Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24315
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิศรุต ชัยปราณี | |
dc.contributor.author | วิชาญ ไม้แก่นสาร | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณทิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-16T07:50:04Z | |
dc.date.available | 2012-11-16T07:50:04Z | |
dc.date.issued | 2526 | |
dc.identifier.isbn | 9745623091 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24315 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | ข้าวโพดเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทยเป็นอันมาก ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการส่งข้าวโพดของไทยเพิ่มขึ้นทุกๆ10 ปี โดยที่การเพิ่มปริมาณการผลิตข้าวโพดในแต่ละปีนั้นส่วนใหญ่อาศัยเพียงการขยายเนื้อที่การผลิตเท่านั้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดค่อนข้างมีจำกัด จึงก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบการผลิตและการตลาดข้าวโพดของไทย ดังนี้จึงได้มีการพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นโดยมุ่งเน้นไปในทางการเพิ่มผลิตภาพการผลิตข้าวโพด ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการนำเอาปัจจัยและเทคโนโลยีแผนใหม่ในการผลิตของเกษตรกรเข้ามาใช้ อันได้แก่ การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ยาปราบแมลงศัตรูพืช และการใช้เมล็ดพันธุ์ใหม่ เป็นต้น ซึ่งภายใต้ข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรและความไม่แน่นอนของการผลิตทางการเกษตร อาจกล่าวได้ว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดใหม่จะเป็นปัจจัยทางเทคโนโลยีแผนใหม่เพียงปัจจัยเดียวที่เกษตรกรสามารถยอมรับและนำไปใช้ในการผลิต ทั้งนี้เพราะการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดพันธุ์ใหม่ หรือเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงในการผลิตไม่ทำให้เกษตรกรต้องลงทุนเพิ่มในการผลิตมากนัก และยังสามารถช่วยลดผลกระทบอันเนื่องมากจากภัยธรรมชาติและโรคระบาดอีกด้วย โดยจะยังให้มีการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดให้สูงขึ้นภายใต้ข้อจำกัดทางด้านพื้นที่เพาะปลูกที่มีอยู่ ดังนั้นเมื่อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดมีความสำคัญเช่นนี้จึงน่าจะให้ความสนใจศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริง เพื่อประโยชน์ในอันที่จะทำให้ปัจจัยการผลิตในด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงเข้าไปมีส่วนในการผลิตของเกษตรกรมากยิ่งขึ้น และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรกรรมของประเทศในอนาคตด้วย สำหรับวัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับตลาดของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด มีความประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ( Corn seed ) ศึกษาส่วนแบ่งตลาดเมล็ดข้าวโพด ( Corn seed ) ศึกษาถึงการส่งเสริมการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงและศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจากธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริง ทั้งนี้โดยมีความมุ่งหวังเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทางสำหรับทางราชการในการพิจารณากำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายทางการตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริง ตลอดจนเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาวิจัยทางการตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดต่อไปในอนาคตอีกด้วย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้ส่วนใหญ่ได้มาจากการสัมภาษณ์เกษตรกรและร้านค้าต่างๆเป็นจำนวน 200 ตัวอย่าง และ 50 ตัวอย่างตามลำดับ โดยใช้แบบสอบถามในเขตจังหวัดที่มีพื้นที่การเพาะปลูกมาก 6 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ นครราชสีมา และเลย ซึ่งจะทำการแบ่งตัวอย่างของเกษตรกรและร้านค้าไปตามสัดส่วนพื้นที่การเพาะปลูกข้าวโพดของแต่ละจังหวัด เมื่อได้จำนวนตัวอย่างที่เก็บในแต่ละจังหวัดก็ทำการสุ่มตัวอย่างแบบไม่มีอคติอย่างง่าย จากสองอำเภอที่มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดมากเป็นอันดับหนึ่งและสองในจังหวัดนั้นๆ นอกจากนี้ยังได้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิอีกบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงบทบาทของข้าวโพดและเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ในการวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงระบบการตลาดของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดประกอบด้วย ลักษณะของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและการผลิต ราคาจำหน่ายของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ช่องทางการจำหน่ายและการส่งเสริมการจำหน่ายของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ตลอดจนตัวเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของธุรกิจประเภทนี้ นอกจากนี้ยังศึกษาถึงส่วนแบ่งตลาดและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในการดำเนินธุรกิจของระบบการตลาดของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดด้วย ส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาการตลาดของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดนั้นได้นำมาใช้ในการทดสอบสมมุติฐานที่ได้กำหนดไว้ 3 ประการ คือ 1. ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงมีส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่าธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดท้องถิ่น 2. วิธีการส่งเสริมการขายของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงที่นิยมมากที่สุดคือการให้สินเชื่อ 3. ความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจากธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริง ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ คือ คุณภาพและราคาเปรียบเทียบ จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ปรากฏว่าข้อมูลที่ได้รับนั้น แสดงให้เห็นว่า สมมุติฐานทั้ง 3 ข้อนั้นเป็นจริง นอกจากนี้ผลการศึกษายังได้ทราบถึงลักษณะที่สำคัญต่างๆ ของการตลาดของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงหลายประการด้วยกัน ซึ่งลักษณะต่างๆนั้นมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของระบบตลาดธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ควรแก่การพิจารณาหาทางพัฒนาปรับปรุงให้มีความเหมาะสมต่อสภาพความเป็นจริง ซึ่งมีสาระสำคัญของลักษณะทางการตลาดที่สำคัญและแนวทางต่างๆพอสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงจะมีลักษณะที่ดีกว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดท้องถิ่น ทั้งในแง่ผลผลิตที่ได้รับสูงกว่า ต้านทานโรคราน้ำค้างได้ดี อัตราการงอกดีกว่า ต้นเตี้ยกว่าและทนความแห้งแล้งได้ดี แต่อุปทานเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงของหน่วยงานราชการมีจำกัด และมีความยากลำบากในการซื้อ สำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงของหน่วยราชการมีจำกัดและความยากลำบากในการซื้อ สำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงของเอชนเพิ่งเริ่มการผลิตเพียง 1-2 ปี และปริมาณการผลิตจำกัด เอกชนมีความสนใจที่จะลงทุนในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงน้อย เนื่องจากประสบปัญหาการแข่งขันจากหน่วยงานของรัฐบาลและเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดท้องถิ่น ซึ่งมีคุณภาพต่ำกว่าในขณะเดียวกันเกษตรกรมีความรู้สึกว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงนั้นราคาสูงมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขสภาพการณ์ดังกล่าว ทางราชการควรเปลี่ยนบทบาทมุ่งเน้นไปในงานด้านการวิจัย ค้นคว้า ปรับปรุง และผลิตเมล็ดพันธุ์หลักให้มาก สำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ขยายควรจำกัดให้น้อยลงเพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจเอกชนเข้าดำเนินการผลิตแทนให้มากขึ้น ตลอดจนมีการให้คำแนะนำเกษตรกรให้ทราบถึงคุณประโยชน์ของการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงในการปลูกข้าวโพดที่มากกว่าเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น พร้อมกับการช่วยเหลือทางด้านการหาแหล่งเงินทุนในการผลิตข้าวโพดของเกษตรกร นอกจากนี้ทางราชการควรมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการลงทุนในเรื่องการผลิตและการดำเนินธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงของเอกชนให้เพิ่มมากขึ้น โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นแกนกลางในการดำเนินการ 2. ช่องทางในการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริง ประกอบด้วยช่องทางที่สำคัญ 2 ช่องทาง ช่องทางแรกเริ่มจากบริษัทผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าขายผ่านร้านค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย ร้านค้าย่อยและเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ส่วนช่องทางที่สองเริ่มจากบริษัทผ่านร้านค้าย่อยไปยังเกษตรกร จากการศึกษาพบว่าร้านค้าย่อยมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจนั้นๆ ดังนั้นบริษัทควรให้การสนับสนุนร้านค้าย่อยทางด้านต่างๆ อาทิเช่น ให้มีปริมาณสต็อคเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงของร้านค้าที่พอเพียง มีการให้เครดิต ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิธีการปลูกข้าวโพดที่ถูกต้อง เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ดี เพื่อนำไปเผยแพร่ต่อเกษตรกรอีกทอดหนึ่ง ตลอดจนข้อมูลที่จำเป็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและวิธีการดำเนินงาน ตลอดจนเป้าหมายของบริษัทเป็นต้น 3. ราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด สำหรับธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดนั้นสามารถแบ่งระดับราคาออกเป็น 2 ระดับ คือ ราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดท้องถิ่นและราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริง ซึ่งราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริง ยังแบ่งเป็นราคาเมล็ดพันธุ์ของธุรกิจเอกชนและของหน่วยงานราชการ ซึ่งราคาเมล็ดพันธุ์ของหน่วยธุรกิจเอกชนจะมีราคาสูงกว่าราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่แท้จริงที่ผลิตโดยหน่วยงานงานของรัฐและสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดท้องถิ่นเกือบถึง 1 เท่าและ 4 เท่าตามลำดับ จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงของหน่วยธุรกิจเอกชนเป็นอันมาก ฉะนั้นจึงควรหาทางให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจเอกชนที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริง โดยอาจจะมีการทบทวนนโยบายการตั้งราคาให้เหมาะสมสอดคล้องกับของเอกชน ซึ่งเท่ากับเป็นการลดต้นทุนในการผลิตโดยอ้อมของหน่วยธุรกิจเอกชนและทำให้ราคาขายของหน่วยธุรกิจเอกชนลดลงอยู่ในระดับที่เกษตรกรสามารถหาซื้อไปใช้ได้กว้างขวางเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันหน่วยธุรกิจเอกชนนั้นสามารถแสวงหาผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนผลิต นอกจากนี้ควรมีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่แท้จริงให้มีประสิทธิภาพให้มากขึ้น 4. การส่งเสริมการจำหน่าย จากการศึกษาพบว่าในทางปฏิบัติแล้วหน่วยธุรกิจ เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด มีการส่งเสริมการจำหน่ายหลายทาง เช่นการสาธิต การให้ความรู้ทางวิชา การโฆษณาผ่านสื่อมวลชนและการส่งเสริมการขาย สำหรับการส่งเสริมการขายนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ การส่งเสริมการขายไปยังเกษตรกรผู้ใช้และการส่งเสริมการขายไปยังร้านค้า ซึ่งวิธีการส่งเสริมการขายไปยังเกษตรกรที่นิยมใช้มากที่สุดของหน่วยธุรกิจเอกชน ได้แก่ การแจกของแถม ส่วนการส่งเสริมการขายไปยังร้านค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายหรือร้านค้าย่อยที่ซื้อจากบริษัทโดยตรงที่นิยมใช้มากที่สุด คือการให้สินเชื่อ 5. เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำ ฐานะเศรษฐกิจภายในครอบครัวยากจน และส่วนใหญ่เกษตรกรไม่มีโอกาสสิทธิหรือหลักประกันในการกู้ยืมสถาบันการเงินในระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำได้ ด้วยลักษณะของเกษตรกรดังกล่าวข้างต้นทำให้การยอมรับและการใช้ปัจจัยใหม่ๆ เช่นการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ดี วิธีการปลูกที่ถูกต้อง การปราบศัตรูพืชและอื่นๆของเกษตรกรมีจำกัด และต้องได้รับการพิจารณาช่วยเหลือในหลายๆด้าน เช่นแหล่งสินเชื่อควรขยายสินเชื่อการเกษตรให้มากขึ้น รวมทั้งเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้มากขึ้นเพื่อจะได้นำไปเป็นหลักประกันในการขอรับสินเชื่อจากสถาบันการเงินในระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ และควรสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยของเอกชนจัดทำโครงการในการประกันการผลิตข้าวโพดเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรโดยทางราชการให้การสนับสนุนและอำนวยประโยชน์บางอย่างให้แก่บริษัทประกันภัยเป็นการตอบแทน | |
dc.description.abstractalternative | Maize is one of agricultural products which is the most vital to Thai economy as it helps the country to earn a large sum of foreign currencies through export. Income from maize export has been increasing over the past years because most of the out put of the grain has been expanding through the enlargement of the plantation area. The growth of the maize plantation area has recently encounter major problem of declining land available for cultivations. To solve this problem, maize farmers began to concentrate on the increase of maize out-put per rai. In order to achieve this new challenge, farmers have to employ new technology of cultivation. The uses of chemical fertilizer, pesti¬cide and new seed are now gain popularity among farmers. The use of new seed is regarded as the best way to increase the out-put per rai as it do not boost the production cost as in case of fertilizer and pesticide, in contrary the introduction of good seed will help maize farmers to reduce production cost because the good seed has good yield and can resist some types of plant deceases and pests. Therefore, there are no need to use much pesticide as did on this seed. Envisaging the importance of new seed to maize farmers and Thai economy as a whole, the study of corn seed production and its marketing has been prepared with a hope that this analysis will help to accelerate the use of new corn seed as a major factor to efficiently increase the maize out-put per rai. This analysis deal with the general out-look of corn seed business its market share, its marketing promotion and the factor which influence the corn seed usage. The sutdy is purposedly to be information and data for concerned government agencies as quideline for making policy on corn seed business. The sutdy can also be used as basic information and data for further study of this business. This study based on information and data obtained from 200 farmers and 50 various wholesale and retail shops through interviews and questionaires in 6 provinces which maize are densely cultivated. The provinces are Saraburi, Iopburi, Nakhon Sawan, Petchabun, Nakon Ratchasima and Loie, The gathering of information were proportioned between farmers, retail shops and culiyation area in. each province. Sampling were also made on two amphor in each province that listed number 1 and 2 in maize growing area. Apart from primary information and data , secondary information and data were also used in this study. The marketing study include the nature of corn seed,, its production, corn seed market price, marketing channel, marketing promotion and farmers which are prospective buyers. The sutdy also touch, on the market share and marketing problems, Part of this study was used to test the following assumptions Market share of corn grain is bigger than corn seed, Most popular corn seed business promotion is the credit-sales Corn seed demand will depend on quality and comparative price of the product. This study indicates that the above assumptions are acceptable. The sutdy also reveals some marketing aspects which affect the efficiency of corn seed business in the present and also in the future. The present marketing situation and prospective develop¬ment can be summarized as follows: Product Nature and Problem. Corn seed is far superior than corn grain. It gives better yield, more decease resistance, shorter stem and can stand drought better than the corn grain. Corn seed are limited in supply and price is very high when compared to corn grain's price. The major supplier of corn seed is the government which has limited capacity in producing the seed while the private sector just start two years ago to invest in this venture so their supply are low. Few private investor are really interested in this business because they do not want to compete with the government which able to produce the seed at low cost. To solve this problem, the government sector should concentrate on the development of corn seed while leave the production to private sector. Government should also help private sector to expand the use of corn seed among farmers through educational programmer and financial .supports. The education will help farmers to realize the importance of corn seed in modern cultivation technology while the financial support will help farmers to improve production. The Ministry of Agriculture and Agricultural Cooperatives and the Board of Investment should he assigned to create investment climate for corn seed production Marketing Channal, The present marketing channel of corn seed is mainly made in two channels from producers (or importers) agents retailer and farmers or from products (or importers), and directly to retailers who have direct contact with farmers. In both channels the most important factor in the marketing channel is the retailers therefore the producers (or importers) should concentrate more on retailers to increase theirs market share. Producers or importers should extend more credit to retailers for building adequate inventories and provide then with proper cultivation technology software so that they can properly advise farmers on the use of corn seed. Pricing. In the corn seed business, selling price can be divided in two levels : one is the corn grain and the other is the corn seed. Price level of corn grain is greatly differ from corn seed’s. Price of corn seed also differ between government produced seed and private sector produced seeds. Price of private sector produced seed is one time higher than government’s one and four times higher than price of grain seed. Government should reconsider its pricing policy to help private sector able to expand their sale. Government's price should be reduced to the appropriate level with private sector's and they should provide more investment incentives to this business. In addition, govern¬ment and private sector should exchange information and help each other develop the seed production business. Marketing promotion. The present marketing promoting are concentrated on two groups farmers and retail shops. Marketing promotion Is concentrated on farmer more than retail shops, The promotions are made in several forms demonstration, education and advertising. The most popular form employed by private sector in case of farmers is to attach free gift to the product while in case of petail shops is to provide credit. Targeted farmers. The study shows that farmers are mostly poor and low-educated. Farmers have no legal document of land entitle to secure low-interest loan so they have to lend money from the local financial source that was called loan-shark who charge high interest rate. In order to help farmers to accept new technology of maize cultiva¬tions which include the use of chemical fertilizer, pesticide and corn seed, several measures will have to implemented to assist farmers. These assistance should include the acceleration of the issuance of legal document of land title, more low-interest rate loan for the farmers and the introduction of crop insurance to help secure farmers income. | |
dc.format.extent | 891966 bytes | |
dc.format.extent | 458710 bytes | |
dc.format.extent | 1264017 bytes | |
dc.format.extent | 2530590 bytes | |
dc.format.extent | 642286 bytes | |
dc.format.extent | 924040 bytes | |
dc.format.extent | 495310 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เมล็ดพันธุ์ -- การตลาด | |
dc.subject | ข้าวโพด -- เมล็ดพันธุ์ -- การตลาด | |
dc.title | การตลาดของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด | en |
dc.title.alternative | Marketing of corn seeds business | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vichan_Ma_front.pdf | 871.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichan_Ma_ch1.pdf | 447.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichan_Ma_ch2.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichan_Ma_ch3.pdf | 2.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichan_Ma_ch4.pdf | 627.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichan_Ma_ch5.pdf | 902.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichan_Ma_back.pdf | 483.7 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.