Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/239
Title: ผลกระทบทางประชากรของโรคเอดส์ในประเทศไทย
Other Titles: Demographic impact of the HIV/AIDS epidemic in Thailand : mathematical and statistical projections
Authors: เกื้อ วงศ์บุญสิน
สุชาดา กีระนันทน์
สุวาณี สุรเสียงสังข์
Van Grlensven, Godfried J. P.
Garnett, Geoffrey P.
Anderson, Roy M.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสถิติ
Center for AIDS Research and Prevention, Utrecht University, Utrecht, Division of Public Health, Municipal Health Service, Amsterdam, The Netherlands
Welcome Research Centre for Infectious Disease Epidemiology, Oxford University, United Kingdom
Email: kua.w@chula.ac.th
suchada.ki@chula.ac.th
fcomssr@acc.chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันประชากรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสถิติ
Subjects: โรคเอดส์--แง่ประชากร--ไทย
เอชไอวี (ไวรัส)--แง่ประชากร--ไทย
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ใช้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นตัวแบบเชิงกำหนดที่แบ่งกลุ่มประชากรออกเป็นกลุ่มที่มีลักษณะและพฤติกรรมในลักษณะต่าง ๆ กัน โดยพารามิเตอร์ในตัวแบบเป็นพารามิเตอร์ด้านประชากร ด้านชีววิทยา และด้านพฤติกรรม เพื่อศึกษาผลกระทบของ HIV/AIDS ที่มีต่อประชากรทั้งในประเทศและภาคเหนือของประเทศไทย ด้วยการประมาณจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์แยกตามเพศและกลุ่มอายุ เพื่อประมาณผลกระทบที่มีต่อลักษณะของประชากรในด้านการเปลี่ยนแปลงประชากรทั้งอัตราเพิ่มต่อปี อัตราส่วนการเป็นภาระ และจำนวนประชากรรวมและรายกลุ่มอายุ การกำหนดค่าพารามิเตอร์ในตัวแบบอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ รวมทั้งการคาดการของผู้วิจัยที่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบความเหมาสะมโดยเทียบกับข้อมูลอัตราความชุกการติตเชื้อของทหารเกณฑ์และหญิงที่ฝากครรภ์ที่สถานผดุงครรภ์ของรัฐ สำหรับในระดับประเทศนั้น การระบาดของ HIV/AIDS จะทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมถึงปี 2000 มากกว่า 1 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากเอดส์รวมกันมากกว่า 5 แสน 5 หมื่นคน เมื่อนับถึงปี 2000 และจะเป็นจำนวนรวมมากกว่า 1 ล้านคน เมื่อนับถึงปี 2014 ประชากรในปี 2000 จะลดลงจากกรณีไม่มีการระบาดของ HIV/AIDS ตั้งแต่ปี 1991 โดยอัตราเพิ่มประชากรลดลงจากการกรณ๊ไม่มีการระบาด 0.026% ต่อปีในปี 1991 0.12% ต่อปีในช่วงปี 1995-2000 0.06% ต่อปีในปี 2005 และไม่แตกต่างกันในปี 2014 นอกจากนี้การระบาดของ HIV/AIDS จะมีผลต่อจำนวนประชากรในกลุ่มอายุต่าง ๆ อย่างไม่เท่าเทียมกัน ในปี 1994 การรระบาดจะแสดงผลในประชากรกลุ่มอายุ 19-35 ปีเป็นหลัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะกระทบต่อกลุ่มอายุเป็นสองช่วงคือ กลุ่มอายุที่น้อยกว่า และกลุ่มอายุสูงกว่าเนื่องจากการติดต่อของ HIV/AIDS จากมารดาสู่บุตร และจากผู้ที่อยู่ในกลุ่มอายุที่ถูกกระทบเดิมมีอายุมากขึ้นตามเวลา ประชากรวัยแรงงานลดน้อยลงโดยประชากรชายถูกกระทบมากกว่าหญิง และอัตราส่วนการเป็นภาระจะเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาโดยเพิ่มขึ้น 0.003 ในปี 1994 0.004 ในปี 2004 0.006 ในปี 2014 สำหรับในภาคเหนือ ลักษณะของผลกระทบของ HIV/AIDS ที่มีต่อประชากรจะมีลักษณะที่อยู่ในรูปแบบเดียวกันกับในระดับประเทศ แต่ขนาดของผลกระทบต่อประชากรจะแตกต่างกันโดยค่าอัตราส่วนการเป็นภาระ สัดส่วนประชากรวัยแรงงานที่ลดลงทั้งชายและหญิง สัดส่วนประชากรที่ลดลง และอัตรเพิ่มประชากรต่อปีของภาคเหนือนั้น มีค่าเป็นประมาณเกือบสองเท่าของค่าในระดับประเทศ
Other Abstract: This study assesses the impact of the HIV epidemic on the demographics development of the population through a deterministic mathematical model in which epidemiological and demographic processes are integrated and predicted simultaneously. The model employs partial differential equations expressing the relations between biological, behavioural and demographic variables and allows evaluations of different sexual mixing patterns, transmission probabilities and incubation times, Sensitivity analysis was performed by generating antecedent HIV prevalence patterns among military recruits and pregnant women. At the national level. Cumulative HIV infection exceeds one million by the year 2000. The number of deaths from AIDS totals more than 550,000 by 2000 and will reach one million by 2014. With the HIV epidemic, total population declines by 1% in 2000 and around 1.7 % in 2014. The HIV epidemic starts to affect the population growth rate by 0.026% per year in 1991. The difference increases to approximately 0.12% per year during 1995-2000 but declines to 0.06% in 2005 and disappears by the year 2014. In the mid nineties, HIV mainly affects the 15-39 year age group, but over time younger and older age groups get affected as a result of perinatal transmission and the 15-39 years old cohorts growing older. A decline in the labor force is also observed, with sharper decline in the male labor force, resulting in an increase inn the dependency ratio by 0.003 in 1994, 0.004 in 2004 and 0.006 in 2014. For the Northern region, the demographic impact of HIV/AIDS follows the same pattern as that of the country but with different severity. In terms of demographic characteristics, the decline in population growth rate, the increase in dependency ratio and the decline in proportion of population by age and sex approximately double those of the national figures.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/239
ISBN: 9746370979
Type: Technical Report
Appears in Collections:Pop - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kua_demographic.pdf15.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.