Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25951
Title: การเปรียบเทียบความสนใจรายการโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 10 หาดใหญ่ กับสถานีโทรทัศน์ประเทศมาเลเซียประชาชนในจังหวัดภาคใต้
Other Titles: A comparison of the interest in the channel 10 Haadyai and Malysian television programs of people in Southern provinces
Authors: สมศักดิ์ อภิบาลศรี
Advisors: วิจิตร ภักดีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความสนใจและความต้องการลักษณะรายการโทรทัศน์ของประชาชนในเขตห้าจังหวัดภาคใต้ คือ สงขลา ยะลา ปัตตานี สตูล และนราธิวาส 2. เพื่อเปรียบเทียบความสนใจของประชาชนในเขตห้าจังหวัดภาคใต้ต่อรายการโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 10 หาดใหญ่ และสถานีโทรทัศน์มาเลเซีย 3. เพื่อศึกษาแนวทางที่จะทำให้โทรทัศน์เป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนในท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไทยมุสลิม วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เลือกกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลของจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี สตูล และนราธิวาส เชื้อชาติไทยพุทธ จำนวนจังหวัดละ 20 คน และไทยมุสลิม จังหวัดละ 20 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 200 คน อายุระหว่าง 15 - 60 ปี ไม่กำหนดเพศและอาชีพ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตารางและแผนภูมิโพรไฟล์ ผลการวิจัย 1. ความสนใจและความต้องการลักษณะรายการโทรทัศน์ 1.1 ผู้ชมต้องการให้ปรับปรุงคุณภาพของภาพและเสียง รวมทั้งปริมาณและลักษณะการโฆษณา พร้อมทั้งโฆษกและผู้พากย์ภาพยนตร์ 1.2 ในการเสนอข่าวผู้ชมต้องการภาพยนตร์ข่าวจากสภาพการณ์จริง ลักษณะของรายการข่าวที่ผู้ชมต้องการมากที่สุดคือข่าวท้องถิ่น 1.3 ทางด้านลักษณะรายการ ความรู้ที่ผู้ชมต้องการ คือการจัดทำภาพยนตร์ที่ให้ความรู้โดยตรง ส่วนประเภทของรายการที่ต้องการมากที่สุดนั้นควรเป็นรายการเกี่ยวกับสุขภาพและอนามัย 1.4 ทางด้านบันเทิง ผู้ชมชอบรายการดนตรี ภาพยนตร์ไทยและฝรั่ง ส่วนทางด้านกีฬาผู้ชมชอบรายการฟุตบอลมาก 2. การเปรียบเทียบการชมรายการโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 10 หาดใหญ่และสถานีโทรทัศน์มาเลเซีย 2.1 ในระหว่างวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ทุกช่วงเวลาออกอากาศ ผู้ชมนิยมชมรายการโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 10 หาดใหญ่มากกว่า ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการในช่วงเวลาระหว่าง 18.00 - 22.00 น. ผู้ชมนิยมชมรายการโทรทัศน์ของมาเลเซียมากกว่า 2.2 มีผู้ชมชมรายการโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 10 หาดใหญ่ ทุกวัน ร้อยละ 56.69 ส่วนของสถานีโทรทัศน์มาเลเซียมีผู้ชมทุกวันเป็นจำนวนร้อยละ 19.25 2.3 ผู้ชมร้อยละ 66.85 เลือกชมรายการโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 10 หาดใหญ่ จากการแจ้งรายการประจำวันของทางสถานี ในขณะที่ผู้ชมจำนวนร้อยละ 31.02 จะเลือกชมรายการของสถานีโทรทัศน์มาเลเซียเมื่อทราบว่ามีรายการถ่ายทอดพิเศษ 2.4 ผู้ชมมีความเห็นว่ารายการบันเทิงและโฆษณาของโทรทัศน์มาเลเซียน่าสนใจกว่าของช่อง 10 หาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรทัศน์มาเลเซีย มีรายการบันเทิงมากกว่า ส่วนรายการข่าวและรายการความรู้และสารคดีของสถานีโทรทัศน์ช่อง 10 หาดใหญ่มีความน่าสนใจมากกว่า 3. แนวทางที่จะใช้โทรทัศน์สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยราชการกับประชาชนในท้องถิ่น 3.1 ผู้ชมต้องการทราบความรู้เกี่ยวกับการติดต่อกับหน่วยงานของทางราชการและขอบข่ายการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ เหล่านั้นมาก 3.2 ผู้ชมมีความเห็นว่าสถานีโทรทัศน์ช่อง 10 หาดใหญ่ ควรจะเสนอรายการที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นมากขึ้น เช่น รายการเกี่ยวกับกฎหมายประชาชน นอกขากนั้น เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับชนส่วนรวม ทางราชการควรดำเนินการรายงานชี้แจงเพื่อความเข้าใจอันถูกต้องของประชาชน ข้อเสนอแนะ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 10 หดใหญ่ ควรจะได้มีการปรับปรุงลักษณะและปริมาณของการโฆษณา คุณภาพทางด้านเทคนิคด้านภาพและเสียง บุคลิกภาพของโฆษกและผู้ดำเนินรายการคุณภาพของรายการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดราชการ
Other Abstract: Purpose: The purposes of this study are as follows : (1) To study which kind of programs the people in five provinces – Songkhla, Yala, Pattani, Satun and Narathiwat - are interested in and need. (2) To compare the interest of the people in five southern provinces in the programs produced by channel 10 Haadyai and the ones produced by Malaysian television stations. (3) To find out some trends in using television as a medium to create a good understanding and a good relationship between the government and the people in various local areas, particularly those who are Thai Muslims. Procedure: Two hundred people in the metropolitan areas of Songkhla, Yala, Pattani, Satun and Narathiwat were randomly selected to be the sample. In each province, according to six levels of education, twenty Thai Buddhists and twenty Thai Muslims between 15-16 years of age were asked to answer a questionnaire, regardless of their sex or profession. The collected data were analysed in terms of percentage, mean and standard deviation and then presented in the form of tables and profiles. Results: 1. The types of programs needed and the interests of the people. 1.1 The quality of pictures and sound, including the quantity and types of advertisements, should be improved. There should also be better announcers and narrator-translators. 1.2 In terms of news presentation, the audience needs newsreels from real situations. The type of program demanded most is local news. 1.3 The educational programs needed by the audience are those which give knowledge. The type of program demanded most is one concerning health problems. 1.4 In viewing entertainment programs, music, as well as Thai and western movies are much preferred; the most preferred sports program is football. 2. A comparison of the interests of the people in the programs produced by Channel 10 Haadyai and Malaysian television stations. 2.1 On week-days, the audience prefers the programs televised by Channel 10 Haadyai; whereas on week-ends and holidays, from 06:00-10.00 p.m., they prefer those Malaysian television stations. 2.2 The percentage of the sampled audience watching Channel 10 Haadyai programs everyday is 56.69. Conversely, the percentage of those watching Malaysian television programs everyday is 19.25. 2.3 In selecting the programs for viewing, 66.85 percent of the audience uses the daily program announcements of the studio while 31.02 percent view Malaysian television programs when there are special live programs. 2.4 In the opinion of the audience, the entertainment and advertising programs of Malaysian television are more interesting. On the other hand, the audience prefers the educational programs of Channel 10 Haadyai to those of Malaysian televisions. 3. Some trends in using television as a medium to create better understanding and relationships between the government and the people in local areas. 3.1 The audience wants to know how to contact the government organizations and know what duties each of them are carrying on. 3.2 In the opinion of the audience, Channel 10 Haadyai ought to present more programs concerned with local areas. Moreover, the programs should be arranged to meet the audience’s needs; for instance, programs dealing with law. Furthermore, when there are important events, the public should be informed for better understanding. Suggestions: The types and quantity of advertising, as well as the technical quality of both the pictures and sound and also the personalities of the announcers and the narrator-translators, should be improved. In addition, the quality of the programs, especially those on week-ends and holidays, needs improvement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25951
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak_Ap_front.pdf607.44 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Ap_ch1.pdf759.37 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Ap_ch2.pdf877.78 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Ap_ch3.pdf308.71 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Ap_ch4.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_Ap_ch5.pdf559.89 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Ap_back.pdf741.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.