Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25364
Title: รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนเพื่อพัฒนาด้านวัฒนธรรม
Other Titles: A model of relationship between Rajabhat Institutes and community for cultural development
Authors: สุดารัตน์ ชาญเลขา
Advisors: ธิดารัตน์ บุญนุช
พรชุลี อาชวอำรุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม
ชุมชนกับสถาบันอุดมศึกษา
สถาบันราชภัฏ
วัฒนธรรม
Cultural relations
Community and college
Culture
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับชุมชน ในการมีส่วนร่วมเพื่อการวางแผนพัฒนาด้านวัฒนธรรม (2) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนเพื่อพัฒนาด้านวัฒนธรรม (3) ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนในฝั่งธนบุรี ผลการวิจัยนำเสนอตามขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ ตอนที่ 1 : การศึกษาแนวคิดทฤษฎี มีการศึกษา 2 ส่วน คือ การศึกษาเอกสาร สิ่งพิมพ์ทั่วไปที่เกี่ยวข้อง และศึกษาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารจากสถาบันราชภัฏ และผู้แทนชุมชนในเขตพื้นที่ตั้งของสถาบันราชภัฏพบว่า สถาบันอุดมศึกษาควรต้องสนองรับนโยบายของรัฐจากข้อกำหนดตามกฎหมายให้สถาบันการศึกษากระจายอำนาจให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานด้านวัฒนธรรมจัดการศึกษา จัดกระทำสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ และดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านวัฒนธรรมด้วยกระบวนการพลังร่วม ตอนที่ 2 : การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนเพื่อพัฒนาด้านวัฒนธรรม ผู้วิจัยนำเสนอ ส่วนที่ 1 ด้วยการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนตามสภาพที่ปรากฏในปัจจุบันกับสภาพที่ต้องการให้เกิดในอนาคต ด้วยการหาค่าที (t-test) พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนเพื่อพัฒนาด้านวัฒนธรรมตามสภาพที่ปรากฏในปัจจุบันกับสภาพที่ต้องการให้เกิดในอนาคต ทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยค่าความเชื่อร้อยละ 99 จากนั้นศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มสถาบันราชภัฏ จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกรุงเทพมหานคร กลุ่มภาคกลาง กลุ่มภาคเหนือ กลุ่มภาคใต้ และกลุ่มภาคอีสาน โดยการศึกษาตามสภาพที่ปรากฎในปัจจุบันและศึกษาตามสภาพที่ต้องการให้เกิด ด้วยการหาค่า F (F-test) พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนจากภาพรวมในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) เป็นการวิเคราะห์เพื่อมุ่งเน้นการจัดกลุ่มตัวแปรตามสภาพปรากฎในปัจจุบัน และตามสภาพที่ต้องการ พบว่า ความต้องการให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชน เพื่อพัฒนาวัฒนธรรม มีทั้งหมด 15 องค์ประกอบ ทั้ง 15 องค์ประกอบนี้ ผู้วิจัยนำไปบูรณาการกับข้อค้นพบในตอนที่ 1 เพื่อเป็นฐานในการพัฒนารูปแบบ จนได้รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชน เพื่อพัฒนาด้านวัฒนธรรมดังนี้ ระดับนโยบายเป็นการบริหารแบบส่วนร่วม ได้แก่ การวางแผนพัฒนาด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วยขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ และขั้นประเมินผล ระดับปฏิบัติการ (1) การจัดการศึกษาด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร และการปรับกระบวนการเรียนการสอน (2) การจัดกระทำสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ ได้แก่ การรวบรวม การเผยแพร่ การพัฒนา และการให้ความรู้วิธีการรวบรวมและพัฒนา (3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านวัฒนธรรมด้วย กระบวนการพลังร่วม ได้แก่ ให้ความรู้วิธีการอนุรักษ์วัฒนธรรม ฝึกปฏิบัติวิธีการอนุรักษ์วัฒนธรรมแสวงหาความร่วมมือด้านบุคลากร ด้านทรัพยากร ด้านงบประมาณ แสวงหางบประมาณกับองค์กรชุมชน แลกเปลี่ยนความรับผิดชอบด้านงบประมาณ ทรัพยากร บุคลากร กิจกรรมและการประสานให้เป็นเอกภาพ ตอนที่ 3: ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนเพื่อพัฒนาด้านวัฒนธรรมในฝั่งธนบุรี ผู้วิจัยจัดประชุมอาศรม เรื่อง โครงการศูนย์กรุงธนบุรีศึกษา โดยเชิญชุมชนในฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นคณะกรรมการของสภาวัฒนธรรมเขตต่างๆจำนวน 15 เขต มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 42 คน ผลการแสดงความคิดเห็น ภายหลังการประชุมจากการตอบแบบแสดงความคิดเห็น พบว่า ชุมชนฝั่งธนบุรีเห็นด้วยร้อยละ 83.45 ในการนำรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนมาใช้กับโครงการจัดตั้งศูนย์ กรุงธนบุรีศึกษาครั้งนี้
Other Abstract: The objectives of this research are (1) to study idea of relationship models between higher education institutes and community for cultural co-operation and development; (2) to develop a model relationship between Rajabhat Institutes and community for cultural development; (3) to test the appropriateness of a model relationship between Rajabhat Institutes and Dhonburi community. Results of the study in accordance with methodological stages are as follows. First stage : the study of concepts and theories divided into two parts: studying related documents and interviewing Rajabhat institutes administrators and representatives around Rajabhat institutes areas. The findings are as follow: the higher education has to agree with the government’s policy in delegating authority to the community; to implement cultural education, national cultural interactive media, and unite cultural developing with united method. Second stage: the developing of a model of relationship between Rajabhat institutes and the community for cultural development. Results of the test in the first stage by comparison the relationship between Rajabhat institutes and the community as reality and expected circumstances both planning and implementation as indicated by t-test at 99% significant difference. The comparison study among five Rajabhat institutes: Bangkok, Central part, Northern, Southern, and northeastern according to reality and expected circumstances by F-test. There is no significant difference in the relationship between planning and implementation. In the second stage: the factor analysis is aimed to classify the variable according to reality and expected circumstances that can be included in 15 factors. The researcher has integrated these 15 factors with the findings in the first stage as the initiation of the model development. Consequently, the model of relationship between Rajabhat Institutes and community has been taken place as follow: The policy level is the co-operate administration, such as cultural development planning including preparation, procedure, and evaluation The operating level (1) educational management such as curriculum developing, and school adapting (2) national cultural interactive media management such as collecting, publicizing, developing, and educating the method of national interactive collection and development. (3) the strategies of cultural developing with united process such as educating cultural preservation, practicing cultural preservation in individual resources, natural resources, budget among community organization, exchanging the responsibilities among budget natural and individual resources, activities, and uniting co-operation. The third stage: to test the appropriateness of the relationship model between Rajabhat institutes and community for Dhonburi cultural development by providing the meeting of Dhonburi hermitage community under the title “Dhonburi Study Center Program” comprising forty-two members from fifteen regional cultural committee. From discussions, 83.45% agree that the model of relationship between Rajabhat institutes and community can be undertaken with the program of Dhonburi Study Center.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25364
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.694
ISBN: 9743732438
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.694
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudarat_ja_front.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_ja_ch1.pdf5.99 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_ja_ch2.pdf22.76 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_ja_ch3.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_ja_ch4.pdf33.99 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_ja_ch5.pdf8.07 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_ja_back.pdf16.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.