Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23776
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมิตรา อังวัฒนกุล-
dc.contributor.authorทวานิต ธุถาวร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-12T02:25:14Z-
dc.date.available2012-11-12T02:25:14Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745664545-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23776-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของการสอนภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษา ตั้งแต่หลักสูตร พ.ศ. 2438 ซึ่งเป็นหลักสูตรฉบับแรก จนถึงหลักสูตร พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นหลักสูตรฉบับปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและตำราต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการสอนภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาแล้วนำเสนอผลการวิจัยในรูปของความเรียง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ในด้านหลักสูตร มีหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาและเทียบเท่าประกาศใช้ทั้งสิ้น 15 ฉบับ เป็นหลักสูตรช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 7 ฉบับ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 6 ฉบับ และที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 2 ฉบับ หลักสูตรฉบับที่ใช้นานที่สุดคือ หลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2503 ซึ่งใช้นานถึง 17 ปี หลักสูตรกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับเรียน ตั้งแต่หลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2438 จนถึงหลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2503 แต่หลังจากหลักสูตรฉบับ พ.ศ.2518 จนถึงปัจจุบัน ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นวิชาเลือก 2. ในด้านความมุ่งหมาย หลักสูตรในระยะแรกยังไม่กำหนดความมุ่งหมายไว้ หลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2454 เป็นหลักสูตรฉบับแรกที่กำหนดความมุ่งหมายไว้ว่า ให้เรียนภาษาอังกฤษเพื่อใช้เป็นประโยชน์ได้บ้าง และให้เป็นหนทางสำหรับเรียนในชั้นต่อไป และได้ใช้ความมุ่งหมายในลักษณะเดียวกันนี้เรื่อยมาจนถึงหลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2503 จึงได้กำหนดความมุ่งหมายให้เน้นการเรียนทักษะทั้ง 4 และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา สำหรับหลักสูตรในปัจจุบันได้กำหนดความมุ่งหมายให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งได้กำหนดความมุ่งหมายเฉพาะซึ่งเรียกว่า จุดประสงค์การเรียนรู้ของแต่ละรายวิชาไว้ด้วย 3. ในด้านเนื้อหาวิชา ทั้งในช่วงก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื้อหาวิชาส่วนใหญ่จะเน้นด้าน อ่าน เขียน พูด แต่ง แปล ย่อความ และไวยากรณ์ โดยแยกเนื้อหาวิชาแต่ละด้านออกจากกันไม่ได้นำมาสอนแบบทักษสัมพันธ์ในแต่ละชั่วโมง จนกระทั่งถึงหลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2503 เนื้อหาวิชาเน้นทักษสัมพันธ์ครบทั้ง 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน รวมทั้งมีเนื้อหาทางไวยากรณ์และวัฒนธรรมด้วย สำหรับหลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2518 จนถึงหลักสูตรฉบับปัจจุบันแบ่งเนื้อหาออกเป็นรายวิชาย่อยๆ โดยบางรายวิชา ก็เน้นทักษะเฉพาะด้าน และบางรายวิชาก็เน้นทักษสัมพันธ์รวมทุกทักษะ 4. ในด้านเวลาเรียน ช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลักสูตรทุกฉบับให้ความสำคัญต่อการเรียนภาษาอังกฤษมากที่สุด โดยกำหนดเวลาเรียนไว้มากกว่าวิชาอื่นๆ ที่มีอยู่ในหลักสูตร ยกเว้นหลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2456 และ 2464 ที่กำหนดเวลาเรียนรวมกับวิชาอื่น ทำให้เวลาเรียนของภาษาอังกฤษยืดหยุ่นได้ จะสอนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละโรงเรียน ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองหลักสูตรทุกฉบับยังคงกำหนดเวลาเรียนภาษาอังกฤษไว้มากกว่าวิชาอื่นๆ ยกเว้นหลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2480 เพียงฉบับเดียวที่กำหนดเวลาเรียนไว้เป็นอันดับสองรองจากวิชาภาษาไทย และตั้งแต่หลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการกำหนดเวลาเรียนเป็นรายคาบ คาบละ 50 นาที จะเรียนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนของรายวิชาที่เลือกเรียน 5. ในด้านวิธีสอนและสื่อการสอน ช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใช้วิธีสอนอยู่เพียงวิธีเดียวคือ วิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปล สื่อการสอนที่ใช้คือ กระดานดำแบบเรียน และพจนานุกรม 2 ภาษา ส่วนช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใช้วิธีสอนแบบตรง และกำหนดให้ใช้สื่อการสอนประเภทของจริงและรูปภาพ จนกระทั่งหลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2503 จึงใช้วิธีสอนแบบฟัง-พูด มีการใช้สื่อการสอนประเภทโสตทัศนอุปกรณ์มากขึ้น สำหรับวิธีการสอนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีวิธีสอนหลายวิธี เช่น วิธีการสอนแบบเอกัตภาพ แนวการสอนแบบความรู้ความเข้าใจ แนวการสอนเพื่อการสื่อสาร วิธีสอนแบบผสมผสาน เป็นต้น แต่วิธีสอนที่กำลังเป็นที่นิยมและแพร่หลายมากที่สุดคือ แนวการสอนเพื่อการสื่อสาร เพราะเป็นวิธีสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตรมากที่สุด และมีการใช้สื่อการสอนประเภทอิเลคโทรนิคกันอย่างแพร่หลายรวมทั้งใช้กิจกรรมต่างๆ ในการเรียนการสอนด้วย เพราะสื่อการสอนและกิจกรรมต่างๆ มีบทบาทมากที่สุดที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันมากขึ้น 6. ในด้านแบบเรียน ทั้งช่วงก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แบบเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนกลาง ส่วนใหญ่จะพิมพ์ขึ้นในประเทศไทยและเป็นแบบเรียนที่คนไทยและเจ้าของภาษาแต่งขึ้นเพื่อให้เด็กนักเรียนไทยเรียนโดยเฉพาะ แต่แบบเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเตรียมอุดมศึกษา จะเป็นแบบเรียนที่สั่งมาจากต่างประเทศและเจ้าของภาษาเป็นผู้แต่งขึ้นทั้งสิ้น ในปัจจุบันแบบเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นแบบเรียนที่จัดทำขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการและเป็นของเอกชนที่เจ้าของภาษาแต่งขึ้น แต่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแบบเรียนส่วนใหญ่จะเป็นของเอกชนที่เจ้าของภาษาแต่งขึ้นและพิมพ์ในประเทศไทย 7. ในด้านการวัดและประเมินผล เมื่อเริ่มมีหลักสูตร กรมศึกษาธิการเป็นผู้สอบเองทุกระดับชั้น คิดคะแนนเป็นรายบุคคล จนกระทั่งหลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2456 เป็นต้นมากระทรวงธรรมการเริ่มกระจายอำนาจสู่โรงเรียนและครูผู้สอนโดยให้วัดและประเมินผลเองทุกระดับชั้น ยกเว้นชั้นมัธยมศึกษาปี 3, 6 และ 8 ที่กระทรวงยังคงเป็นผู้จัดสอบอยู่ และเริ่มคิดคะแนนเป็นร้อยละตั้งแต่หลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2456 เป็นต้นมา ข้อสอบในช่วงนี้มีลักษณะเป็นแบบอัตนัยให้เขียนตอบ วัดความรู้ความจำตามเนื้อหาที่เรียนมา ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองยังคงใช้วิธีวัดและประเมินผลเหมือนเดิม จนกระทั่งถึงหลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2503 มีการเปลี่ยนแปลงโดยให้วัดและประเมินผลจากคะแนนงานระหว่างปีรวมกับคะแนนปลายปีด้วย กระทรวงเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบเฉพาะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ส่วนระดับชั้นอื่นๆนั้นโรงเรียนดำเนินการสอบเอง ข้อสอบมีลักษณะเป็นแบบปรนัยให้เลือกตอบและถูก-ผิดวัดความรู้ความจำ และยังคงคิดคะแนนเป็นร้อยละ และตั้งแต่หลักสูตรฉบับ พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบันให้วัดและประเมินผลเป็นรายวิชา อำนาจการวัดและประเมินผลทุกระดับชั้นเป็นของโรงเรียนและครูผู้สอน โดยวัดและประเมินผลในรูปของระดับคะแนน ข้อสอบเป็นแบบปรนัยให้เลือกตอบวัดความรู้ความเข้าใจและการนำไปใช้
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the development of English language teaching at the secondary education level from the first curriculum in B.E. 2438 to the present curriculum in B.E.2524. This research was undertaken by means of the historical method, which included the collection of data from various documents and textbooks of English curriculum and English language teaching at the secondary education level. The result of the study was then presented in the descriptive form. The major results of the study were as follows: 1. About the curricula, 15 curricula at the secondary education and equivalent level were implemented. 7 curricula were used before the revolution, 6 curricula were used after the revolution, and 2 curricula are used at the present time. The B.E. 2503 curriculum was the most long lasting curriculum which was used for 17 years. English was the compulsory subject in every curriculum from the B.E. 2438 to the B.E. 2503 curricula, but after the B.E. 2518 curriculum until the present curricula, English became the optional subject. 2. About the objectives, the initial curricula did not state their objectives. The B.E. 2454 curriculum was the first to state its objectives that enabled the students to use English for ordinary purposes, and as a preparation for an advanced course. The objectives like these stated in the curricula until the B.E. 2503 curriculum which its objectives had been changed to emphasize the four skills and the culture of the native speakers of English. The present curricula's objectives enable the students to use English for daily communication in real life. The specific objectives which are called learning objectives for each subject course have also been stated. 3. About the contents, both before and after the revolution, the contents emphasized reading, writing, speaking, composition, translation, précis and grammar. The contents were separated in each skill, without integrating them in each teaching hour. Until the B.E. 2503 curriculum, the emphasis was on the integrated skills. From the B.E. 2518 curriculum to the present curricula, the contents were separated into various subject courses. Some subject courses put emphasis on specific skills and some put emphasis on integrated skills. 4. About the time of English instruction, before the revolution, all curricula provided English for the most important subject by fixing the numbers of hours more than any other subjects, except for the B.E. 2456 and the B.E. 2464 curricula that fixed the time of English instruction with another language subject. This made the time of English instruction flexible depended on the ability of each school. After the revolution, all curricula still fixed the numbers of hours for English instruction more than any other subjects, except for the B.E. 2480 curriculum that fixed the time of English instruction less than the time of Thai instruction. From the B.E. 2518 curriculum to the present curricula, the time of English instruction was fixed in period, each period was equal 50 minutes. The numbers of periods of English instruction depended on the numbers of subject courses which the students selected. 5. About the methods of teaching and instructional aids, grammar translation method was the only one method of teaching that was used before the revolution. The essential instructional aids were blackboards, textbooks and bilingual dictionaries. After the revolution, the method of teaching was direct method and the fixed instructional aids were real objects and pictures. Since the B.E. 2503 curriculum, the method of teaching changed from direct method to audio-lingual method and the instructional aids were widespread in various kinds of audio-visual aids. At present, there are a lot of methods of teaching which are now being used such as individualized instruction, cognitive code approach, communicative approach, and eclectic method. However communicative approach is famous and widely used because it fits the objectives of the present curricula the most. The electronic instructional aids and activities are also used in language teaching and learning procedures, because they very much help the students to practise using English in their daily lives. 6. About the textbooks, both before and after the revolution, most textbooks in the lower and intermediate secondary education levels were printed in Thailand and they were written by Thai writers or native speakers of English. But all textbooks in the upper secondary education or pre-university level were written by the native speakers of English and were imported from foreign countries. Nowadays, some textbooks in the lower secondary education level are published by the Ministry of Education and some are published by private publishers and these textbooks are written by the native speakers of English. But most textbooks in the upper secondary education level are written by the native speakers of English and published in Thailand by private publishers. There are very few textbooks at this level which are published by the Ministry of Education. 7. About the evaluation, during the initial curricula, the evaluation of every secondary education level was entirely done by the Department of Education. The evaluation was presented in the form of individual marks. After the B.E. 2456 curriculum the Ministry of Education decentralized the evaluation authority to schools. And teachers by letting them evaluate the students at every level by themselves, except for mathayom suksa 3, 6 and 8 which the evaluation was in the authority of the Ministry of Education. The evaluation was presented in the form of percentage. The characteristic of the tests was the Subjective Test which needed written answers and aimed at evaluating the knowledge and memorization of the students. The evaluation procedures remained the same until the B.E. 2503 curriculum. Then it was changed to the evaluation by marks collected between the year and at the end of the year. The schools evaluated the students at every level by themselves, except for mathayom suksa 5 which was still evaluated by the administration of the Ministry of Education. The characteristic of the tests was the Objective Test like multiple choices or true-false type which still aimed at evaluating the knowledge and memorization of the students. The evaluation was still presented in the form of percentage. After the B.E. 2518 to present curricula, the evaluation was done for each subject course. The schools and the teachers evaluated the students at every level by themselves and the evaluation is now presented in the form of grades. The characteristic of the tests is the Objective Test like multiple choices which aims at evaluating the knowledge, comprehension and application of the students
dc.format.extent899485 bytes-
dc.format.extent575573 bytes-
dc.format.extent2735814 bytes-
dc.format.extent3815710 bytes-
dc.format.extent5216961 bytes-
dc.format.extent3012679 bytes-
dc.format.extent1391880 bytes-
dc.format.extent3181700 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- หลักสูตร
dc.titleพัฒนาการของการสอนภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาen
dc.title.alternativeDevelopment of English language teaching at the secondary education levelen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thawanit_Tu_front.pdf878.4 kBAdobe PDFView/Open
Thawanit_Tu_ch1.pdf562.08 kBAdobe PDFView/Open
Thawanit_Tu_ch2.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open
Thawanit_Tu_ch3.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open
Thawanit_Tu_ch4.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open
Thawanit_Tu_ch5.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open
Thawanit_Tu_ch6.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Thawanit_Tu_back.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.