Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/245
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนงลักษณ์ วิรัชชัย-
dc.contributor.advisorวิเชียร เกตุสิงห์-
dc.contributor.authorณัฐจรีย์ กาญจนรจิต, 2522--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2006-06-05T07:20:55Z-
dc.date.available2006-06-05T07:20:55Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741701837-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/245-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความไม่เสมอภาคของการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน ระหว่างโรงเรียนในแต่ละสังกัดและระหว่างสังกัดของโรงเรียนที่จัดการศึกษาขึ้นพื้นฐาน รวมทั้งศึกษาอิทธิพลขององค์ประกอบด้านการบริหารจัดการของผู้บริหาร ที่ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคขององค์ประกอบด้านการจัดการเรียนการสอนของครู และอิทธิพลขององค์ประกอบด้านผลการดำเนินงานที่เกิดกับครู ที่ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคขององค์ประกอบด้านผลการดำเนินงานที่เกิดกับนักเรียน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อมูลทุติยภูมิของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ที่รวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม 3 ฉบับ จากผู้บริหาร ครู และนักเรียน จากโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งสิ้น 1067 โรงเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ดัชนีความไม่เสมอภาค 3 แบบ ได้แก่ สัมประสิทธิ์ของความแปรผัน (coefficient of variation) สัมประสิทธิ์จินี (Gini coefficient) และสัมประสิทธิ์ไทล์ (Theil coefficient) และใช้โมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น (hierarchical linear model: HLM) ในการวิเคราะห์ความไม่เสมอภาคในรูปความแปรปรวน และใช้ในการวิเคราะห์อิทธิพลขององค์ประกอบที่มีต่อความไม่เสมอภาค ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความไม่เสมอภาคของการดำเนินงานและผลการดำเนินงานระหว่างโรงเรียนภายในแต่ละสังกัด พบว่า การบริหารจัดการของผู้บริหารมีความไม่เสมอภาคมากกว่าการจัดการเรียนการสอนของครู และผลการดำเนินงานที่เกิดกับครูมีความไม่เสมอภาคน้อยกว่าผลการดำเนินงานที่เกิดกับนักเรียน ความไม่เสมอภาคที่เกิดขึ้นระหว่างโรงเรียนภายในสังกัดเดียวกันมีสัดส่วนสูงมากกว่าความไม่เสมอภาคระหว่างสังกัดโรงเรียน 2) โรงเรียนสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวณชายแดนและกรมสามัญศึกษา มีความไม่เสมอภาคของการบริหารจัดการของผู้บริหารมากที่สุด โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน มีความไม่เสมอภาคของการจัดการเรียนการสอนของครูและผลการดำเนินงานที่เกิดกับนักเรียนมากที่สุด และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนและกรมอาชีวศึกษา มีความไม่เสมอภาคของผลการดำเนินงานที่เกิดกับครูมากที่สุด 3) การบริหารจัดการของผู้บริหารมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อความไม่เสมอภาคของการจัดการเรียนการสอนของครู แต่ขนาดโรงเรียน ไม่มีอิทธิพลต่อความไม่เสมอภาคของการจัดการเรียนการสอนของครู ส่วนผลการดำเนินงานที่เกิดกับครูและขนาดโรงเรียน ไม่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานที่เกิดกับนักเรียนen
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to measure inequality of process and outcome among schools providing basic education, within each of the control units and among control units; to study the administrative process factor affecting the inequality of teachers' instructional process factor and to study the teachers' outcome affecting the inequality of the students outcome. The data used in this study were secondary data, obtained from the Office of the National Education Commission, collected by using 3 sets of questionnaires from administrators teachers and students in 1,067 primary and secondary schools. Data were analyzed using 3 measures of inequality indices, namely: coefficient of variation, Gini coefficient and Theil coefficient and using the hierarchical linear model in measuring inequality in terms of variances, and in examing the effects of factor on inequality. The research results were as follows: 1) The inequality of process and outcome among schools within each control unit indicated that there were greater inequality in administrative process as compared to the inequality in teachers' instructional process; and that there were smaller inequality in teachers' outcome as compared to the inequality in students' outcome. The existed inequality among schools within the control units was greater than the inequality among control units. 2) The schools under the Rural Patrol Police Forces and the Department of General Education showed the greatest inequality in the administrative process. The schools under the Office of National Primary Education Commission and the Office of Private Education Commission showed the greatest inequality in teachers' instructional process and students' outcome. The schools under the office of Private Education Commission and the Department of Vocational Education showed that greatest inequality in teacher's outcome. 3) The administration process had, but the school size had no, significant effects of inequality of the teachers' instructional process. Whereas both of the teachers' outcome and the school size had no effect on students' outcome.en
dc.format.extent1225509 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.550-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการศึกษาขั้นพื้นฐาน--ไทยen
dc.subjectโรงเรียน--การบริหาร--ไทยen
dc.titleความไม่เสมอภาคของการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.title.alternativeThe inequality of process and outcome in schools providing basic educationen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineสถิติการศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNonglak.W@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.550-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nutjaree.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.