Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24464
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนหลักภาษาไทยด้วยการสอนแบบบรรยาย โดยการใช้และไม่ใช้เกมและเพลงประกอบการสอน
Other Titles: A comparison of students' achievement in learning Thai grammar between lecture method with and without games and songs
Authors: สมพล ธูปบูชา
Advisors: ฐะปะนีย์ นาครทรรพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนหลักภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการสอนแบบบรรยายโดยการใช้และไม่ใช้เกมและเพลงประกอบการสอน วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่แบบทดสอบความรู้พื้นฐานทางภาษาไทย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน และแผนการสอน 4 หน่วย แล้วนำแบบทดสอบความรู้พื้นฐานทางภาษาไทยไปทดสอบนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพฯ ปีการศึกษา 2523 จำนวน 215 คน เพื่อสุ่มตัวอย่างประชากร ได้กลุ่มตัวอย่างประชากรจำนวน 84 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 43 คน กลุ่มทดลอง 41 คน ผู้วิจัยได้ทดลองสอนแบบบรรยายโดยใช้เกมและเพลงประกอบการสอนกับกลุ่มทดลอง ขณะเดียวกันก็สอนกลุ่มควบคุมโดยวิธีบรรยายมีอุปกรณ์บางชนิดประกอบ การทดลองทั้ง 2 กลุ่มใช้เวลา 6 คาบ เมื่อเรียนจบบทเรียนแต่ละหน่วยได้สอบความรู้ของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ได้ทดสอบนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มอีกครั้งหนึ่งด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกัน เพื่อดูความติดทนของความรู้ แล้วนำผลการสอบที่ได้จากการทดลองสอนมาเปรียบเทียบกันโดยการทดสอบค่า Z ( Z-test) สรุปผลการวิจัย เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนหลักภาษาไทยด้วยการสอนแบบบรรยายโดยการใช้และไม่ใช้เกมและเพลงประกอบการสอนแล้ว ผลของการวิจัยปรากฎว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนบทเรียนหลักภาษาหน่วยที่ 1 (ไตรยางค์) กับหน่วยที่ 4 (อักษรนำ - อักษรควบ) ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน 2. ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนบทเรียนหลักภาษาหน่วยที่ 2 (วรรณยุกต์) กับหน่วยที่ 3 (คำเป็น - คำตาย) ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 3. ความติดทนของเนื้อหาวิชาหลักภาษาไทยหน่วยที่ 1 (ไตรยางค์) กับหน่วยที่ 4 (อักษรนำ - อักษรควบ) ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน 4. ความติดทนของเนื้อหาวิชาหลักภาษาไทยหน่วยที่ 2 (วรรณยุกต์) กับหน่วยที่ 3 (คำเป็น - คำตาย) ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01
Other Abstract: Purpose : The purpose of this study was to compare the learning achievement attained by Mathayom Suksa One student when Thai grammar was taught with the lecture method, with and without games and songs. Procedure : Two types of tests, a fundamental knowledge test of Thai and an achievement test, and lesson plans (for Units 1-4) were constructed. The fundamental knowledge test was administered to 215 Mathayom Suksa One students at Wachirathumsathit School in Bangkok in order to select the study groups. Eighty-four students were selected and these students were divided into two groups, the experimental group (41) and the control group (43). The control group was taught with the lecture method without the addition of any games and songs, while the experimental group was taught with the lecture method with games and songs added. After six class periods, the achievement test was given to the students in both groups. Two weeks later, the achievement test was administered again in order to determine the rate of retention of the students. The resulting data and information were computed and analysed through statistical methods in which the Z- test was applied. Conclusions : In comparing students’ achievement in learning Thai grammar between lecture method, with and without games and songs, the results can be summarized as follows : 1. There was no significant difference in the achievement of the students in the two groups in learning Thai grammar with Units 1 (traiyang) and 4 (uksornkuab – uksornnum). 2. There was significant difference between the students’ achievement in the two groups in learning Thai grammar with Units 2 (wannayook) and 3 (kumpen – kumtay) at the level of .01. 3. There was no significant difference in the students’ retention in learning Thai grammar with Units 1 (traiyang) and 4 ( uksornkuab – uksornnum). 4. There was significant difference in the students’ retention in learning Thai grammar with Units 2 (wannayook) and 3 (kumpen – kumtay) at the level of .01.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24464
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somphol_Th_front.pdf447.71 kBAdobe PDFView/Open
Somphol_Th_ch1.pdf554.23 kBAdobe PDFView/Open
Somphol_Th_ch2.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Somphol_Th_ch3.pdf401.76 kBAdobe PDFView/Open
Somphol_Th_ch4.pdf414.75 kBAdobe PDFView/Open
Somphol_Th_ch5.pdf477.01 kBAdobe PDFView/Open
Somphol_Th_back.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.