Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2374
Title: การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สอยและทัศนะคติของผู้อยู่อาศัย ต่อพื้นที่นันทนาการของโครงการอาคารชุดศุภาลัย ปาร์ค และโครงการฟลอราวิลล์ กรุงเทพฯ
Other Titles: A comparative study on residents' behaviors and attitudes on recreation areas of Supalai Park and the Floraville Condominium, Bangkok
Authors: สุริยา หาญพานิช, 2516-
Advisors: มานพ พงศทัต
ประทีป ตั้งมติธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: สถาปัตยกรรมกับนันทนาการ
อาคารชุด
สถานพักผ่อนหย่อนใจ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พื้นที่นันทนาการกับที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรในชุมชนนั้นๆ โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดขนาดใหญ่ ที่ผู้ประกอบการได้มีการจัดเตรียมพื้นที่นันทนาการต่างๆไว้มากมาย การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองการใช้งานในแต่ละพื้นที่นันทนาการที่โครงการได้จัดเตรียมไว้ รวมถึงพฤติกรรมและทัศนคติของผู้อยู่อาศัย โดยวิธีการสำรวจ สังเกต และเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม จำนวน 218 ชุด และ 93 ชุด จาก 2 โครงการกรณีศึกษา คือ โครงการศุภาลัย ปาร์ค และ โครงการฟลอร่าวิลล์ ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง2โครงการมีลักษณะกลุ่มประชากรส่วนใหญ่คล้ายกันคือ อายุ16-25ปี, รายได้ไม่เกิน 25,000 บาท/เดือน, การศึกษาปริญญาตรี, อาชีพ นักศึกษา-แม่บ้าน จึงทำให้มีพฤติกรรมนันทนาการบางอย่างคล้ายกัน เช่น ชอบทำกิจกรรมนันทนาการแบบที่ไม่ต้องออกกำลังกาย(Passive)มากกว่าแบบที่ต้องออกกำลังกาย (Active)เป็นสัดส่วนเฉลี่ย 54.7% ต่อ45.3% ส่วนประเภทการออกกำลังกายที่ชอบ2อันดับแรก คือ ว่ายน้ำและฟิตเนส ตามลำดับ ซึ่งตรงกับการตอบสนองการใช้งานพื้นที่นันทนาการในโครงการของผู้อยู่อาศัยที่มากที่สุดคือ สระว่ายน้ำและห้องฟิตเนส ตามลำดับเช่นกัน แต่ลักษณะของชุมชนทั้ง2โครงการมีความแตกต่างกันเนื่องจากรูปแบบห้องชุดที่ต่างกัน คือโครงการศุภาลัยปาร์คมีห้องชุดแบบสตูดิโอมากที่สุด (39.9%) ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวขนาดเล็กอยู่กัน1-3คนในขณะที่โครงการฟลอร่าวิลล์เป็นแบบ2ห้องนอนมากที่สุด (46.2%) เป็นครอบครัวใหญ่ประกอบด้วยพ่อ แม่ พี่น้อง ทำให้มีความเป็นสังคมชุมชนมากกว่าโดยดูจากมีการทำกิจกรรมนันทนาการกับเพื่อนในโครงการมากกว่ากลุ่มตัวอย่างของโครงการศุภาลัยปาร์ค ที่ทำกิจกรรมกับเพื่อนนอกโครงการมากกว่า พฤติกรรมการใช้สอยพื้นที่นันทนาการในโครงการมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านต่างๆ คือ 1) ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่นันทนาการ เช่นโครงการศุภาลัย ปาร์ค มีการใช้สอยพื้นที่Lobby ความถี่ มากเป็นอันดับ1 เพราะมีการเปิดโล่ง ใกล้ชิดสวนและต้นไม้ลักษณะเปรียบเสมือนเฉลียงหรือชานบ้านที่ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น นั่งเล่น อ่านหนังสือ เลี้ยงลูก เป็นต้น ส่วนโครงการฟลอร่าวิลล์มีการใช้สอยพื้นที่ลานรอบสระ ความถี่ มากเป็นอันดับ1 (สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นสมาชิกสโมสรกีฬา)เพราะมีต้นไม้ร่มรื่นล้อมรอบสระว่ายน้ำขนาดใหญ่และมีม้านั่งจำนวนมาก 2).ลักษณะสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ได้แก่ อายุ กลุ่มอายุ 16-25 ปี (วัยรุ่น) มีการใช้พื้นที่นันทนาการในโครงการมากกว่ากลุ่มอายุที่สูงกว่าโดยใช้พื้นที่สระว่ายน้ำ ห้องฟิตเนส ลานรอบสระ มากที่สุด ตามลำดับ รายได้ กลุ่มผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้น้อย มีการใช้พื้นที่นันทนาการในโครงการมากกว่ากลุ่มที่มีรายได้มาก เนื่องจากมีข้อจำกัดในการใช้จ่ายกับการนันทนาการภายนอกโครงการ 3).การบริหาร/จัดการ เช่น มีการใช้ห้องฟิตเนส ความถี่ มากเป็นอันดับ 1 สำหรับกลุ่มผู้อยู่อาศัยที่เป็นสมาชิกสโมสรกีฬา เพราะมีอุปกรณ์ เครื่องเล่นที่ดี ทันสมัย ติดแอร์และมีครูฝึกคอยแนะนำ ดูแลอยู่เสมอ และพื้นที่ที่มีการตอบสนองการใช้งานน้อยที่สุด ทั้ง 2 โครงการคือ ห้องเกมส์ เนื่องจากมิได้มีอุปกรณ์ เครื่องเล่นที่จัดเตรียมไว้อย่างชัดเจน และมิได้มีการเปิดแอร์ เป็นต้น ทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อพื้นที่นันทนาการ ทั้ง 2 โครงการมีความเห็นคล้ายกันคือ เห็นว่าพื้นที่นันทนาการที่สำคัญมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ สระว่ายน้ำ ห้องฟิตเนส ลานรอบสระ สวนชั้นล่าง และ Lobby ซึ่งตรงกับการตอบสนองการใช้งานของผู้อยู่อาศัยมากที่สุดด้วยเช่นกัน ส่วนพื้นที่ที่ควรมีเพิ่มมากที่สุดทั้ง 2 โครงการเห็นตรงกันคือ ห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดทำโครงการอาคารชุดพักอาศัยจึงควรคำนึงถึงพื้นที่และปัจจัยดังกล่าวเพิ่มขึ้นเพื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้อยู่อาศัยและคุ้มค่าการลงทุนในพื้นที่ส่วนกลางซึ่งสามารถทำให้ผู้อยู่เกิดความพึงพอใจสูงสุดและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
Other Abstract: A recreation area is inevitably related to a residence and is essential in promoting the residents' quality of life ,especially in large high rise buildings where the investors provide for various recreational activities. This research is aimed at studying residents' behavior and attitudes to the recreation area. The data were collected from observation and questionnaires. Subjects were 218, and 93 residents in Supalai Park and Floraville condominiums, respectively. The results show that the residents of both condominiums shared similar characteristics.They were 16-25 years of age, earned a maximum monthly income of 25,000 baht, held a bachelor degree, and were mostly students or housewifes.They had similar behavior such as "passive" recreational activities rather than "active" ones.(54.7%:45.3%) The two most popular activities were swimming and fitness in provided facilities, respectively. Since there is a differentiation in the characteristic of two residential unit types that Supalai Park contained more"studio suites" than other types of units (39.9%), and the residents were 1-3 members of nuclear families while the Floraville contained mostly "two bedroom" units type (46.2%), were larger families with parents and childrens, it was more a community-like society at the Floraville where residents tend have more recreational activities associated within the neighborhood while the residents in Supalai Park tend to have more activities with their outside friends. The use of the recreational area was found to be related to the other aspects as follows: 1) The physical characteristics.The "lobby" at Supalai Park was used the most because it was an open space close to the garden where residents could relax, do child care activities or read. At Floraville, the area most used was "around the pool" (for non- sport club members) as there were many benches provided around the shady pool with many trees 2) The socio-economic factor.The residents aged between 16-25 used the area more than older residents. Sites frequently used were the pool, the fitness room, the poolside area, respectively. High income earners used the area less than low income earners. 3) Management. Members of the sport club used the fitness room most because it was equipped with qualify, up-to-date equipment, air-conditioned,and had trainers. The area used least at both condominiums was their games room because neither were well-equipped nor had the air conditioner switched on. Residents in both residences had similar opinions that five most important recreational facilities,which were a swimming pool, fitness room, pool side area, garden ,and lobby, respectively.Another facility that was suggested was an effective library.Therefore,when planning a condominium project,all these aspects should be considered so residents gain maximum benefit from the common areas which will mean as well great satisfaction good life quality.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2374
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.511
ISBN: 9745310069
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.511
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suriya.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.