Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23707
Title: การประเมินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอน ของครูประถมศึกษา : การฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออก
Other Titles: A project evaluation of improvement of teaching efficiency of primary school teachers : pilot training organized in the Eastern region
Authors: มานพ กมลนาวิน
Advisors: สุมน อมรวิวัฒน์
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
Subjects: โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา
ครูประถมศึกษา -- การฝึกอบรม
การฝึกอบรม
Elementary school teachers -- Training
Training
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อประเมินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา โดยศึกษาเฉพาะกรณีการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออก สำหรับวัตถุประสงค์ของการประเมิน มีดังนี้คือ 1. เพื่อประเมินกระบวนการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครูประถมศึกษาในโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา 2. เพื่อประเมินพฤติกรรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ในขณะฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออก 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการฝึกอบรม ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออก 4. เพื่อประเมินความเชื่อเกี่ยวกับแนวพัฒนาการเรียนการสอนของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออก 5. เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออก 6. เพื่อติดตามประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออกในด้านการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ศึกษาสภาพการสนับสนุนส่งเสริมและอุปสรรคจากการฝึกอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออกด้วย กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่อง จำนวน 98 คน และนักเรียนจำนวน 60 คน ในกลุ่มโรงเรียนบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี วิธีการประเมินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา ซึ่งศึกษาเฉพาะการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออก มีดังนี้คือ 1. วิเคราะห์กระบวนการ พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม โดยกำหนดเกณฑ์ไว้ว่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตรการฝึกอบรมมีความสอดคล้องกับความจำเป็นในการฝึกอบรมทุกประการ และการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออกมีกระบวนการจัดเตรียมการฝึกอบรมครบถ้วนตามกระบวนการฝึกอบรมเป็นสากล 2. สังเกตพฤติกรรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออก ในขณะฝึกอบรม โดยกำหนดเกณฑ์ไว้ว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมทุกกิจกรรมของการฝึกอบรม ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ 3. สอบถามความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออกที่มีต่อการฝึกอบรม โดยกำหนดเกณฑ์ไว้ว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอย่างต่ำ 75% มีความพึงพอใจที่ดีต่อการฝึกอบรมในแต่ละข้อของแบบสอบถาม 4. วัดความเชื่อเกี่ยวกับแนวพัฒนาการเรียนการสอนและหลังการฝึกอบรม โดยกำหนดเกณฑ์ไว้ว่า ค่าเฉลี่ยของการวัดความเชื่อหลังการฝึกอบรมมากกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม โดยกำหนดเกณฑ์ไว้ว่าค่าเฉลี่ยของการทดสอบหลังการฝึกอบรมมากกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมากกว่ากันอย่างต่ำ 15% ของคะแนนเต็ม 6. สอบถามครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สังเกตการณ์จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูจำนวน 12 คน และสัมภาษณ์นักเรียนจำนวน 60 คน เกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน หลังจากที่ครูผ่านการฝึกอบรมไปแล้วเป็นเวลา 1 เดือน โดยกำหนดเกณฑ์ไว้ว่า ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์อย่างน้อย 80% ของกิจกรรมที่ระบุในโครงการฝึกอบรม 7. สอบถามครูเกี่ยวกับสภาพการสนับสนุนส่งเสริมและอุปสรรคต่อการนำความรู้จากการฝึกอบรมไปใช้ ในการปฏิบัติงานของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องภาคตะวันออก ผลการประเมินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา ซึ่งศึกษาเฉพาะการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออกมีดังนี้คือ 1. วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมสอดคล้องกับความจำเป็นในการฝึกอบรมทุกประการ และมีกระบวนการจัดเตรียมการฝึกอบรมครบถ้วนตามระบบการฝึกอบรมที่เป็นสากล ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออก มีส่วนร่วมในกิจกรรมการฝึกอบรมทุกกิจกรรมโดยเฉลี่ย 95.41% ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออกมีความพึงพอใจที่ดีต่อการฝึกอบรม 24 ข้อในจำนวนที่กำหนด 28 ข้อซึ่งยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 4. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออกมีความเชื่อเกี่ยวกับแนวพัฒนาการเรียนการสอนหลังการฝึกอบรมมากกว่าก่อนการฝึกอบรม5. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออกมีความรู้หลังการฝึกอบรมมากกว่าก่อนการฝึกอบรม เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แต่คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นไม่ถึง 15% 6. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออก จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมตั้งแต่ 81.25% ถึง 96.62% ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้สำหรับผลการศึกษาสภาพการสนับสนุนส่งเสริมและอุปสรรค ต่อการนำความรู้จากการฝึกอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำร่องในภาคตะวันออก พบว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนการสอนไปในทางที่ดีขึ้นอยู่ในระดับมาก ส่วนการได้รับการนิเทศการเรียนการสอนการสนับสนุนทางด้านวิชาการ การบำรุงขวัญและกำลังใจและการประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอนของครู พบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางและผู้เข้ารับการฝึกอบรมส่วนใหญ่เห็นว่า การจัดอัตราเวลาสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง
Other Abstract: To evaluate the project of improvement of the primary school teachers' teaching efficiency in a pilot training in the eastern region. Its specific purposes were as follows: 1. To evaluate the process of curriculum development of the training. 2. To evaluate the participants' behaviors the training 3. To evaluate the participants' satisfaction of the training. 4. To evaluate the participants' beliefs in ways of developing their teaching-learning process. 5. To evaluate the participants achievment from training; 6. To follow-up the participants' achievement and implementation in their duties. 7. To study the administrative support and problems that affected the implementation of the participants1 gained experience from the training.In the study, 98 primary school teachers and 60 students from the schools, in Bangpra school cluster Amphur Sriracha, Cholburi Province, were used as the samples. The steps in the evaluation were as follows :1. To analyze the curriculum development process of the training. It was assigned, as the criteria, that the objective had to correspond to the actu.al needs of the participants, and that training process covered all universal components. 2. To observe-the participants behaviors at the training sessions. It was assigned that they all participated every activity in the trainings. 3. To survey the participants' about their satisfaction of the training. It was set of that at least 75 percent of the-'participants satisfied the program in each aspect asked in the questionnaire. 4. To evaluate the participants' beliefs in way of how to improve learning and teaching both before and after training session. The statistical significant higher at .05 of the post-test mean over the pre-test one was accepted as the criteria. 5. To evaluate the participants gained knowledge. The minimum superiority of the post-test mean over the pre-test mean 15 percent of the score with statistical significant at .05 was accepted a6 the criteria.6. To observe and survey the teaching-learning behaviors of the participants one month after training and to interview 60 students concerning teaching activities organized by their teachers. It was expected that at least 80 percent of the activities in the training should be implemented in their schools. 7. To survey the participants' opinions about the administrative support and problems in implementation of their gained experiences from the training. Finding: 1. All objectives of the training project corresponded to the participant’s need. 2. About 95.41 percents of the participants participated completely in all activities in the training. This was were not being: un to expected criteria. 3. The participants were satisfied with the training process in 2k items from all 28 items. This was not being up to expected criteria. 4. The participants had more faith in ways of developing teaching process. 5. The participants' scores from pre-test and post-test were higher, but on average its increasing was less than 15 percents. 6. About 81.25-96.62 percent of the activities in the training were implemented in the participants' school. Moreover, it was found that the participants' behaviors has changed in a very positive way. They all had academic and moral supports moderately, and they accepted that their teaching loads were moderately appropriate.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23707
ISBN: 9745663557
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manop_Ka_front.pdf638.63 kBAdobe PDFView/Open
Manop_Ka_ch1.pdf800.36 kBAdobe PDFView/Open
Manop_Ka_ch2.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Manop_Ka_ch3.pdf859.15 kBAdobe PDFView/Open
Manop_Ka_ch4.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
Manop_Ka_ch5.pdf882.86 kBAdobe PDFView/Open
Manop_Ka_back.pdf1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.