients. The relatives had moderate stress concerning the family relationship, patients behavior, their private and social life and stigmatization of the disease. Parents of the patients were found to have more stress than the other group on the items related to patients’ household works. The parents believed that their child rearing practice were the cause of illness. Spouses, siblings and offsprings reported that they had more stresses than the parents related to their emotionality when dealing with the patients, delayed hospital services and the patients retardeness. Relatives from rural areas were found to have more stresses than relatives whom came from urban area. | |
dc.format.extent | 2739818 bytes | - |
dc.format.extent | 24495262 bytes | - |
dc.format.extent | 1611478 bytes | - |
dc.format.extent | 18046619 bytes | - |
dc.format.extent | 12881304 bytes | - |
dc.format.extent | 5561897 bytes | - |
dc.format.extent | 10763323 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การศึกษาความเครียดของญาติผู้ป่วยโรคจิตเภท | en |
dc.title.alternative | A study of stress in the relatives of schizophrenics | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | จิตวิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Worragoch_ni_front.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Worragoch_ni_ch1.pdf | 23.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Worragoch_ni_ch2.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Worragoch_ni_ch3.pdf | 17.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Worragoch_ni_ch4.pdf | 12.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Worragoch_ni_ch5.pdf | 5.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Worragoch_ni_back.pdf | 10.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.