Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24317
Title: | การคาดคะเนการผลิตพยาบาลให้เพียงพอกับประชากรของประเทศไทยจากพ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ. 2524 |
Other Titles: | Projection of the supply of and demand for nurses in Thailand from 1971 to 1981 |
Authors: | กุลตรา วีรวัฒนโยธิน |
Advisors: | นิพนธ์ เทพวัลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | พยาบาล -- ไทย พยาบาล -- สถิติ |
Issue Date: | 2515 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความมุ่งหมายของการศึกษาเรื่องนี้ อันเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนพยาบาลของประเทศ ถึงแม้จะเพิ่มการผลิตให้มากขึ้นก็ยังไม่พอเพียง ดังนั้น จึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อประมาณจำนวนพยาบาลที่อยู่ในแรงงานแท้จริง นำมาศึกษาเปรียบเทียบกับประชากรของประเทศ การศึกษาในเรื่องนี้จะชี้ให้เห็นถึงว่า เพราะเหตุใดจึงมีปัญหาการขาดแคลนพยาบาลเป็นอันมาก ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่าสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดการขาดแคลนจนเป็นปัญหาสำคัญ คือการที่พยาบาลออกไปทำงานในต่างประเทศ ในแต่ละปีจะพบว่ามีพยาบาลลาไปต่างประเทศเป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ทำให้ประเทศต้องสูญเสียพยาบาลซึ่งเป็นแรงงานที่สำคัญประเภทหนึ่งไปอย่างน่าเสียดาย สมควรที่รัฐบาลจะเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้เพื่อจัดการแก้ไขปัญหานี้ต่อไปในการศึกษาได้แบ่งการประมาณหลายขั้นขึ้น คือ 1. การประมาณจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาในแต่ละปี ระหว่างปี พ.ศ.2513 – 2524 โดยอาศัยข้อสมมติฐานที่ว่า 1.1 ถ้าอัตราการเพิ่มของผู้สำเร็จการศึกษาในอนาคต เท่ากับอัตราการเพิ่มของปีที่มีการเพิ่มสูงสุด คืออัตราการเพิ่มของปี พ.ศ. 2510 - 2511 1.2 ถ้าอัตราการเพิ่มของผู้สำเร็จการศึกษาในอนาคต เท่ากับอัตราการเพิ่มของปีปัจจุบัน พ.ศ. 2512 – 2513 1.3 ถ้าอัตราการเพิ่มของผู้สำเร็จการศึกษาในอนาคต เท่ากับค่าเฉลี่ยของการเพิ่มในปี พ.ศ. 2509 – 2513 1.4 ถ้าอัตราการเพิ่มของผู้สำเร็จการศึกษาในอนาคต เท่ากับค่าเฉลี่ยของอัตราการเพิ่มสูงสุดและต่ำสุด 2. การประมาณจำนวนพยาบาลที่ลาออกไปต่างประเทศและกลับเข้าประเทศในแต่ละปีระหว่าง พ.ศ.2513 – 2524 โดยอาศัยข้อสมมติฐานที่ว่า 2.1 พยาบาลที่สำเร็จการศึกษา 1 ปี แล้วจึงจะลาออกไปทำงานในต่างประเทศ 2.2 พยาบาลที่เดินทางไปต่างประเทศแล้วจะเดินทางกลับเข้าประเทศภายหลังที่ทำงานแล้ว 1 ปี 3. การประมาณผู้ถึงแก่กรรมและเกษียณอายุ ในแต่ละปีระหว่างปี พ.ศ. 2513 – 2524 โดยอาศัยข้อสมมติฐานที่ว่า 3.1 พยาบาลจะมีอายุขัย 58 ปี และจะเพิ่มขึ้น 1 ปี ทุก ๆ 10 ปี 3.2 พยาบาลจะเกษียณอายุเมื่อทำงานจนอายุครบ 60 ปี 4. การประมาณประชาการของประเทศไทยในแต่ละปี ระหว่าง ปี พ.ศ. 2513 – 2524 โดยอาศัยข้อสมมติฐานที่ว่า 4.1 ในการประมาณกลาง ปี พ.ศ. 2513 – 2518 อัตราเพิ่ม 3.14% ปี 2519 – 2524 อัตราเพิ่ม 2.94% 4.2 ในการประมาณต่ำ ปี พ.ศ. 2513 – 2518 อัตราเพิ่ม 2.87% ปี 2519 – 2524 อัตราเพิ่ม 2.44% แล้วทำการศึกษาเปรียบเทียบจำนวนพยาบาลที่อยู่ในแรงงานจริงต่อประชากรของประเทศทั้งหมด ผลการศึกษาปรากฏว่า จำนวนพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ทั้ง 4 ระดับ โดยเพิ่มเพียงเล็กน้อยและช้าในปีต้น ๆ แต่จะเพิ่มมากและเร็วขึ้นในปีหลัง ๆ การประมาณโดยอาศัยการสมมติตามข้อ 1.1 มีแนวโน้มสูงขึ้นเร็วกว่าการประมาณโดยวิธีอื่น ในปี พ.ศ. 2513 โรงเรียนพยาบาลทั้ง ๑๖ แห่ง สามารถผลิตพยาบาลได้ 982 คน แต่ในปี พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2524 โรงเรียนพยาบาลทั้ง 16 แห่ง สามารถผลิตพยาบาลได้ ตามข้อสมมติฐานต่าง ๆ คือ ก. อัตราการเพิ่มการผลิตสูงสุดในปี พ.ศ. 2518 ผลิตได้ 2,644 คน และในปี พ.ศ. 2524 ผลิตได้ 8,676 คน ข. อัตราการเพิ่มการผลิตเท่าปีปัจจุปันในปี พ.ศ. 2518 ผลิตได้ 1,826 คน และในปี พ.ศ. 2524 ผลิตได้ 3,843 คน ค. อัตราการเพิ่มการผลิตเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2518 ผลิตได้ 1,707 คน และในปี พ.ศ. 2524 ผลิตได้ 3,315 คน ง. อัตราการเพิ่มที่คิดว่าควรจะเป็นในปี พ.ศ. 2518 ผลิตได้ 2,135 คน และในปี พ.ศ. 2524 ผลิตได้ 5,422 คน ซึ่งคาดหมายว่าภายในระยะ 5 ปี ข้างหน้าสามารถผลิตพยาบาลได้เพิ่มขึ้นประมาณ 2 – 3 เท่าของปีปัจจุบัน และในระยะ 11 ปีข้างหน้า สามารถผลิตพยาบาลได้เพิ่มขึ้นประมาณ 3 – 9 เท่าของปีปัจจุบัน แต่ถ้าหักจำนวนผู้ถึงแก่กรรม เกษียณอายุ และผู้ลาออกไปทำงานในต่างประเทศแล้วประมาณว่าในปี พ.ศ. 2524 จะมีพยาบาลเหลือประมาณ 1,516 – 5,932 คน แสดงว่าพยาบาลที่ลาออกไปทำงานในต่างประเทศจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี จาก 1,500 – 3,000 คน ซึ่งจะเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญ ถ้านำมาเปรียบเทียบกับประชากรของประเทศ จะมีแนวโน้มต่อประชากรลดลงเรื่อย ๆ แต่เป็นไปได้อย่างช้า ๆ จากสูงสุด 1 : 3793 ลงมาถึง 1 : 1600 ซึ่งมาตราสากล 1 : 500 การประมาณนี้ได้ช่วยชี้ให้เห็นว่า การผลิตพยาบาลในปัจจุบันยังไม่เพียงพอกับความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะการสูญเสียไปเนื่องจากการลาออกไปต่างประเทศ ทำให้โอกาสที่จะนำมาเปรียบเทียบกับประชากรของประเทศให้ได้เท่ากับระดับมาตรฐานสากลนั้นยากมาก และถ้านำตัวเลขที่ศึกษาได้ไปเปรียบเทียบกับการวางแผนของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น โครงการแก้ไขการขาดแคลนพยาบาลของสภาการศึกษาแห่งชาติ และการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ก็ยิ่งพบว่าข้อแตกต่างกันมาก คือ 1. จากรายงานการวิจัย เรื่องปัญหาการขาดแคลนพยาบาล ปรากฏว่าความสามารถในการผลิตระหว่างเวลาต่าง ๆ ดังนี้ พ.ศ. 2514 – 19 ผลิตได้ 4,944 คน พ.ศ. 2519 – 24 ผลิตได้ 5,825 คน และจากการศึกษาพบว่า ตามข้อสมมติฐานต่าง ๆ จะสามารถผลิตพยาบาลได้ดังนี้ ก. ถ้าอัตราการเพิ่มการผลิตสูงสุด พ.ศ. 2514 – 19 ผลิตได้ 3,223 คน พ.ศ. 2519 – 24 ผลิตได้ 8,676 คน ข. ถ้าอัตราเพิ่มเท่าปีปัจจุบัน พ.ศ. 2514 – 19 ผลิตได้ 2,067 คน พ.ศ. 2519 – 24 ผลิตได้ 3,843 คน ค. ถ้าอัตราการเพิ่มเฉลี่ย พ.ศ. 2514 – 19 ผลิตได้ 1,407 คน พ.ศ. 2519 – 24 ผลิตได้ 3,315 คน ง. ถ้าอัตราการเพิ่มที่คิดว่าควรจะเป็น พ.ศ. 2514 – 19 ผลิตได้ 2,494 คน พ.ศ. 2519 – 24 ผลิตได้ 5,422 คน 2. จากรายงานการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แผนที่ 3 คาดว่าจะผลิตพยาบาลได้จากทุกสถาบันทั่วประเทศ รวมทั้งที่มีมาแต่แผนฉบับที่ 1 – 2 ประมาณ 16,638 คน ซึ่งจากการศึกษาเรื่องนี้ ถึงแม้จะเร่งผลิตให้มากที่สุดก็จะได้ประมาณ 15,475 คน เท่านั้น |
Other Abstract: | This study explores the problems of shortages of nurses in Thailand. Despite an attempt to increase the production of nursing personnel, a shortage is still seriously evident. The study is an attempt to estimate the number of nurses actually in the labour force in comparison with the total population in the whole kingdom and point out some chronic problems in this area. The findings show that each year a large number of nurses resign to work abroad, that this number increases every year, and that the drain of nurses is a total loss for the kingdom. The government should establish appropriate approaches in order to solve this problem. The study was designed as follows: 1. The number of nursing graduates each year during the years B.E. 2513-2524 was projected based on the following alternative assumptions:- 1.1 The rate of increase of nursing graduates in the future will equal the highest rate recently experienced namely the rate of increase during the years B.E. 2510-2511. 1.2 The rate of increase of nursing graduates in the future will equal the present rate of increase, that is the rate experienced during the years B.E. 2512-2513. 1.3 The rate of increase of nursing graduates in the future will equal the average rate of increase found during the years B.E. 2509-2513. 1.4 The rate of increase of nursing graduates in the future will equal the mean of the highest and lowest rates of increase recently experienced. 2. The number of nurses leaving and returning to the country each year during the years B.E.2513-2524 was estimated according to the following assumptions :- 2.1 The proportion that leave the country will equal the proportion of nurses that quit their work to go abroad after being in the labour force one year during the years B.E.2508-2512. 2.2 The proportion working abroad that return will equal the proportion who returned after one year during the years B.E.2508-2512. 3. The number of deaths and retirements of nurses each year during the years B.E.2513-2524 was estimated according to the following assumptions :- 3.1 The expectancy of life for nurses is 58 years old and will increase one year in every 10 years. 3.2 The retirement of nurses will occur at the age of 60 years old. 4. The population of Thailand each year during the years B.E.2513-2524 was estimated according to the following alternative assumptions :- 4.1 The population will follow the official medium projection which assumes a 3.14% rate of increase during the years B.E.2513-2518 and a 2.94% rate of increase during the years B.E.2519-2524. 4.2 The population will follow the official low projection which assumes a 2.8% rate of increase during the years B.E.2513-2518 and a 2.44% rate of increase during the years B.E.2519-2524. The estimate number of nurses in labour forces was compared with estimated total population in the whole kingdom. The findings show that the estimated number of nurses graduates in Thailand will increase most according to assumption 1.1 and will increase least for assumption 1.3. In the year B.E.2513 the last year for which actual data are available, the 16 nursing schools in Thailand produced 982 nurses. According to the four projections the amount of graduates will increase as follows :- a. With the highest rate of increase the number of graduates in the year B.E.2518 will increase to 2644 and to 8676 in the year B.E.2524. b. With the present rate of increase the number of graduates in the year B.E.2518 will increase to 1826 and to 3843 in the year B.E.2524. c. With the average rate of increase in the number of graduates in the year B.E.2518 will increase to 1707 and to 3315 in the year B.E.2524. d. With the mean of the highest and lowest rate of increase the number of graduates in the year B.E.2518 will increase to 2135 and to 5422 in the year B.E.2524. This mean that in the next 5 years the production of nursing personnel will increase by 2-3 fold of the present figure and 3-9 fold in the next 10 years. If we deduct the number of deaths, retirements of the nurses and the number of nurses resigned to work abroad, we estimate that there will be only 1516-5932 nurses left. According to our assumptions the number of nurses that resign to work abroad increases each year from 1500-3000. The drain on the number of nurses appears to be a chronic problem. Compared with the population, our findings show ratio of nurses ranging from 1:3793 to 1:1600. This compares unfavorably with the world standard which is 1:400. Our projections show the production of nursing personnel at present levels is not suitable to meet the demand of population in the kingdom. Especially with the large number of nurses that resign to work abroad it will be difficult to reach the level of world standard. If we compare the finding of this thesis with the plan of other departments, such as the National Education Council’s report the Projection to improve the problem of shortages of Nurses in Thailand, and National Economic Development Board’s report the National Socio-Economic Development Plan. There are the several differences :- 1. The report on the problem of the shortage of nurse the number of graduates produced will be 4944 in the years B.E. 2514-2519 and 5825 in the years B.E.2519-2524. In contrast this thesis projected the following number of graduates according to the four assumptions:- a. Using the highest rate of increase there will be 3223 in the years B.E.2514-2519 and 8676 in the years B.E.2519-2524. b. Using the present rate of increase there will be 2067 in the years B.E.2514-2519 and 3843 in the years B.E.2519-2524. c. Using the average rate of increase there will be 1907 in the years B.E.2514-2519 and 3315 in the years B.E.2519-2524. d. Using the mean of the highest and the lowest rate of increase there will be 2494 in the years B.E.2514-2519 and 5422 in the years B.E.2519-2524. 2. From the report in the National Socio-Economic Development Plan it is estimated that the number of nurse produced from all the kingdom according to plan 1&11 will be 16638. This appears to be impossible since according to our findings the highest number of graduates would be only 1975. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.)--จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2515 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24317 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kultra_Ve_front.pdf | 691.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kultra_Ve_ch1.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kultra_Ve_ch2.pdf | 2.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kultra_Ve_ch3.pdf | 601.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kultra_Ve_ch4.pdf | 621.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kultra_Ve_back.pdf | 259.74 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.