Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25641
Title: ความคิดเห็นของผู้ป่วยเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ขณะพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
Other Titles: Opinions of hospitalized patients concerning daily living needs during admittance in the hospitals
Authors: เรณุมาศ วิจิตรรัตนะ
Advisors: นพรัตน์ ผลาพิบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของผู้ป่วย เกี่ยวกับความต้องการ พื้นฐานในชีวิตประจำวันขณะพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล และเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชนกับผู้ป่วยแผนกพิเศษในโรงพยาบาลรัฐบาล ผู้ป่วยแผนกพิเศษกับผู้ป่วยแผนกสามัญในโรงพยาบาลรัฐบาล ผู้ป่วยเพศชายกับผู้ป่วยเพศหญิง และผู้ป่วยที่เป็นโสดกับผู้ป่วยที่แต่งงานแล้ว โดยส่วนรวมและรายหมวด ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนจำนวน 30 คน ผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในแผนกพิเศษโรงพยาบาลรัฐบาลจำนวน 30 คน และผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาตัวในแผนกสามัญโรงพยาบาลรัฐบาลจำนวน 30 คน การเลือกตัวอย่างประชากรใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งพวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและได้นำไปหาความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงมีค่าเป็น 0.91 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าคะแนนเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยให้ความสำคัญเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานในชีวิตประจำวันขณะพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลในหมวดความต้องการรับรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นอันดับแรก รองลงมาคือความต้องการเป็นอิสระ ความต้องการพึ่งพาอาศัยคนอื่น และความต้องการความปลอดภัยตามลำดับซึ่งความต้องการดังกล่าวเป็นความต้องการด้านจิตใจ ส่วนความต้องการทางด้านร่างกายผู้ป่วยให้ความสำคัญเกี่ยวกับความต้องการอาหารและน้ำดื่มเป็นอันดับแรก รองลงมาคือความต้องการอากาศบริสุทธิ์ อุณหภูมิที่พอเหมาะ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และความสะอาดส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม ความต้องการพักผ่อนนอนหลับและการออกกำลังกาย ความต้องการเกี่ยวกับการขับถ่าย และความต้องการทางเพศ ตามลำดับ 2. คะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานในชีวิตประจำวันขณะพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชน กับผู้ป่วยแผนกพิเศษในโรงพยาบาลรัฐบาล ทั้งโดยส่วนรวมและรายหมวด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงสนองสมมติฐานที่ว่า ความคิดเห็นของผู้ป่วยเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานในชีวิตประจำวันขณะพักรักษาตัวอยู่ในแผนกพิเศษของโรงพยาบาลรัฐบาล และโรงพยาบาลเอกชน ไม่แตกต่างกัน 3. คะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานในชีวิตประจำวันขณะพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลของผู้ป่วยแผนกพิเศษกับผู้ป่วยแผนกสามัญ ของโรงพยาบาลรัฐบาล ทั้งโดยส่วนรวมและรายหมวด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นหมวดที่ 4 ความต้องการพักผ่อนนอนหลับและการออกกำลังกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงสนองสมมติฐานที่ว่า ความคิดเห็นของผู้ป่วยเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานในชีวิตประจำวันขณะพักรักษาตัวอยู่ในแผนกพิเศษกับแผนกสามัญของโรงพยาบาลรัฐบาลไม่แตกต่างกัน 4. คะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานในชีวิตประจำวันขณะพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลของผู้ป่วยเพศชายกับผู้ป่วยเพศหญิงทั้งโดยส่วนรวมและรายหมวดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงสนองสมมติฐานที่ว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยที่มีความแตกต่างกันในเรื่องเพศ (ชาย-หญิง) ขณะพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลไม่แตกต่างกัน 5. คะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานในชีวิตประจำวันขณะพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ของผู้ป่วยที่เป็นโสดกับผู้ป่วยที่แต่งงานแล้วไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงสนองสมมติฐานที่ว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยที่มีความแตกต่างกันทางสถานภาพสมรส (โสดกับสมรสแล้ว) ขณะพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this research were to study to compare the opinions between hospitalized patients in hospital and patients in private sector of government hospitals, between patients in private sector and patients in general sector of government hospitals, between patients concerning their daily living needs during hospitalized in the hospitals. The sample was consisted of 30 patients from the private hospitals, 30 patients from the private sector of government hospitals and 30 patients from the general sector of government hospitals. The stratified random sampling method was employed in selecting the sample groups. The questionnaire developed by the researcher was tested for the content validity and its reliability was 0.91, various statistics such as arithmetic mean, standard deviation and t-test were used to analyse the data. The findings are as the following: 1. The patients opinion concerning daily living needs showed that the need for acceptance was ranked first, where as the need for independence, the need for dependence and the need ‘for safety were ranked second, third and fourth, respectively. In addition, the patients opinion concerning physiological needs showed that need for food and water were ranked first, where as, need for oxygen, temperature, clothing, shelter and cleanliness; the need for rest, sleep and activity; the need for elimination; and the need for sex were ranked second, third, fourth and fifth, respectively. 2. There was no statistically significant difference of opinions between patients in private hospital and patients in private sector of government hospitals concerning daily living needs in the total and in each area the .05 level. The hypothesis “there is no difference of patients’opinion concerning daily living needs during admittance in the hospitals between patients in private hospital and patients in private sector of government hospitals” had been tested and was retained. 3. There was no statistically difference of opinions between patients in private sector and patients in general sector of government hospitals concerning daily living needs in general sector of government hospitals concerning daily living needs in the total and in each area at the .05 level. The hypothesis “there is no difference of patients’ opinion concerning daily living needs during admittance in the hospitals between patients in private sector and patients in general sector of government hospitals” had been tested and was retained. 4. There was no statistically significant difference of opinions between male and female patients concerning daily living needs in the total and in each area at the .05 level. The hypothesis “there is no difference of patients’ opinion concerning daily living needs during admittance in the hospital between male and female patients” had been tested and was retained. 5. There was no statistically significant difference of opinions between single and married patients concerning daily living needs in the total and in each area at the .05 level. The hypothesis “there is no difference of patients’ opinion concerning daily living needs during admittance in the hospital between single and married patients’ had been tested and was retained.
Description: วิทยานิพนธ์(ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25641
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ranumas_Wi_front.pdf524.49 kBAdobe PDFView/Open
Ranumas_Wi_ch1.pdf468.03 kBAdobe PDFView/Open
Ranumas_Wi_ch2.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Ranumas_Wi_ch3.pdf353.65 kBAdobe PDFView/Open
Ranumas_Wi_ch4.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open
Ranumas_Wi_ch5.pdf718.21 kBAdobe PDFView/Open
Ranumas_Wi_back.pdf784.43 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.