Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25946
Title: การใช้หลักการตลาดเพื่อสังคมในการสื่อสารเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
Other Titles: Social marketing in suicide prevention communication
Authors: สิริพร มีนะนันทน์
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parichart.S@chula.ac.th
Subjects: การฆ่าตัวตาย -- การป้องกัน
การตลาดเพื่อสังคม
การสื่อสาร -- แง่จิตวิทยา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายภายใต้กรอบคิดด้านการตลาดเพื่อสังคม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องในโครงการรณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตายในต่างประเทศ จำนวน 4 โครงการ ผลการวิจัย พบว่าโครงการสื่อสารเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายในบริบทของต่างประเทศนั้น มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ครอบคลุมไปถึงทั้งกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง โดยกลุ่มเสี่ยงได้แก่ เยาวชนหรือคนในวัยหนุ่มสาว ส่วนกลุ่มผู้ใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เพื่อน พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ผู้ดูแล ครูและบุคลากรในโรงเรียน คนในชุมชน โดยพฤติกรรมเป้าหมายที่โครงการทำการรณรงค์ในกลุ่มเสี่ยงคือ การแบ่งปันเรื่องราวหรือประสบการณ์ของตนเองผ่านเว็บไซต์ของโครงการ และเปิดใจพูดหรือเล่าความรู้สึกกดดันของตนเองออกมาให้ผู้ใกล้ชิดฟัง ด้านพฤติกรรมเป้าหมายของกลุ่มผู้ใกล้ชิดคือการเปิดใจรับฟังปัญหาของกลุ่มเสี่ยงแล้วหาทางช่วยเหลือต่อไป หรือหากในกรณีที่ผู้ใกล้ชิดนั้นไม่ใช่คนในครอบครัว พฤติกรรมเป้าหมายคือการบอกต่อคนในครอบครัวเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยง จุดเน้นของโครงการสื่อสารเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย ได้แก่ การเป็นตัวเชื่อมประสานให้เยาวชนมีปฏิสัมพันธ์ในสภาพแวดล้อมด้านบวก การทำให้เยาวชนมองเรื่องการฆ่าตัวตายว่าไม่ใช่เรื่องที่ควรจะปกปิดเป็นความลับแต่อย่างใด การตอกย้ำให้เห็นว่าภาวะเครียดหรือความกดดันของบุคคลเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และการสร้างประเด็นความเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเพศใดเชื้อชาติใด โดยจุดเน้นดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เป็นข้อมูลสถิติและงานวิจัยที่ผ่านมา สำหรับแนวคิดด้านสินค้าทางสังคมหรือผลิตภัณฑ์ทางสังคม พบว่า ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ ความหวังและความตระหนัก ผลิตภัณฑ์ที่ประจักษ์จริง ได้แก่ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การให้ความช่วยเหลือ การเอ่ยปากพูดคุย และการรับฟังปัญหา ส่วนผลิตภัณฑ์เสริม ได้แก่ ชุดข้อมูลเพื่อให้ความรู้ พื้นที่ระบายความในใจหรือขอคำปรึกษา พื้นที่โพสต์เรื่องราวเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในด้านแนวคิดเรื่องราคาพบว่า กลุ่มเป้าหมายจะต้องเสียเวลาด้านการเขียนหรือโพสต์เรื่องราวประสบการณ์ของตนลงบนเว็บไซต์ เวลาในการทำความเข้าใจและจดจำข้อมูลความรู้ต่างๆ และเวลาในการเขียนเพื่อระบายความรู้สึกหรือขอคำปรึกษา ในประเด็นด้านสถานที่นั้นพบว่า ทุกโครงการมีการใช้เว็บไซต์ที่ทำขึ้นโดยเฉพาะของโครงการเป็นพื้นที่เสมือนจริงในการเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงสินค้าทางสังคมของโครงการ ในส่วนแนวคิดด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า โครงการมีการใช้ผู้ส่งสารที่มีประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย รวมถึงดาราหรือผู้มีชื่อเสียงในวงสังคม ส่วนเนื้อหาก็ใช้การสื่อสารผ่านข้อความให้กลุ่มเป้าหมายได้ฉุกคิด การเล่าประสบการณ์ของผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์มาก่อน การใช้ข้อความหลักของโครงการ รวมไปถึงการโปรโมตเว็บไซต์และสายด่วนของโครงการ โดยสื่อสารประเด็นต่างๆ เหล่านั้นผ่านช่องทาง โทรทัศน์-วิทยุ โปสเตอร์-สื่อสิ่งพิมพ์ และการประกาศเชิงสาธารณะแบบอิงปฏิสัมพันธ์กัน
Other Abstract: This qualitative research has a purpose of studying about a suicide prevention communication under marketing for society by analyzing 4 related documents in suicide prevention campaigns in the foreign countries.The result of the research has discovered that a suicide prevention communication project in the foreign countries’ aspect has been categorized the target group into two main groups which are the risk group and those who have a close relationship with a risk group. A risk group is adolescence. And a close acquaintance group consists of parents, families, friends, teachers and school staff members. The target behaviors of this project towards a risk group expect them to share their stories or experiences through the website created for a project and to openly express their pressure inside to their close companion. While the target behavior of a close acquaintance group are to be willingly listen to a risk group’s problems and then seeking the way to solve those problems. In a case that a risk group is not a member of their families, the target behavior is changed to be delivering the problems to a risk group’s families. A suicide prevention communication project mainly focuses on being a connection for adolescences to have a positive reaction in the society. Secondly, to inform a new idea that suicide is not supposed to be kept in secret. Thirdly, to show them that seriousness and being under pressure are normal and every person could possibly face them. Finally, to create an equality for all genders and races. These are developed by studying basic information which contains statistic data and previous researches. A concept of social products shows that the core products are hope and awareness. The actual products are sharing the experiences, having interaction, giving an advice, and listening to the problems. And augmented products are knowledge, a space to express their feeling, also a place to receive suggestion. A concept of a price shows that a target group will have to spend their time writing or posting messages on a website. They need time to try to understand and memorize all of the necessary information. Nevertheless, they need time to write down their emotion expression or questions that need to be advised. The place for such activity is found in a form of website. Every project has their own website for a target group to access their social products. About the marketing, a project employs messengers who have either direct or indirect experience about suicide, including celebrities and well-known people. For the containing detail, they communicate through words to convince a target group to realize about those previously shared experiences. They rely on messages of a project, along with promoting the website and a project hotline. They deliver information through many media channels which are television-radio, printing media and Interactive PSAs.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25946
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1866
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1866
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriporn_me.pdf8.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.