Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25917
Title: | ทัศนะของบุคลากรโรงพยาบาลต่อสภาพและบริการห้องสมุดโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี |
Other Titles: | Hospital staff's viewpoint on conditions and library services of Phrapokklao Hospital Chantaburi |
Authors: | สรีระเพ็ญ โอทกานนท์ |
Advisors: | เอนก หิรัญรักษ์ วงศ์วรรณ วงศ์สุภา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรโรงพยาบาลต่อสภาพและบริการห้องสมุดโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ทั้งในเรื่องอาคารสถานที่ วัสดุครุภัณฑ์ วัสดุสิ่งพิมพ์ บุคลากรของห้องสมุด ระเบียบการใช้ห้องสมุด บริการต่างๆ ของห้องสมุด ตลอดจนความต้องการในการใช้บริการห้องสมุดรวมทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะ เพื่อนำผลการศึกษามาเป็นแนวทางในการพัฒนาห้องสมุดโรงพยาบาลพระปกเกล้า และห้องสมุดโรงพยาบาลแห่งอื่น ๆ ด้วย ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยส่งแนบแบบสอบถามถึงบุคลากรโรงพยาบาลพระปกเกล้า 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแพทย์ กลุ่มพยาบาล และกลุ่มนักวิชาการ รวม 360 ชุด ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 283 ชุด คิดเป็นร้อยละ 78.61 ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มแพทย์เป็นผู้ที่ใช้ห้องสมุดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 98.33 รองลงมาได้แก่กลุ่มนักวิชาการ ร้อยละ 95.24 ส่วนกลุ่มพยาบาลใช้ห้องสมุดเพียงร้อยละ 35.15 และกลุ่มพยาบาลซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ใช้ห้องสมุดส่วนใหญ่ให้เหตุผลสำคัญในการไม่ใช้ห้องสมุดว่า ไม่มีเวลาไปใช้ห้องสมุด จากการศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้บริการห้องสมุดที่มีต่อสภาพและบริการของห้องสมุดแล้ว ปรากฏว่าบุคลากรทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นสรุปรวมว่า ห้องสมุดโรงพยาบาลพระปกเกล้าจัดอยู่ในเกณฑ์ดี ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ คือ อาคารสถานที่ วัสดุครุภัณฑ์ บุคลากรของห้องสมุด ระเบียบการใช้ห้องสมุด และบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด โดยมีค่าเฉลี่ของน้ำหนักความคิดเห็นในเรื่อง การปฏิบัติงานของบุคลากรห้องสมุดสูงสุด ส่วนค่าเฉลี่ยของน้ำหนักความคิดเห็นรวมของบุคลากรทั้ง 3 กลุ่ม ที่อยู่ในเกณฑ์ปานกลางนั้นมีเพียงเรื่องเดียว ได้แก่ เรื่องวัสดุสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด เมื่อทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยของน้ำหนักความคิดเห็นต่อสภาพและบริการของห้องสมุดของบุคลากรทั้ง 3 กลุ่มแล้ว พบว่ามีความแตกต่างกันในรายละเอียดย่อยบางเรื่องดังนี้ คือเรื่อง บุคลากรของห้องสมุด ระเบียบการใช้ห้องสมุด โดยเฉพาะเรื่องวัสดุสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด ปรากฏว่ากลุ่มแพทย์มีความเห็นว่าวัสดุสิ่งพิมพ์ของห้องสมุดจัดอยู่ในเกณฑ์ดี แต่กลุ่มพยาบาลและกลุ่มนักวิชาการเห็นว่าวัสดุสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด จัดอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น สำหรับความต้องการในการใช้บริการต่าง ๆ ของห้องสมุด พบว่าบุคลากรทั้ง 3 กลุ่ม มีความต้องการในการใช้บริการอยู่ในระดับปานกลาง โดยต้องการใช้บริการยืม – คือหนังสือ วารสารและสิ่งพิมพ์มากที่สุด บริการอื่น ๆ ที่อยู่ในเกณฑ์ปานกลางสูงสุด ได้แก่บริการการถ่ายเอกสาร ส่วนบริการที่ผู้ใช้มีความต้องการอยู่ในระดับน้อยได้แก่บริการขอถ่ายเอกสารจากต่างประเทศ เมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนของความต้องการ ปรากฏว่าบุคลากรทุกกลุ่มมีความต้องการแตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบในระหว่างกลุ่มแพทย์ด้วยกัน พบว่าแพทย์และทันตแพทย์มีความคิดเห็นในเรื่องสภาพและบริการของห้องสมุดแตกต่างจากแพทย์ฝึกหัดและนิสิตแพทย์ในเรื่อง วัสดุสิ่งพิมพ์และบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด เมื่อเปรียบเทียบความต้องการในการใช้บริการต่าง ๆ ของบุคลากรกลุ่มนี้ พบว่ามีความแตกต่างกัน ในกลุ่มพยาบาลซึ่งประกอบด้วยพยาบาลและเจ้าหน้าที่พยาบาล ปรากฏว่ามีความคิดเห็นต่อสภาพและบริการของห้องสมุดแตงต่างกันเฉพาะในเรื่องวัสดุสิ่งพิมพ์และในเรื่องของความต้องการในการใช้บริการต่าง ๆ ของห้องสมุด พบว่ามีความแตกต่างกันด้วย จากผลของการวิจัย มีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาห้องสมุดโรงพยาบาลพระปกเกล้าคือ ห้องสมุดควรเตรียมการกำหนดเนื้อที่สำหรับการขยายตัวของห้องสมุดในอนาคต ซึ่งอาจทำได้โดยการเปิดห้องสมุดพยาบาลเป็นห้องสมุดสาขา หรือใช้วิธีจัดเก็บสิ่งพิมพ์ในรูปวัสดุย่อส่วน ห้องสมุดโรงพยาบาลพระปกเกล้าควรสร้างความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงพยาบาลที่อยู่ในภาคตะวันออกและห้องสมุดที่ร่วมอยู่ในโครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบท ห้องสมุดควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดสำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่เป็ยพยาบาล และควรให้บุคลากรทุกฝ่ายของโรงพยาบาลมีส่วนร่วมในการสั่งซื้อหนังสือและสิ่งพิมพ์เข้าห้องสมุด นอกจากนี้บรรณารักษ์ของห้องสมุดควรพัฒนางานบริการต่าง ๆ ของห้องสมุดที่จัดให้บริการอยู่แล้วในปัจจุบัน อาทิ เพิ่มวิธีการแนะนำการใช้ห้องสมุด ลดราคาค่าถ่ายเอกสาร ปรับปรุงบริการกฤตภาค รวมทั้งจัดบริการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นจากที่อยู่เดิม ส่วนข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารคือ ควรจัดสรรงบประมาณพิเศษให้กับห้องสมุดโรงพยาบาลที่จะทำหน้าที่ในฐานะโรงเรียนแพทย์เพื่อใช้ในการปรับปรุงห้องสมุดให้สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรจัดอัตราบรรณารักษ์หรืออัตราเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ให้แก่ห้องสมุดทุกแห่งที่ร่วมอยู่ในโครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบทด้วย |
Other Abstract: | The main purpose of this research is to study the viewpoints of hospital staff on conditions and library services of Phrapokklao Hospital Library, Chantaburi Province, especially on the buildings, facilities, printing materials, library staff, library regulations, library services, including the needs, problems and recommendations concerning library services. The findings will be used as the guideline for the improving of Phrapokklao Hospital Library and other hospital libraries as well. In this research, the researcher used the questionnaires as the research tool. They were distributed among three groups of populations, i.e. medical group, nurse group and paramedical group, at the total of 360 copies. There were 283 completed questionnaires or 78.61% returned to be analyzed. The result of this research found that the medical group was the one that used the library services most often at the percentage of 98.33, the less often were paramedical group and nurse group at the percentage of 95.24 and 35.15 relatively, For those who did not used the library, the nurse group had the highest percentage of 64.85% they gave their reason that “there was no time.” In studying the viewpoint of library users on library conditions and services it showed that all three groups of poplations agreed altogether that Phrapokklao Hospital Library was in good level in these aspects i.e. buildings, facilities, library personnels, library regulation and library services, having the highest mean of viewpoint weight in library personnels working. For the populations’ mean of viewpoint weight that was in the moderate level it appeared in only one aspect that was the library printing materials. After testing analysis of variance of the populations’ viewpoints on library conditions and services it was found that there were little differences in some parts as follow. In the library staff, library regulations and library services especially in the printing materials, the medical group considered it in good level whereas the nurse group and the paramedical group thought it in moderate level. For the need of library services, it was found that all the population groups had the moderate level need. The service they need most was the circulation service in books, periodicals and publications. Other service that was in the moderate level, having the highest mean of viewpoint is the photocopy service. The service that was in the low level was the abroad photocopy service. After testing the analysis of variance of these needs. It was clear that all the population group differed in their needs. In comparing between the medical group, it appeared that the Physicians and dentists had the different viewpoints on library conditions and services especially in printing materials and library services. When compared the need of library service in this group, it was found that there were differences. In the nurse group which consisted of nurses and nurses assistants after tested their viewpoints on library conditions and services, it was clear that there were differences especially in printing materials. In addition to their – need in library services, the researcher also found differences. From the result of this research, there are recommendations that can be used as guidelines in the developing of Phrapokklao Hospital Library. First, the library should prepare the spare room for its enlargement in future. This can be done by building up the nurse library serving as a branch library or collecting retrospective printing materials in microforms. Phrapokklao Hospital Library should create co-operation between hospital libraries in the east region and those in the same “Medical Education for Students in Rural Area Project”. The library should promote more public relations for library users especially the nurse group, and it should be permitted that every group of library staff have the part in the suggesting or ordering some books or printing material. Moreover, Librarian should develop library services at present such as increasing library searching tools, decreasing the photocopy service charge, improving clipping services and also providing more other library services for the future. Additional recommendations for the high executives are that they should allot special budget for hospital libraries especially the ones that also play the part of medical schools, in order to improve the libraries so that they can render services efficiently. Next, there should also be arranged that every hospital library in the “Medical Education for Students in Rural Area Project” has the librarian or librarian assistant. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บรรณารักษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25917 |
ISBN: | 9745634034 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sareerapen_Ot_front.pdf | 584.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sareerapen_Ot_ch1.pdf | 840.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sareerapen_Ot_ch2.pdf | 677.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sareerapen_Ot_ch3.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sareerapen_Ot_ch4.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sareerapen_Ot_back.pdf | 814.1 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.