Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24623
Title: ความคิดเห็นของคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและผู้บริหารการศึกษา เกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด
Other Titles: Opinions of the national primary education commission and school administrators concerning desired characteristics of directors of provincial primary education offices
Authors: ทวีศักดิ์ จันทรสาร
Advisors: นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมายของการวิจัย ๑. เพื่อศึกษาลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดในด้านความรู้ ทักษะ และลักษณะนิสัยตามความคิดเห็นของคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด สมมติฐานของการวิจัย ความคิดเห็นของคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดไม่แตกต่างกัน โดยแยกพิจารณาเป็น ๓ ด้าน คือ ๑. ลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้ ๒. ลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะ ๓. ลักษณะที่พึงประสงค์ด้านลักษณะนิสัย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี ๔ กลุ่ม คือ คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน ๒๙ คน ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด ๖๓ คน หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ จำนวน ๒๕๑ คน และผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน ๔๐๐ คน รวม ๗๔๓ คน ๒ กลุ่มแรกใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และ ๒ กลุ่มหลังใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ส่งแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างรวม ๗๔๓ ฉบับ ได้รับคืนมา ๖๔๔ ฉบับ ตรวจสอบแล้วมีความสมบูรณ์นำไปวิเคราะห์ได้ ๖๒๘ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๕๒ ของแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบ (Check List) และแบบประมาณค่า (Rating Scale) ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัว ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดในด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านลักษณะนิสัย การวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า เอฟ (F-Test) และการวิเคราะห์ช่วงคะแนนเฉลี่ย (Multiple Range Test) ผลการวิจัย ๑. ความคิดเห็นของคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดสรุปได้ดังนี้ ๑.๑ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้ง ๔ กลุ่มที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้ ๒๕ ข้อ อยู่ในระดับสำคัญมาก ๒๓ ข้อ ระดับสำคัญอย่างยิ่ง ๑ ข้อ และระดับสำคัญ ๑ ข้อ ลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้ระดับสำคัญอย่างยิ่งคือ มีความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระบบการจัดองค์กรบริหารการประถมศึกษาเป็นอย่างดี และลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้ระดับสำคัญคือ มีความรู้และวุฒิอย่างต่ำอยู่ในระดับปริญญาโททางการศึกษา ๑.๒ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้ง ๔ กลุ่มที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะ ๒๓ ข้อ อยู่ในระดับสำคัญมาก ๒๒ ข้อ ที่ต่างออกไป ๑ ข้อ อยู่ในระดับสำคัญอย่างยิ่ง คือ มีความสามารถที่จะวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารงานได้อย่างถูกต้อง มีหลักการและคุณภาพ ๑.๓ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้ง ๔ กลุ่มที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ด้านลักษณะนิสัย จำนวน ๒๕ ข้อ อยู่ในระดับสำคัญมาก ๑๗ ข้อ ระดับสำคัญอย่างยิ่ง ๖ ข้อ และระดับสำคัญ ๒ ข้อ ลักษณะที่พึงประสงค์ด้านลักษณะนิสัยระดับสำคัญอย่างยิ่ง คือ มีความยุติธรรม มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต มีความจริงใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน เป็นผู้ตรงต่อเวลา มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย และมีความขยันและอุทิศเวลาให้แก่งาน ส่วนลักษณะที่พึงประสงค์ด้านลักษณะนิสัยระดับสำคัญได้แก่ มีใจกว้าง ไม่ตระหนี่ต่อการใช้จ่ายเพื่อให้รางวัลและการสังสรรค์ในสังคม และตำหนิผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทำงานผิดพลาดในที่ประชุมอย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ ๒. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างทั้ง ๔ กลุ่มที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้และด้านทักษะไม่แตกต่างกัน แต่ความคิดเห็นของคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติที่มีต่อลักษณะที่พึงประสงค์ด้านลักษณะนิสัยแตกต่างจากความคิดเห็นของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และผู้บริหารโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ P< .๐๕
Other Abstract: The Purposes of the Study: 1. To study the opinions of the National Primary Education Commission (NPEC), the Directors of the Provincial Primary Education Offices (DPPEO), the District Primary Education Officers (DPEO) and the Primary School Administrators (PSA) concerning desired characteristics of Directors of Provincial Primary Education Offices. 2. To compare the opinions of the members of these four groups concerning desired characteristics of DPPEO Hypothesis: The opinions of the members of the four groups concerning desired characteristics of DPPEO in terms of knowledge, skill, and habits are not significantly different at the .O1 level. Procedure: The smaple used in this study was composed of 29 NPEC, 63 DPPEO, 251 DPEO and 400 PSA, totalling 743 persons. Simple random sampling was used to select the first groups of sample and the cluster random sampling was used to select the last two, of the total of 743 questionnaires, 644 questionnaires were returned with 628 (84.52%) completely filled out. The instrument used for collecting data was a questionnaire consisting of a check list and a rating scale developed by the author. The items concerned the status of the sample, desired characteristics concerning knowledge, skill, and habits and open-ended questions concerning the three aspects of desired characteristics of DPPEO. The data was analyzed by percentages, mathematical means, standard deviations, F-test, and Multiple Range Test. Findings and Conclusions: 1. The opinions of the members of the four groups concerning desired characteristics in terms of knowledge, skill, and habits are as follows: 1.1 The opinions of the sample concerning desired characteristics of knowledge are at the much important level for 23 items out of 25. One of the other items was rated at the most important level (that is, the DPPEO should know the policy and the organization management system of the primary education very well). The other item was rated at the important level (that is, the DPPEO should have at least a Easter's is Degree in Education). 1.2 The opinions of the sample concerning desired characteristics of skill are at the much important level for 22 items out of 23. The other one was rated a t the most important level (that is, the DPPEO should have the ability to make efficient decisions concerning administration based on appropriate principle). 1.3 The opinions of the sample concerning desired characteristics of habits are at the much important level for 17 items out of 25. Six of the other 8 items are rated at the most important level (that is, the DPPEO should have a sense of fair play with regard to discipline, loyalty, and sincerity to his subordinates. He should be, acourate, have a sense of democracy, be diligent and sacrifice his own time for the sake of the work). The rest of the items were rated at; the important level (that is, the DPEO should be generous in rewarding their subordinated and should participate in social entertainment. The DPPEO should not blame their subordinates for their faults while in meetings). 2. The opinions of the members of the four groups concerning desired characteristics of knowledge and skill of the DPPEG are not significantly different, but the opinions of the NPEC concerning desired characteristics of habits is significantly different from the opinions of the DPPEO, DPEO and PSA at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24623
ISBN: 9745647845
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thaweesak_Ja_front.pdf732.68 kBAdobe PDFView/Open
Thaweesak_Ja_ch1.pdf880.29 kBAdobe PDFView/Open
Thaweesak_Ja_ch2.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Thaweesak_Ja_ch3.pdf444.32 kBAdobe PDFView/Open
Thaweesak_Ja_ch4.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Thaweesak_Ja_ch5.pdf956.48 kBAdobe PDFView/Open
Thaweesak_Ja_back.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.