Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24610
Title: การใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ของสถานศึกษาประเภทช่างอุตสาหกรรม สังกัดกรมอาชีวศึกษา
Other Titles: The utilization of industrial trade school buildings, Department of Vocational Education
Authors: สมพงษ์ ขำกัญ
Advisors: อุทุมพร ทองอุไทย
ธำรงศักดิ์ หมื่นจักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 5 ประการ คือ (1) หาเกณฑ์ปกติของการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ซึ่งได้แก่ เกณฑ์ปกติของอัตราการใช้ห้อง อัตราการใช้พื้นที่ และค่าการใช้ประโยชน์ด้านบริหารและบริการ ของสถานศึกษา ประเภทช่างอุตสาหกรรม สังกัดกรมอาชีวศึกษา ประเภทช่างอุตสาหกรรม สังกัดกรมอาชีวศึกษา (2) ศึกษาการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ของสถานศึกษาประเภทช่างอุตสาหกรรม สังกัดกรมอาชีวศึกษา ทุกสถานศึกษา ว่ามีการใช้ประโยชน์เหมาะสมแล้วหรือไม่ (3) หาประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ จำแนกตามประเภทอาคารสถานที่ (4) เปรียบเทียบค่าการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ของแต่ละสถานศึกษา กับค่าเกณฑ์ปกติ (5) ศึกษาการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ของแต่ละสถานศึกษา ว่ามีการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมแล้วหรือไม่ตัวอย่างประชากรสำหรับการวิจัย คือ ห้องเรียนวิชาการ โรงฝึกงาน สถานที่ด้านบริหารและบริการ ของวิทยาลัยเทคนิค 10 แห่งจากทั้งหมด 34 แห่งโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสำรวจประกอบการสอบถาม ดัชนีที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกณฑ์ปกติ ค่าการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่และประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ ใช้การทดสอบค่าทีเปรียบเทียบความแตกต่างของการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ สรุปผลการวิจัยดังนี้ 1. เกณฑ์ปกติของอัตราการใช้ห้อง ของห้องเรียนวิชาการ และโรงฝึกงาน มีค่าเท่ากับร้อยละ 60.14 และ 123.33 ตามลำดับส่วนเกณฑ์ปกติของอัตราการใช้พื้นที่ของห้องเรียนวิชาการ และโรงฝึกงาน มีค่าเท่ากับร้อยละ 43.03 และ 68.65 ตามลำดับและเกณฑ์ปกติของค่าการใช้ประโยชน์ด้านบริหารและบริการ มีค่าเท่ากับร้อยละ107.90 2. โดยเฉลี่ยทุกวิทยาลัยเทคนิค มีการใช้ประโยชน์ห้องเรียนวิชาการทั้งอัตราการใช้ห้อง และอัตราการใช้พื้นที่ ต่ำกว่าค่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ส่วนโรงฝึกงานมีการใช้ประโยชน์ด้านอัตราการใช้ห้องสูงกว่าค่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม แต่อัตราการใช้พื้นที่มีการใช้ประโยชน์ ต่ำกว่าค่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 สำหรับสถานที่ด้านบริหารและบริการ มีการใช้ประโยชน์สูงกว่าค่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 3. ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของห้องเรียนวิชาการ มีค่าเท่ากับร้อยละ 25.88 โดยห้องเขียนแบบมีประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์สูงสุดเท่ากับร้อยละ 33.58 และห้องเรียนธรรมดามีประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ต่ำสุด เท่ากับร้อยละ 24.38 ส่วนโรงฝึกงานมีค่าประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ เท่ากับร้อยละ 84.47 โดยโรงฝึกงานช่างเชื่อมและโลหะแผ่นมีประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์สูงสุด เท่ากับร้อยละ118.90 และโรงฝึกงานช่างก่อสร้างมีประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ต่ำสุดเท่ากับร้อยละ 46.12 4. วิทยาลัยเทคนิคที่มีอัตราการใช้ห้องของห้องเรียนวิชาการอยู่ในระดับปกติมี 3 แห่งนอกนั้นอีก 5 แห่งอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ปกติและ 2 แห่งอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ส่วนวิทยาลัยเทคนิคที่มีอัตราการใช้ห้องของโรงฝึกงานอยู่ในระดับปกติมีเพียงแห่งเดียว นอกนั้นอีก 4 แห่งอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ปกติและ 5 แห่งอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ สำหรับวิทยาลัยเทคนิคที่มีค่าการใช้ประโยชน์ด้านบริหารและบริการอยู่ในระดับปกติมี 2 แห่ง ที่เหลืออยู่ในระดับสูงและต่ำกว่าเกณฑ์ปกติระดับละ 4 แห่ง 5. วิทยาลัยเทคนิคทั้ง 10 แห่งมีการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ทั้งห้องเรียนวิชาการ และโรงฝึกงาน เกือบทุกประเภทยังไม่เหมาะสม กล่าวคือ มีค่าต่ำกว่าค่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ส่วนในการใช้ประโยชน์สถานที่ด้านบริหารและบริการนั้น พบว่า วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลกวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม และวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี มีการใช้ประโยชน์สถานที่ด้านบริการสูงกว่าค่าการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 นอกนั้นมีการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ทั้งด้านบริหารและบริการได้อย่างเหมาะสม
Other Abstract: The purposes of this research project were to obtain school building utilization and efficiency indices. Specifically, (1) to acquire the normal expectancy of all different types of school building utilization at the Industrial Trade Schools, Department of Vocational Education. (2) to compare the observed indices with the expected ones and among themselves classified by type of rooms, buildings and institutions. The sample consisted of general classrooms, workshops, administration and service rooms of ten Technical Colleges selected from the thirty-four Technical Colleges by stratified random sampling. Data were collected through a school building survey and by interviews. Indices in this research were normal expectancy, school building utilization and efficiency of school building utilization. The t-test was used to determine differences in the utilization of school buildings. The results were : 1. The normal expectancy of room utilization of general classrooms and workshops was 60.14% and 123.33% respectively. The normal expectancy of space utilization of general classrooms and workshops was 43.03% and 68.65% respectively and the normal expectancy of administration and service room utilization was 107.90% 2. On The average, in every Technical Collage, general classrooms had less room and space utilization than the optimum utilization, the difference being significant at the .05 level; workshops had higher room utilization, the difference being significant at the .05 level; administration and service rooms had higher utilization than the optimum utilization, the difference being significant at the .05 level. 3. The efficiency of general classroom utilization was 25.88% with the drafting room having the highest efficiency. 33.58% and the classroom having the lowest efficiency, 24.38% The efficiency of workshops utilization was 84.47% with the sheet metal workshops having the highest efficiency, 118.90% and the capenter workshop having the lowest efficiency, 46.12% 4. In three Technical Colleges room utilization was at the normal level; in five Technical Colleges it was higher than normal expectancy and in two Technical Colleges it was lower than normal expectancy. Only on Technical College had room utilization at the normal level; in four Technical Colleges it was higher than normal expectancy and in five Technical Colleges it was lower than normal expectancy 5. In all ten Technical Colleges, almost every building of general classrooms and workshops had utilization lower than the optimum utilization the difference being significant at the .05 level. The majority of Technical Colleges reached the optimum administration and service room utilization except the service rooms of the Technical Colleges of Phitsanulok, Nokhon Pathom and chanthaburi which had higher room utilization than the optimum utilization, the difference being significant at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24610
ISBN: 9745606847
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompong_Kha_front.pdf739.97 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Kha_ch1.pdf638.19 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Kha_ch2.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_Kha_ch3.pdf501.08 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Kha_ch4.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_Kha_ch5.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_Kha_back.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.