Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24230
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวิมล วัชราภัย | |
dc.contributor.author | วลัยลักษณ์ ชัยบุตร | |
dc.contributor.author | วิจิตร ภักดิรัตน์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-16T02:27:40Z | |
dc.date.available | 2012-11-16T02:27:40Z | |
dc.date.issued | 2529 | |
dc.identifier.isbn | 9746120336 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24230 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้มีดังต่อไปนี้1. เพื่อสำรวจความคิดเห็น ผู้บริหารและบุคลากร มสธ. นักวิชาการศึกษานอก มสธ. และนักศึกษา มสธ. พร้อมทั้งหาความสอดคล้องของความคิดเห็นของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการนำวิทยุสื่อสารสองทางมาใช้กับระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช2. เพื่อเสนอรูปแบบการใช้วิทยุสื่อสารสองทางสำหรับการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วิธีดำเนินการวิจัย เพื่อให้การวิจัยบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การวิจัยในครั้งนี้มีขั้นตอนดังนี้คือ 1. สัมภาษณ์ และขอคำแนะนำจากผู้มีความรู้ และประสบการณ์ในด้านวิทยุสื่อสารสองทางเพื่อไปเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามทั่วไปและแบบสอบถามเทคนิคเดลฟาย 2. สำรวจความคิดเห็นผู้บริหารและบุคลากร มสธ. จำนวน 35 คน นักวิชาการศึกษานอก มสธ. จำนวน 120 คน และนักศึกษามสธ. จำนวน 1182 คน ด้วยแบบสอบถามทั่วไปเกี่ยวกับการนำวิทยุสื่อสารสองทางมาใช้กับการศึกษาทางไกลในประเด็นความเหมาะสมประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอนวิธีประเมินความสำเร็จ แหล่งงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการดำเนินการ ฯลฯ และสำรวจความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ 17 ท่าน เพื่อหาความสอดคล้องของความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามเทคนิคเดลฟายเกี่ยวกับการนำวิทยุสื่อสารสองทางมาใช้กับการศึกษาทางไกลในประเด็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอนความเหมาะสมในการนำมาใช้ ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 3. นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั่วไปมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเทคนิคเดลฟายมาวิเคราะห์ หาค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าผลต่างระหว่างมัธยฐานกับฐานนิยม ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และค่าเฉลี่ย แล้วนำผลสรุปจากแบบสอบถามทั้งสองประเภทดังกล่าวที่อยู่ในเกณฑ์ซึ่งกำหนดไว้ไปเป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบการนำวิทยุสื่อสารสองทางมาใช้กับการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผลการวิจัย 1. จากความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำวิทยุสื่อสารสองทาง มาใช้กับการศึกษาทางไกล ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในการตอบแบบสอบถามทั่วไป พบว่า 1.1 วิทยุสื่อสารสองทางจะอำนวยประโยชน์แก่นักศึกษาคือ ทำให้สะดวกประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อไปรับการสอนเสริม สามารถใช้ในการให้คำปรึกษาและแนวทางการศึกษาในระดับปริญญาโทและแนะแนวทางการศึกษาทั่วๆไป1.2 วิทยุสื่อสารสองทางจะมีประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอน คือโอกาสที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจและตอบคำถามได้ตรงตามความมุ่งหมายมีมากขึ้นส่งเสริมทักษะการพูด เกิดความใกล้ชิดเป็นกันเองระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.3 การเสนอเนื้อหาโดยวิทยุสื่อสารสองทางนั้น ควรเลือกเฉพาะประเด็นที่อาจจะเกิดความสับสนจากเอกสารการสอน 1.4 การประเมินความสำเร็จจาการใช้วิทยุสื่อสารสองทาง ควรดูจากจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมใช้บริการ1.5 แหล่งงบประมาณสำหรับดำเนินการควรเป็นเงินรายได้ของ มสธ.และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ1.6 ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการนำวิทยุสื่อสารสองทางมาใช้ คือระบบและเครื่องมือในการถ่ายทอดสัญญาณคลื่นรวมทั้งวัสดุและอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้มีราคาแพง ขาดผู้มีความรู้ด้านเทคนิค ทัศนคติที่ไม่ดีของผู้บริหาร และการขัดข้องทางเทคนิคในระบบสื่อสารอาจทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่พึงปรารถนาจากผู้เรียน 2. จากความสอดคล้องของความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในการตอบแบบสอบถามเทคนิคเดลฟาย 2.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐานนั้น ระบบวิทยุสื่อสารที่จะนำมาใช้ควรเป็นระบบ ฟูล ดูเพลก และมีห้องเรียนสำหรับคนกลุ่มย่อย ควรจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง งบประมาณควรเป็นเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2.2 ควรจัดระบบการสอนโดยวิทยุสื่อสารสองทางให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดการสอนทางไกล ซึ่งการจัดระบบการสอนควรเป็นไปในลักษณะคลินิกการศึกษา คือให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่นักศึกษากลุ่มย่อยที่ศึกษาชุดวิชาเดียวกัน โดยมีการนัดหมายกันว่าชุดวิชาใดจะมีกำหนดพบกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา | |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research were as follows: 1. To survey the opinions of students, administrators and personnels of Sukhothai Thammathirat Open University, academicians outside Sukhothai Thammathirat Open University, and to seek for the consensus of the opinions from the experts on the utilization of two- way radio for distance education at Sukhothai Thammathirat Open University. 2. To propose a two-way radio model for distance education of Sukhothai Thammathirat Open University. Procedure In order to fulfill the established objectives, the research operations were undertaken. Firstly, the experts were interviewed for suggestions and guideline to construct the rating scale questionnaire and the questionnaire for Delphi technique. The rating scale questionaire concerned with the opinions ๐f the utilization of two way radio for distance education especially on the suitability aspect, advantages to the teaching methods, presentation, achievement evaluation and financial source for the operation , ets. Secondary, the rating scale questionnaires were sent to thirty-five administrators and personnels of Sukhothai Thammathirat Open University, one thousand and one hundred twenty two students of Sukhothai Thammathirat Open University, one hundred twenty academicians outside Sukhothai Thammathirat Open University. Moreover, Delphi technique questionnaires were sent out to find the consensus of the opinions of 17 experts in technology on two- way radio system. Thirdly, the data from the rating scale questionnaire were analyzed by means of percentage, arithmetic means, and standard deviation. The data derived from the Delphi technique questionnaire were analyzed by median, mode, difference between median and mode, interquartile range and arithmetic means.. The conclusion from the two mentioned questionnaires satisfying the set up criteria were used as a guideline to propose a model of the two-way radio adapted for distance education system of Sukhothai Thammathirat Open University. Results The findings from this study were as follows: The two-way radio system will be beneficial to students of Sukhothai Thammathirat Open University for being more convenient and saving a money for a tutorial journey. Moreover, this is of advantage for graduate and general education counselling and guidance. Interactions between teachers and students can be spontaneously responded. The questions are therefore kept to the point which consequently encourage speaking skills and close relationships through the teaching process. Selection of the content should be made specifically on the complicated points occurred in the printed materials. Achievement evaluation should be considered concerning to total number of the users. Financial source should be from Sukhothai Thammathirat Open University income itself and from abroad. Expected problems and obstacles can arise on equipment and system which are expensive, the lack of practical technicians, administrator's attitudes and ineffective techniques of operation. According to the unannimous agreements of the experts to the Delphi technique questionnaire, the following results are reported. The basic structure for the two-way radio system should be the Full-Duplex which calls for the small group classrooms, workshops for personnels involved and Sukhothai Thammathirat Open University budget. The two-way radio system needs to be considered as a part of distance teaching modules to be held as an educational clinic to implement the small group teaching where the teachers and students can be met occasionally. | |
dc.format.extent | 618457 bytes | |
dc.format.extent | 571133 bytes | |
dc.format.extent | 697463 bytes | |
dc.format.extent | 436223 bytes | |
dc.format.extent | 1511697 bytes | |
dc.format.extent | 334192 bytes | |
dc.format.extent | 535735 bytes | |
dc.format.extent | 1609079 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | zh | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การศึกษาทางไกล -- ไทย | |
dc.subject | วิทยุเพื่อการศึกษา -- ไทย | |
dc.title | การนำเสนอรูปแบบการจัดตั้งหน่วยวิทยุสื่อสารสองทาง ประจำศูนย์วิทยบริการท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | en |
dc.title.alternative | A proposed model of the two-way radio communication unit for the area Resource Center, Sukhothai Thammathirat open university | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Walailak_Ch_front.pdf | 603.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Walailak_Ch_ch1.pdf | 557.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Walailak_Ch_ch2.pdf | 681.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Walailak_Ch_ch3.pdf | 426 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Walailak_Ch_ch4.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Walailak_Ch_ch5.pdf | 326.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Walailak_Ch_ch6.pdf | 523.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Walailak_Ch_back.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.