Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24736
Title: อิทธิพลของอุณหภูมิอากาศแวดล้อมต่อสมรรถภาพทางการงานที่ศึกษา โดยวิธีเออร์โกเมตรีย์
Other Titles: The influence of environmental temperature on work capacity as determined by ergometry
Authors: นิ่มนวล สกุลพานิช
Subjects: อุณหภูมิ
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาอิทธิพลแห่งอุณหภูมิของอากาศแวดล้อมต่อสมรรถภาพทางการงานที่ศึกษาโดยวิธีเออร์โกเมตรีย์ ในขณะออกกำลังปริมาณที่เท่ากัน ความชื้นสัมพัทธ์ใกล้เคียงกัน (70±10%) ณ ที่อุณหภูมิแตกต่างกัน คือ 20 ̊ซ 25 ̊ซ 30 ̊ซ 35 ̊ซ และ 40 ̊ซ โดยสุ่มตัวอย่างจากนิสิตชายปีที่ 1 และปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา ซึ่งมีสุขภาพสมบูรณ์ มีน้ำหนักและส่วนสูงใกล้เคียงกัน จำนวน 15 คน ออกกำลังถีบจักรยานวัดงานในอากาศแวดล้อมต่างกัน 6 นาที นับอัตราชีพจรทุก 1 นาที นำอัตราชีพจรในขณะที่อยู่ที่ภาวะคงตัว (Steady state) ไปอ่านตารางการแปลผลของออสตรานด์ (Astrand) เพื่อหาค่าสมรรถภาพสูงสุดในการจับออกซิเจน ผลปรากฏว่า อัตราชีพจรขณะทำงานที่อุณหภูมิ 20 ̊ซ 25 ̊ซ และ 30 ̊ซ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ที่อุณหภูมิ 35 ̊ซ กับ 40 ̊ซ อัตราชีพจรแตกต่างกันกับที่อุณหภูมิ 20 ̊ซ 25 ̊ซ และ 30 ̊ซ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสมรรถภาพสูงสุดในการจับออกซิเจนที่อุณหภูมิ 20 ̊ซ 25 ̊ซ และ 30 ̊ซ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ที่อุณหภูมิ 35 ̊ซ กับ 40 ̊ซ มีความแตกต่างกันกับที่อุณหภูมิ 20 ̊ซ 25 ̊ซ และ 30 ̊ซ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่า อุณหภูมิ 35 ̊ซ กับ 40 ̊ซ มีอิทธิพลต่ออัตราชีพจรขณะทำงาน และสมรรถภาพทางการงาน ทำให้สมรรถภาพทางการงานลดลงเห็นได้ชัดเจน อุณหภูมิที่เหมาะในการออกกำลังกายอยู่ระหว่างอุณหภูมิ 20 ̊ซ ถึง 30 ̊ซ และอุณหภูมิวิกฤตที่ทำให้สมรรถภาพทางการงานลดลง คือ อุณหภูมิ 35 ̊ซ.
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the influence of environmental temperature on working pulse rate and oxygen uptake capacity as determined by ergometry while doing the same work load in the same relative humidity (70±10%) at various temperature level 20 ̊C, 25 ̊C, 30 ̊C, 35 ̊C and 45 ̊C. Fifteen healthy male subjects were randomly sampled from the first and second years of Srinakarinwirot Palasueksa. They were approximately equal in weight and height. The subjects were made to ride a Monark bicycle ergometer in different environmental temperature. The pulse rates were recorded every minute during the exercise, for six minutes. Then, the pulse rates in the steady state were utilized to find the maximum oxygen uptake with the help of the table of Astrand. It was found that the pulse rates and maximum oxygen uptake were different at the temperatures of 20 ̊C, 25 ̊C and 30 ̊C but not significantly at the .01 level of confidence. However, they were significantly different between the temperatures of 20 ̊C, 25 ̊C and 30 ̊C on the one side the temperatures of 35 ̊C and 40 ̊C on the other side at the .01 level of confidence. It may be concluded that the temperatures of 35 ̊C and 40 ̊C had on effect on the working pulse rate and oxygen uptake capacity in that they significantly lowered the capacity. The temperature suitable for work were 20 ̊C, 25 ̊C and 30 ̊C. The critical temperature was 35 ̊C which had an effect in lowering the oxygen uptake capacity.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24736
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nimnual_Sa_front.pdf411.33 kBAdobe PDFView/Open
Nimnual_Sa_ch1.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Nimnual_Sa_ch2.pdf302.08 kBAdobe PDFView/Open
Nimnual_Sa_ch3.pdf385.42 kBAdobe PDFView/Open
Nimnual_Sa_ch4.pdf454.95 kBAdobe PDFView/Open
Nimnual_Sa_back.pdf795.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.