Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25664
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อนุชิต ล้ำยอดมรรคผล | - |
dc.contributor.advisor | สิชล จันทรัศมี | - |
dc.contributor.author | เรณุกา สุวรรณโณ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-23T09:07:02Z | - |
dc.date.available | 2012-11-23T09:07:02Z | - |
dc.date.issued | 2528 | - |
dc.identifier.isbn | 9745661104 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25664 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | en |
dc.description.abstract | สินทรัพย์สำคัญอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจประเภทสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายคือ เงินลงทุนจำนวนมากในรูปสินค้าคงคลังหรือคงเหลือ การบริหารสินค้าคงเหลืออย่างมีประสิทธิภาพจะก่อกำไรอย่างมากแก่บริษัท หลักการบริหารสินค้าคงเหลือคือ ควรจะสั่งสินค้าแต่ละชนิดเมื่อใด ปริมาณเท่าใดจึงจะเพียงพอความต้องการของลูกค้าโดยมีสินค้าคงเหลือหมุนเวียนในห้องเก็บในระดับพอเหมาะ เป็นที่ยอมรับว่าประสบการณ์ส่วนตัวเพียงอย่างเดียวไม่สามารถบริหารการจัดการเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือได้อย่างน่าพอใจ นักบริหารส่วนใหญ่ที่รับผิดชอบในด้านนี้พยายามเสาะหาหลักวิชาการใหม่ ๆ มาปรับปรุงการดำเนินการหลังจากที่ได้ทดลองและมีความมั่นใจต่อการค้นคว้าว่าจะได้ผล วิทยานิพนธ์นี้แสดงผลการศึกษาในแง่ทฤษฎี แง่การจำลองแบบและแง่ให้แนวทางการนำไปใช้ในบริษัทสั่งอะไหล่รถยนต์มาจำหน่ายโดยศึกษาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียกับวิธีการที่บริษัทดังกล่าวใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนทฤษฎี เป็นการสร้างสูตรเพื่อคำนวณระยะเวลาที่เหมาะสมในการสั่งสินค้าและปริมาณสินค้าที่จะสั่งในแต่ละครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ค่าใช้จ่ายรวมมีค่าต่ำที่สุด เมื่อลักษณะความต้องการของลูกค้าสามารถเขียนอยู่ในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์บางรูปแบบ ส่วนการจำลองแบบ จะศึกษาถึงความจำเป็นในการนำค่าดัชนีฤดูกาลเข้ามาพิจารณาในการกำหนดนโยบายการสั่งสินค้า เมื่อลักษณะความต้องการของลูกค้ามีความผันแปรตามฤดูกาลโดยจะเปรียบเทียบวิธีการสั่งสินค้า 2 วิธีคือ การสั่งสินค้าโดยพิจารณาจากปัจจัยค่าแนวโน้มเพียงอย่างเดียว และการสั่งสินค้าโดยพิจารณาทั้งค่าแนวโน้มและดัชนีฤดูกาล จากการศึกษาพบว่า การนำค่าดัชนีฤดูกาลเข้ามาในการกำหนดนโยบายการสั่งสินค้าจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของสมการแนวโน้ม พารามิเตอร์ของสมการแนวโน้มในแต่ละแบบ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าดัชนีฤดูกาลข้อสรุปสำคัญคือ โดยเฉลี่ยแล้ววิธีการสั่งสินค้าที่ใช้ทั้งค่าแนวโน้มและดัชนีฤดูกาล จะทำให้ค่าใช้จ่ายรวมมีค่าต่ำกว่าวิธีการสั่งสินค้าที่ใช้ค่าแนวโน้มเพียงอย่างเดียว ส่วนการประยุกต์ แสดงให้เห็นความสำคัญของการนำหลักเกณฑ์ทางวิชาการมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานควบคุมสินค้าคงเหลือของบริษัทกิจกมลสุโกศล จำกัด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายใต้นโยบายเชิงปฏิบัติการของบริษัท โดยนำสินค้าคงเหลือประเภทอะไหล่รถยนต์จำนวน 10 รายการเป็นตัวแทนในการศึกษา จากการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ แล้ววางแผนการควบคุมสินค้าคงเหลือโดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ๆ คือ การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า ผลการศึกษาพบว่าแผนการสั่งสินค้าที่ผู้เขียนเสนอแนะจะไม่กระทบแผนปฏิบัติงานจริงของบริษัทมากนัก และสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายในการจัดการสินค้าคงเหลือด้วยความเชื่อมั่นสูง กล่าวคือ อะไหล่บางรายการมีปริมาณสินค้าขาดมือน้อยลงในขณะเดียวกันอะไหล่บางรายการก็มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของลูกค้าโดยไม่มีสินค้าเหลืออยู่มากเกินไป ทำให้เกิดแนวทางอีกแนวหนึ่งที่น่าจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการสินค้าคงเหลือ อีกนัยหนึ่งคือทำให้การบริหารสินค้าคงเหลือของบริษัทกิจกมลสุโกศลจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | - |
dc.description.abstractalternative | One of the valuable assets of firms which order goods to sell is the investment in terms of stocked goods. Efficient inventory management has been proved to make a great of profit to the firm. The inventory managing principle consists of ; for each type of goods, how much and when to order so that it will be sufficient to satisfy the demand and the inventory level. Just personal experience is not sufficient for managing the inventory problems; therefore, top managers are now still seeking some new academic methods to improve the ordering policies after they have verified the results of the studies. This thesis shows some results of the study three main aspects; theoretical, simulation and practical study in the auto-parts firms. This study compares the adventages and disadventages of the method suggested by the researcher with the present method used by the firm. The theoretical part provides some systematic formulation of an appropriate timing and quantity of goods ordered to give the minimum total cost when the customers’ demands can be expressed by some mathematical models. The simulation part determines the necessity of seasonal index in the model which already has trend factor to add help determining quantity of invoiced good, when seasonal variation of goods existed among customers. By means of comparing two techniques of goods ordering, one bases solely upon future trend and the other considers both trend and seasonal index factos. The findings has shown that seasonal demand index of advantage to the firm’s policy owing future trend equation, demand index. Further, it has been found that ordering policy by considering future demand trend and seasonal demand index have altogether reduced the total cost more than the former method alone. The application part shows haw to utilize the academic principles to administer the inventory ordering policy of the Kijkamol Sukosol company under the firm’s actual operation technique. Ten items of automobile spare-parts are selected as representative of the study. After has been carefully observing various data and administered the inventory in order to predict the customers’ it is found that the firm’s business would meet its goal with high significant level in inventory. Goods ordering technique suggested by the researcher does not agitate the form’s day actual operation at any extent Some items will have less dhortage while some certain items serve need of the customers without much surplus. The result provided another alternative to reduce inventory cost, in another word, to give an efficient inventory mandgem method to Kijkamol Sukosol company. | - |
dc.format.extent | 557792 bytes | - |
dc.format.extent | 440225 bytes | - |
dc.format.extent | 813080 bytes | - |
dc.format.extent | 2026426 bytes | - |
dc.format.extent | 973062 bytes | - |
dc.format.extent | 406615 bytes | - |
dc.format.extent | 10006263 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การวิเคราห์ปัญหาสินค้าคงเหลือสำหรับสินค้า ที่ยอดขายมีความผันแปรตามฤดูกาล | en |
dc.title.alternative | An analysis on inventory problems with seasonal variations in total sales | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถิติ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Renuka_Su_front.pdf | 544.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Renuka_Su_ch1.pdf | 429.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Renuka_Su_ch2.pdf | 794.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Renuka_Su_ch3.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Renuka_Su_ch4.pdf | 950.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Renuka_Su_ch5.pdf | 397.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Renuka_Su_back.pdf | 9.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.