Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24360
Title: | การศึกษาและพัฒนาเตาที่ใช้เศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง |
Other Titles: | A study and development of stoves utilizing agricultural wastes as fuels |
Authors: | วิทยา ขัตติยะวิทย์ |
Advisors: | กุลธร ศิลปบรรเลง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | เตา ของเสียทางการเกษตร เชื้อเพลิงจากของเสียทางการเกษตร การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์ |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เนื่องจากปัจจุบันนี้วัสดุเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับหุงต้มอาหารมีราคาสูงขึ้นและหายากขึ้นทุกที จึงมีการคิดค้นประดิษฐ์เตาเพื่อใช้กับเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง แต่มีการศึกษาอย่างคร่าวๆ ถึงปริมาณความร้อนที่สูญเสียไปในเวลาหุงต้มอาหาร เช่นการสูญเสียความร้อนโดยการนำ การสูญเสียความร้อนโดยการพา และการสูญเสียความร้อนโดยการแผ่รังสี ทำให้ประสิทธิภาพของเตาค่อนข้างต่ำ สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงโดยเปล่าประโยชน์ ฉะนั้นจุดประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ก็เพื่อหาวิธีในการปรับปรุงการสร้างลักษณะของเตาให้ดีขึ้น ทำให้ปริมาณความร้อนที่สูญเสียลดน้อยลง ประสิทธิภาพของเตาสูงขึ้น และยังหาวิธีประเมินประสิทธิภาพที่สามารถใช้เป็นมาตรฐานในการวัดประสิทธิภาพของเตา เพื่อเปรียบเทียบได้ ในการทดลองประสิทธิภาพตามสภาพเดิมของเตาใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลง ใช้น้ำเป็นวัสดุรับความร้อน น้ำหนักของฟืนหนัก 1 กิโลกรัม น้ำหนักของน้ำในหม้อขนาดใหญ่หนัก 2 กิโลกรัม น้ำหนักของน้ำในหม้อขนาดเล็กหนัก 0.8 กิโลกรัม ผลของการทดลองปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพภาชนะ 84.1% ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพเตา 11.3 % ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการหุงต้ม 9.48% ซึ่งค่าเฉลี่ยเหล่านี้ยังเป็นค่าที่ต่ำมาก จึงได้ทำการปรับปรุงลักษณะเตา ส่วนของเตาที่ได้ทำการปรับปรุง 1. ผนังเตาที่ด้านหน้าเตา ทำให้หนาขึ้นจากเดิม 5 เซนติเมตร เป็น 7.5 เซนติเมตร และผนังเตาด้านหน้าเตาตรงบริเวณรอยต่อระหว่างเตาใหญ่และเตาเล็ก ทำให้หนาขึ้นจากเดิม 10 เป็น 12.5 เซนติเมตร 2. ที่ห้องเผาไหม้ ทำเป็นตะแกรงวางเชื้อเพลิง 3. เส้นผ่าศูนย์กลางของรูที่เชื่อมระหว่างเตาใหญ่กับเตาเล็กลดจากเดิม 11 เป็น 8 เซนติเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางของปล่องควันลดจากเดิม 9.5 เป็น 7 เซนติเมตร 4. ที่ส่วนล่างของปล่องควันเพิ่ม damper 5. ด้านหลังเตาบริเวณเตาเล็กเพิ่มหินดักควัน ซึ่งมีฐานยาว 11.5 เซนติเมตร สูง 6.8 เซนติเมตร ระยะห่างจากก้นหม้อใบเล็ก 3 เซนติเมตร ผลการทดลองปรากฏว่า ประสิทธิภาพการหุงต้มเฉลี่ย 18.5% ประสิทธิภาพภาชนะเฉลี่ย 93.0% ประสิทธิภาพเตาเฉลี่ย 19.9% ซึ่งค่าเฉลี่ยเหล่านี้สูงกว่าค่าที่ได้ก่อนปรับปรุงเตา |
Other Abstract: | The cost of conventional fuels used for cooking and boiling water is becoming more expensive and scarce, thus researchers are prompted to look into existing stoves utilizing agricultural wastes as fuels. Studies relating to heat losses through conduction, convection and radiation have been carried out in the past but it is necessary to study more and deeper into above areas to attain better understanding of the problem. Therefore the purpose of study for this research is to minimize heat losses from existing stoves through new developments for improving the stove efficiency. An attempt to arrive at standard method for measuring efficiency of stove has also been made. For this testing, initial efficiency measurement involved wood as fuel and water as material to absorb heat. The weight of wood was kept at i kilogram whereas weight of water was 2 kilograms and 0.8 kilogram for large pot and small pot respectively. The measured efficiencies are: average pot efficiency 84.1%, average stove efficiency 11.3%, and average overall efficiency 9.48% Developments performed on existing stove included 1. Increasing outside thickness of front stove wall from 5 centimetres to 7.5 centimetres and middle stove wall from 10 centimetres to.12.5 centimetres respectively. 2. A grate in combustion chamber was incoperated. 3. Reducing the diameter of port connecting the front and back stove from 11 centimetres to 8 centimetres and chimney from 9.5 centimetres to 7 centimetres respectively. 4. A damper at lower part of chimney was incoporated. 5. Redesigning the internal flue passage by placing a stone block made of cement, having length 11.5 centimetres, height centimetres, at the back stove. The results of° testing for the modified stove at 70 degree of damper, were found to be ; average overall efficiency 18.5%, average pot efficiency 93.0%, average stove efficiency 19.9%. These values were considerably higher than the previous ones measured from the original stove version, and highest attainment from various degrees of damper opening. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเครื่องกล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24360 |
ISBN: | 9745634123 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vitaya_Ku_front.pdf | 578.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitaya_Ku_ch1.pdf | 648.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitaya_Ku_ch2.pdf | 462.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitaya_Ku_ch3.pdf | 397.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitaya_Ku_ch4.pdf | 499.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitaya_Ku_ch5.pdf | 439.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitaya_Ku_ch6.pdf | 755.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitaya_Ku_ch7.pdf | 346.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitaya_Ku_back.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.