Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23638
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมล สุดประเสริฐ-
dc.contributor.authorรจิต ชัยสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-09T19:04:06Z-
dc.date.available2012-11-09T19:04:06Z-
dc.date.issued2518-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23638-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518en
dc.description.abstractศึกษาความสอดคล้องระหว่างความมุ่งหมายกับเนื้อหาวิชาในหมวดสังคมศึกษา ของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมแบบประสม วิธีดำเนินการวิจัย ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างเกณฑ์สำหรับวิเคราะห์เนื้อหาวิชาสังคมศึกษา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เนื้อหาสาระจากแบบเรียน หนังสือประกอบการเรียนและหนังสือประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษา จำนวน 19 เล่ม ลำดับขั้นในการสร้างเกณฑ์แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือการวิเคราะห์โดยการขยายความมุ่งหมายของหมวดวิชาสังคมศึกษา หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมแบบประสมโดยผู้วิจัยร่วมกับนิสิตปริญญาโท แผนกวิชาบริหารการศึกษา จำนวน 10 คนแล้วให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาหลักสูตร การประเมินผลหลักสูตร และการสอนวิชาสังคมศึกษา จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา หลังจากนั้นผู้วิจัย ได้นำเนื้อหาสาระที่วิเคราะห์ได้จากความมุ่งหมายของหมวดวิชาสังคมศึกษามาสร้างเป็นแบบสอบถาม ให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 31 ท่าน พิจารณาให้น้ำหนักความสำคัญของเนื้อหาสาระแต่ละข้อ ผู้วิจัยคำนวณหาค่าเฉลี่ยของน้ำหนักความสำคัญนั้นๆ เพื่อจัดอันดับความสำคัญของเนื้อหาสาระเป็นรายข้อและเป็นหมวดตามความมุ่งหมายค่าความเชื่อถือได้ ( Reliability ) ของเกณฑ์ซึ่งคำนวณได้จากการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ( Correlation Coefficient ) ของความคิดเห็นในระหว่างกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิมีค่าอยู่ระหว่าง 0.47123 ถึง 0.70283 ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เนื้อหาวิชาสังคมศึกษาจากแบบเรียน หนังสือประกอบการเรียน และหนังสือประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษา จำนวน 19 เล่ม โดยการบันทึกจำนวนหน้าและจำนวนบรรทัดที่มีเนื้อหาสาระซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ ผู้วิจัยได้สรุปปริมาณของเนื้อหาที่วิเคราะห์ได้เป็นร้อยละ และคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (The Rank- order Coefficient) ของอันดับความสำคัญของเนื้อหาเปรียบเทียบกับอันดับความสำคัญของความมุ่งหมายของหมวดวิชาสังคมศึกษา สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ การวิจัยนี้พบว่า จากจำนวนหนังสือเรียนสังคมศึกษา 19 เล่ม มีเพียง 3 เล่ม ที่เสนอเนื้อหาตรงตามความมุ่งหมายของหมวดวิชาสังคมศึกษาครบทั้ง 6 ข้อ จำนวน 4 เล่ม ที่เสนอเนื้อหาตรงตามความมุ่งหมาย 5 ข้อ จำนวน 9 เล่ม ที่เสนอเนื้อหาตรงตามความมุ่งหมาย 4 ข้อ จำนวน 2 เล่ม ที่เสนอเนื้อหาตรงตามความมุ่งหมายเพียง 3 ข้อและจำนวน 1 เล่ม ที่เสนอเนื้อหาตรงตามความมุ่งหมายเพียง 2 ข้อเท่านั้น สรุปได้ว่าหนังสือเรียนสังคมศึกษาดังกล่าว เสนอเนื้อหาสอดคล้องกับความมุ่งหมายน้อยมาก นอกจากนั้น ปรากฏว่าๆไม่มีหนังสือเล่มใดเลยที่เสนออันดับความสำคัญของเนื้อหาสอดคล้องกับอันดับความสำคัญของความมุ่งหมาย ซึ่งประมาณค่าโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% แต่ในจำนวนนี้ยังมีอยู่เป็นจำนวน 15 เล่ม ที่เสนออันดับของเนื้อหาสัมพันธ์กับอันดับของความมุ่งหมายบางข้อ เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ในหนังสือทั้ง 19 เล่ม ปรากฏว่าเนื้อหาที่ได้รับความสำคัญเป็นอันดับที่ 1 คือเนื้อหาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ซึ่งคิดเป็นเนื้อหาถึง 45.51% แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาสาระโดยละเอียดตามเกณฑ์ทั้ง 36 ข้อ พบว่าหนังสือเหล่านี้ได้เน้นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ต่างประเทศเป็นอันดับ 1 โดยเสนอเนื้อหาเรื่องนี้ไว้ถึง 16.32% ของเนื้อหาวิชาสังคมศึกษาทั้งหมด การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ความมุ่งหมายและเนื้อหาวิชาของหมวดวิชาสังคมศึกษา ของหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไม่มีความสอดคล้องกันเลย ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาหลักสูตรมัธยมศึกษา จึงควรทำการวิเคราะห์ความมุ่งหมายของหลักสูตรทั้งในเรื่องเกี่ยวกับการจัดอันดับความสำคัญและการกำหนดความมุ่งหมายให้ชัดเจนในรูปของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา การเรียนการสอนและการเรียบเรียงหรือปรับปรุงแบบเรียนให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ ผู้แต่งหนังสือเรียนสังคมศึกษาทั้ง 19 เล่ม ควรจะได้ปรับปรุงการเสนอเนื้อหาในหนังสือของตนให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของหลักสูตร นอกจากนี้ควรจะมีผู้ศึกษาวิจัยความสอดคล้องระหว่างความมุ่งหมายกับเนื้อหาวิชาต่างๆในระดับชั้นอื่นๆอีกด้วย-
dc.description.abstractalternativeTo analyze the relevancy between the objectives and the content in the social studies program of the lower comprehensive school curriculum. Research Procedures In pursuing this content analysis, it was necessary first to set criteria for evaluation. The criteria were determined from an interpretative analysis of the objectives in the social studies program of the lower comprehensive school curriculum. The interpretation of the objectives was accomplished by the researcher herself and nine graduate students of Department of Educational Administration. Then, it was examined by three specialists who are qualified in the areas of curriculum development, curriculum evaluation, and social studies teaching. Next, the interpretation of the objectives was used as a source for questionnaire con¬struction. After the questionnaire was complete, thirty-one qualified educators were asked to rank the significance of each content item. Finally, all of the content items ware ranked again by the use of means and classified into six categories according to the six objectives. The value of the Product-moment Correlation Coefficient was between 0.47123 and 0.70283 at a five per cent level of significance. All of the nineteen social studies textbooks were examined and their content was analyzed. The number of pages and lines con-taining content relevant to the objectives were recorded as the researcher went through each textbook. The total amount of relevant content was computed in percentage, and the rank-order coefficient of the content was arranged in accordance with the one of the objectives. Research Results It was found out that only three out of the nineteen textbooks examined presented relevant content to all of the six objectives in the social studies program. Four presented content rele¬vant to only five objectives, nine presented content relevant only four objectives, two presented content relevant to three objectives, and one only to two objectives. In conclusion, the content appeared in all of textbook used in the social studies program was insufficiently relevant to the objectives. Although some' of the textbooks presented the rank-order of the content in accordance with the rank-order of some objectives, none of them contained the content correlating to all objectives at the five per cent level of significance. Considering all of the content presented in the nineteen textbooks 1 it revealed that the content most significantly empha¬sized was the content about historical concerns. In terms of percentage, it was as much as 45.51. But when the content was considered according to the thirty-six items, it was found that these textbooks emphasized the content concerning foreign history the most, amounting to 16.32 per cent of the content in the social studies program. The objectives and the content in the social studies program were found to be minimally relevant to each other. Those who are responsible in the development of the secondary education curriculum should analyze and rank the objectives, and if possible transform them into behavioral terms. This will be helpful to the selection of relevant content to be presented in social studies textbooks. The writers of the nineteen textbooks examined in this study should revise their textbooks and present more relevant content to the ob¬jectives of the curriculum. Further study should be conducted to examine the relevancy between content and objectives in other subjects at other grade levels.-
dc.format.extent714028 bytes-
dc.format.extent837928 bytes-
dc.format.extent1709236 bytes-
dc.format.extent1558177 bytes-
dc.format.extent2678209 bytes-
dc.format.extent1249700 bytes-
dc.format.extent2676607 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสังคมศาสตร์ -- หลักสูตร-
dc.subjectสังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน-
dc.titleความสอดคล้องระหว่างความมุ่งหมายกับเนื้อหาวิชาในหมวดสังคมศึกษา ของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมแบบประสมen
dc.title.alternativeRelevancy of objectives and content in the social studies program of the lower comprehensive school curriculumen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rajit_Ch_front.pdf697.29 kBAdobe PDFView/Open
Rajit_Ch_ch1.pdf818.29 kBAdobe PDFView/Open
Rajit_Ch_ch2.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Rajit_Ch_ch3.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Rajit_Ch_ch4.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Rajit_Ch_ch5.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Rajit_Ch_back.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.