Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25805
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพร้อมพรรณ อุดมสิน
dc.contributor.authorสมศักดิ์ ฉันทานุรักษ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-24T07:00:08Z
dc.date.available2012-11-24T07:00:08Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745665916
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25805
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนแผนการเรียนเกษตรกรรม ในโรงเรียนสังกัดกรมอาชีวศึกษาและสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6 2. เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของนักเรียนแผนการเรียนเกษตรกรรมที่มีข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนสังกัดกรมอาชีวศึกษาและสังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 6 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบวินิจฉัยการเรียนคณิตศาสตร์ 2 ฉบับคือเรื่อง “การบวกลบคูณหารจำนวนจริง” และเรื่อง “โพลิโนเมียลและคุณสมบัติเบื้องต้นเกี่ยวกับสมการ “นำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เป็นนักเรียนแผนการเรียนเกษตรกรรมในเขตการศึกษา 6 จำนวน 353 คนเป็นนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรมอาชีวศึกษาจำนวน 166 คนและนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาจำนวน 187 คน นำคำตอบที่ได้มาวินิจฉัยหาข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์พร้อมทั้งหาสาเหตุของข้อบกพร่องนั้น และเปรียบเทียบสัดส่วนของนักเรียนที่มีข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ทั้งสองกลุ่ม ผลการวิจัย 1. ผลการวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนแผนการเรียนเกษตรกรรม จากการทำแบบทดสอบวินิจฉัยการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง “การบวก ลบ คูณ หาร จำนวนจริง” พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีข้อบกพร่องในด้านการหาผลบวกของเศษส่วนที่ส่วนไม่เท่ากันและไม่อยู่ในรูปจำนวนคละ มีสาเหตุสำคัญเนื่องมาจากนักเรียนสับสนกระบวนการในการหา ค.ร.น.ของส่วน รองลงมาได้แก่ ด้านการหาผลหารของเศษส่วน มีสาเหตุสำคัญเนื่องมาจากนักเรียนสับสนกระบวนการโดยเปลี่ยนการหารเป็นการคูณแล้วไม่กลับเศษส่วน การวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนจากการทำแบบทดสอบวินิจฉัยการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง “โพลีโนเมียลและคุณสมบัติเบื้องต้นเกี่ยวกับสมการ” พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีข้อบกพร่องในด้านการหาผลต่างของโพลีโนเมียล มีสาเหตุสำคัญเนื่องมาจากนักเรียนสับสนเครื่องหมายในการคำนวณรองลงมาได้แก่ ด้านการหาผลหารของโพลีโนเมียลหารด้วยโมโนเมียลที่หารลงตัวมีสาเหตุสำคัญเนื่องมาจากนักเรียนสับสนกระบวนการโดยนำเลขชี้กำลังมาหารกันด้วย 2. สัดส่วนของนักเรียนแผนการเรียนเกษตรกรรมที่มีข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดกรมอาชีวศึกษาและในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the study 1. To diagnose the mathematics learning deficiencies of agriculture program students in schools under the Vocational Education Department and schools under the General Education Department in educational region six. 2. To compare the proportion of agriculture program students who had mathematics learning deficiencies in schools under the Vocational Education Department and schools under the General Education Department in educational region six. Procedure the researcher constructed two diagnostic tests. The first one was about “ addition, subtraction, multiplication and division of real numbers “ and the second one was bout “ polynomial and the basic properties of equations”. The two tests were administered to samples who were 353 agriculture program students in educational region six: 166 students from the schools under the Vocational Education Department and 187 students from the schools under the General Education Department. The obtained data were analysed to diagnose he mathematics learning deficiencies and investigate the causes of deficiencies, and to compare the proportion of students having mathematics learning deficiencies. Results 1. It was found that most of the students who took the first testhad deficiency in addition of fractions with no common denominators and fractions which were not in the compound fractions. The important cause was due to the fact that the students did not understand the process of finding the least common denominators before adding the fractions. Another deficiency was about computing quotients of fractions. The main cause was due to the fact that the students failed to follow the process of reversing the fraction and then changed the division sign to the multiplication sign. Most of students who took the second test had deficiency in subtraction of polynomial resulting from not understanding the operations. Another deficiency was about the division of polynomial by monomial. The important cause was that the students solved the equations by dividing index numbers of polynomial by index numbers of monomial. 2. There was no significant difference between the proportion of students who had the mathematics learning deficiencies in schools under the Vocational Education Department and those under the General Education Department.
dc.format.extent462768 bytes
dc.format.extent361558 bytes
dc.format.extent913134 bytes
dc.format.extent484348 bytes
dc.format.extent803713 bytes
dc.format.extent473153 bytes
dc.format.extent1100528 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน แผนการเรียนเกษตรกรรม เขตการศึกษา 6en
dc.title.alternativeA diagnosis of mathematics learning deficiencies of agriculture program students, educational region sixen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak_Cha_front.pdf451.92 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Cha_ch1.pdf353.08 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Cha_ch2.pdf891.73 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Cha_ch3.pdf473 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Cha_ch4.pdf784.88 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Cha_ch5.pdf462.06 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Cha_back.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.