Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24968
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิภาวรรณ มนุญปิจุ-
dc.contributor.advisorประภาวดี สืบสนธิ์-
dc.contributor.authorรัตนา กระแสชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-21T07:54:02Z-
dc.date.available2012-11-21T07:54:02Z-
dc.date.issued2525-
dc.identifier.isbn9745615595-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24968-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในบริการห้องสมุด ปัญหาตลอดจนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษาที่มีต่อบริการต่าง ๆ ของห้องสมุดคระแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงบริการห้องสมุดให้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษามากยิ่งขึ้น ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามให้แก่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 – 6 ประจำปีการศึกษา 2524 – 2525 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 162 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืน 133 ชุด คิดเป็นร้อยละ 82.10 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 มีความต้องการในบริการห้องสมุดและทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉลี่ยน้อยกว่านักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 – 6 บริการที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความต้องการใช้มากที่สุด ได้แก่ บริการปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด บริการยืม- คืนหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และบริการโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์ บริการที่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 – 6 มีความต้องการใช้มากที่สุด ได้แก่ บริการยืม – คืนหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ บริการโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์บริการดรรชนีวารสารทางการแพทย์ภาษาไทย และบริการแนะนำการใช้ดรรชนีวารสารภาษาต่างประเทศ (Index Medicus) วารสารสาระสังเขป สำหรับวัสดุสิ่งพิมพ์และคู่มือช่วยค้นที่นักศึกษาแพทย์ทั้งสองกลุ่มมีความต้องการใช้มากที่สุด ได้แก่ หนังสือทางการแพทย์ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย และบัตรรายการ ปัญหาในการใช้บริการและทรัพยากรห้องสมุดที่นักศึกษาแพทย์ทั้งสองกลุ่มประสบอยู่ได้แก่ หนังสือทางการแพทย์ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย และวารสารภาษาไทยไม่เพียงพอกับความต้องการ ห้องสมุดมีโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์จำนวนน้อย ไม่ทราบวิธีใช้ดรรชนีวารสารทางการแพทย์ภาษาต่างประเทศ นอกจากนี้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 – 6 ยังประสบปัญหาในระดับปานกลาง เกี่ยวกับไม่ได้รับข้อมูลที่ต้องการจากการให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าของบรรณารักษ์อีกประการหนึ่งด้วย สำหรับความคิดเห็นของนักศึกษาแพทย์ทั้งสองกลุ่มที่มีต่อความเหมาะสมของบริการทรัพยากรห้องสมุด อาคารสถานที่ บุคลากร และระเบียบการใช้ห้องสมุดนั้นปรากฏว่าโดยเฉลี่ยจัดอยู่ในระดับปานกลาง ผลจากการวิจัยครั้งนี้บรรณารักษ์สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงบริการห้องสมุดให้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาแพทย์ ( เช่น เพิ่มจำนวนโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์ เพิ่มจำนวนหนังสือทางการแพทย์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษและวารสารทางการแพทย์ภาษาไทย ) ปรับปรุงวิธีการปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด จัดทำรายชื่อหนังสือและวารสารใหม่ ให้สามารถนำออกบริการอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทำคู่มืออธิบายวิธีใช้หนังสืออ้างอิงและคู่มือช่วยค้นที่ยากแก่การใช้เป็นต้น จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือ ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ควรทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลทางการแพทย์ของภาคเหนือ ในการให้บริการแก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นบุคลากรในวิชาชีพสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และบรรณารักษ์ควรมีการติดตามความก้าวหน้าใหม่ ๆ เกี่ยวกับบริการช่วยค้นสารนิเทศทางการแพทย์จากศูนย์ข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มขึ้น สำหรับห้องสมุดโรงเรียนแพทย์ทุกแห่งควรร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดมากขึ้นและควรพิจารณาหาทางให้แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ได้เข้ามามีบทบาทในการอบรมบรรณารักษ์ของห้องสมุดแพทย์ นอกจากนี้สถาบันการศึกษาวิขาแพทยศาสตร์ และให้แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ควรผลิตหนังสือและวารสารวิชาการภาษาไทยเพิ่มขึ้นด้วย-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research are to study the needs for library services of medical students of Chiang Mai University, to find out their problems in using library services together with their opinions and recommendations concerning the services offered by the Faculty of Medicine Library. The findings will be used as the guideline for improving library services. The data were analized from 133 completed questionnaires, or 82.10 percent of the total distributed number of 162, sent to randomly chosen medical students of the 1981-1982 academic year. The results can be summarized as follow: On the average, the needs of the first year medical students for library services and for resources were lower than those of the second to the sixth year medical students. The primary needs of the first year medical students were for: library orientation, circulations and audio-visual materials, while the second to sixth year medical students indicated their specific needs for: circulation, audio-visual materials, indexing of Thai medical journal articles and guides for using Index Medicus and abstract journals. Library materials and searching tools mostly needed by medical students were English and Thai medical books and card catalogs. Problems faced by both groups of medical students in using library services and resources were: inadequate number of English and Thai medical books and Thai Medical journals, small number of audio-visual materials and a lack of knowledge in how to use Index Medicus. In addition, the second to the sixth year medical students also moderately faced the problem of not having satisfactory reference services. For their perspectives toward library services, resources, library building, staff and library regulations, the respondents appeared to be moderately satisfied. The results of this research can serve librarians as the guideline for improving library services, and fulfilling the needs of the medical students (for instance, add up audio-visual collection, English and Thai medical books and Thai medical journals), improving library orientation, providing more regular issueing of new book and journal lists, and preparing of manuals for the use of some complicated library materials. Additional recommendations are : the Faculty of Medicine Library, Chiang Mai University, should its role as the Northern medical information center to provide information services for the outsiders and health sciences practitioners in that region. Besides, it is recommended that librarians in charge should acquire more modern search techniques for retrieving information on current technology and new developments in health sciences field. Recommendations to all medical school libraries are to improve cooperation among them. They should ask for support from the Thai Medical Association and request it to join in the task of training medical librarians. In addition, schools of medicine and the Thai Medical Association should produce more Thai medical books and journals.-
dc.format.extent572584 bytes-
dc.format.extent358542 bytes-
dc.format.extent1835571 bytes-
dc.format.extent677355 bytes-
dc.format.extent2369852 bytes-
dc.format.extent1093763 bytes-
dc.format.extent953785 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectห้องสมุดกับผู้อ่าน-
dc.subjectห้องสมุดและบริการของห้องสมุด-
dc.subjectห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา-
dc.titleความต้องการในบริการห้องสมุดของนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en
dc.title.alternativeThe needs for lirary services of medical students of Chiang Mai Universityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana_Kr_front.pdf559.16 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Kr_ch1.pdf350.14 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Kr_ch2.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Kr_ch3.pdf661.48 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Kr_ch4.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Kr_ch5.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Kr_back.pdf931.43 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.