Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25957
Title: บทบาทผู้บริหารและความคาดหวังของบรรณารักษศาสตร์ ในการบริหารงานห้องสมุดในวิทยาลัยครู
Other Titles: Roles of administrators and expectations of librarians in library administration in teachers' colleges
Authors: สมสรวง พฤติกุล
Advisors: วนิดา สุรวดี
ทองอินทร์ วงศ์โสธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คิดว่าควรปฏิบัติของผู้บริหารในการบริหารงานห้องสมุดด้านการเงิน บุคลากร อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ห้องสมุด กิจกรรมและบริการของห้องสมุด ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และตามความคิดเห็นของหัวหน้าบรรณารักษ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจและประชากรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยก็ใช้ประชากรทั้งหมดซึ่งได้แก่ ผู้บริหาร ( อธิการ) และหัวหน้าบรรณารักษ์ของวิทยาลัยครูทั้งหมด 36 แห่ง จำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ชุด คือ แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและแบบสอบถามสำหรับหัวหน้าบรรณารักษ์ แบบสอบถามดังกล่าวส่งไปยังประชากรโดยทางไปรษณีย์ สำหรับแบบสอบถามที่ได้รับคืนและมีความสมบูรณ์ที่จะใช้ในการวิเคราะห์มีจำนวนทั้งหมด 61 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 84.72 แบ่งเป็นแบบสอบถามของผู้บริหารจำนวน 32 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 52.46 และเป็นแบบสอบถามของหัวหน้าบรรณารักษ์จำนวน 29 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 47.54 สำหรับเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความคิดเห็นโดยใช้ที – เทสต์ ผลการวิจัยที่สำคัญ ๆ ปรากฏว่า ผู้บริหารและหัวหน้าบรรณารักษ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารในการบริหารงานห้องสมุดทุกด้าน โดยเฉลี่ยแล้วไม่สอดคล้องกัน โดยที่ผู้บริหารมีความเห็นว่าตนเองได้มีบทบาทที่ปฏิบัติจริงในการบริหารงานห้องสมุดทุกด้าน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับหัวหน้าบรรณารักษ์มีความเห็นว่า ผู้บริหารได้มีบทบาทที่ปฏิบัติจริงในการบริหารงานห้องสมุดทุกด้าน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ส่วนบทบาทที่คิดว่าควรปฏิบัติของผู้บริหารนั้น ทั้งผู้บริหารและหัวหน้าบรรณารักษ์ต่างก็มีความเห็นตรงกันว่าผู้บริหารควรปฏิบัติงานห้องสมุดทุกด้านในระดับมากกว่าที่ได้ปฏิบัติอยู่จริง เมื่อแยกผลการวิจัยเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้ 1. ผู้บริหารเห็นว่าตนเองได้มีบทบาทที่ปฏิบัติจริงในการบริหารงานห้องสมุดด้านการเงิน บุคลากร อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ห้องสมุด กิจกรรมและบริการของห้องสมุดโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2. เรื่องที่ผู้บริหารเห็นว่าตนเองได้มีบทบาทที่ปฏิบัติจริงมากที่สุดในแต่ละด้านมีดังนี้ ด้านการเงิน คือ เรื่องอำนวยความสะดวกในการเบิกจ่ายเงิน ด้านบุคลากร คือ เรื่องพิจารณาความดีความชอบของบุคลากรโดยเท่าเทียมกัน ด้านอาคารสถานที่และครุภัณฑ์ห้องสมุด คือ เรื่อง สนับสนุนให้มีอาคารเป็นเอกเทศ ด้านกิจกรรมและบริการของห้องสมุด คือ เรื่องให้ความสะดวกในการจัดหาหนังสือ 3. หัวหน้าบรรณารักษ์เห็นว่า ผู้บริหารได้มีบทาทที่ปฎิบัติจริงในการบริหารงานห้องสมุด ด้านการเงิน บุคลากร อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ห้องสมุด กิจกรรมและบริการห้องสมุดโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย 4. เรื่องที่หัวหน้าบรรณารักษ์เห็นว่า ผู้บริหารได้มีบทบาทที่ปฎิบัติจริงมากที่สุดในแต่ละด้านมีดังนี้ ด้านการเงิน คือ เรื่องให้โอกาสแก่บรรณารักษ์มีส่วนร่วมในการตั้งงบประมาณห้องสมุด ด้านบุคลากร คือ เรื่องให้บรรณารักษ์มีส่วนในการคัดเลือกบุคลากร ด้านอาคารสถานที่และครุภัณฑ์ห้องสมุด คือ เรื่องสนับสนุนให้มีอาคารเอกเทศ ด้านกิจกรรมและบริการของห้องสมุด คือ เรื่องให้ความสะดวกในการจัดหาหนังสือ 5. ทั้งผู้บริหารและหัวหน้าบรรณารักษ์ต่างก็คาดหวังว่าผู้บริหารควรมีบทบาทในการบริหารงานห้องสมุดด้านการเงิน บุคลากร อาคารสถานที่และคุรภัณฑ์ห้องสมุด กิจกรรมและบริการของห้องสมุดโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 6. เรื่องที่ผู้บริหารคาดหวังว่าตนเองควรปฎิบัติมากที่สุดในแต่ละด้านมีดังนี้ ด้านการเงิน คือ เรื่องอำนวยความสะดวกในการเบิกจ่ายเงิน ด้านบุคลากร คือ รื่องให้บรรณารักษ์มีส่วนในการคัดเลือกบุคลากร ด้านอาคารสถานที่และครุภัณฑ์ห้องสมุด คือ เรื่องสนับสนุนให้มีอาคารเอกเทศ ด้านบริการและกิจกรรมของห้องสมุด คือ เรื่องสนับสนุนในการจัดกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ 7. เรื่องที่หัวหน้าบรรณารักษ์คาดหวังว่า ผู้บริหารควรปฏิบัติมากที่สุดในแต่ละด้านมีดังนี้ ด้านการเงิน คือ เรื่อง อำนวยความสะดวกในการเบิกจ่ายเงิน ด้านบุคลากร คือ เรื่อง ให้บรรณารักษ์เข้าฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ ด้านอาคารสถานที่ของครุภัณฑ์ห้องสมุด คือ เรื่อง สนับสนุนให้มีอาคารเอกเทศ ด้านกิจกรรมและบริการของห้องสมุด คือ เรื่อง กระตุ้นให้อาจารย์และนักศึกษาใช้บริการของห้องสมุด จากผลการวิจัยนี้ทำให้ผู้วิจัยได้แนวความคิด จึงจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินการต่อไป และเพื่อการวิจัยต่อไปรวม 18 ประการ ที่สำคัญ คือ เสนอให้กรมการฝึกหัดครู กำหนดขอบข่ายของงานห้องสมุดที่ผู้บริหารควรปฏิบัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดแจ้ง อาจกำหนดไว้ในมาตรฐานห้องสมุดวิทยาลัยครู เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการปฏิบัติ และประเมินผลการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้บรรณารักษ์จะต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องกระตุ้นให้ผู้บริหารเข้าใจงานห้องสมุด และสนับสนุนกิจกรรมห้องสมุด เพื่อให้ห้องสมุดเป็นส่วนส่งเสริมให้วิทยาลัยครูบรรลุเป้าหมายของการฝึกหัดครูอย่างแท้จริง
Other Abstract: The main purpose of this research is to study the teachers’ Colleges administrators’ actual and expected roles in library administration with focus on the aspects of finance, personnel, building and space, facilities, activities and services in view of the administrators’ and chief librarians’ opinions. It is a survey research conducted on total population of teachers’ Colleges administrators and chief librarians. The instruments used are two sets of mailed questionnaires, one for the administrators another for the chief librarians. Out of the total of 72 questionnaires mailed, 61 were returned complete and usable for analytical purpose. Analytical techniques utilized were percentage, arithmetic mean, standard deviation and t – test. Some of the main findings are hereby presented. The opinions of the administrators’ and chief librarians’ on the administrators’ actual roles in all aspects of library administration are not the same. The administrators perceived themselves performing the actual role in all aspects of library administration at average level while the chief librarians perceived administrators performing the role at low level. Both administrators and chief librarians indicated the same belief that the administrators should perform the role at higher level than they actually did in the past. Analizing various aspects, the administrators have the following opinions: 1. The administrators maintained the opinions that they had actually performed their roles in library finance, personnel, building and space, facilities, activities and services at average level. 2. The actual roles that the administrators have done most in finance is facilitating expenses payment, personnel in fair consideration of annual personnel promotion, building and space in obtaining separate building, activities and services in facilitating to acquisition of books. 3. The chief librarians maintained the opinion that the actual role of the administrators’ in the administration of library finance, personnel, building and space, facilities, activities and services were at low level. 4. The actual roles that the administrators have done most in the chief librarians’ opinions concerning finance is the provision of opportunities for the librarians in preparing library budget proposal, personnel in providing opportunities for librarians in personnel selection, building and facilities in supporting the obtainment of separate building, activities and services in facilitating the acquisition of books. 5. Both administrators and chief librarians expected that the administrators should play their roles in library finance, personnel, building and space, facilities, activities and services at high level. 6. The administrators expected that they should perform their roles most in the following aspects: finance in facilitating expenses payment, personnel in providing opportunities for librarians personnel selection, building and facilities in supporting the obtainment of separate building, activities and services in supporting special activities programmes. 7. The chief librarians expected that the administrators should perform their roles most in the following aspects: finance in facilitating expenses payment, personnel in provision of opportunities for librarians’ in-service training, building and facilities in for in supporting the obtainment of separate building, activities and services in motivating teaching staff members and students to use library services. The research results have led to 18 recommendations for further action and research. Some of the main recommendations are as follows: firstly, the researcher recommends that the Teacher Training Department of Ministry of Education should establish a written and official standard of teachers’ college library so that it can be used for effective planning and evaluation. Besides, the researcher recommends that the librarians themselves must treat as their own duty to motivate the administrators to appreciate the library work and to take keen interest in the library work in order that they can provide proper support for the library to help the teachers’ college to truly achieve its goals.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25957
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsuang_Pr_front.pdf676.12 kBAdobe PDFView/Open
Somsuang_Pr_ch1.pdf669.85 kBAdobe PDFView/Open
Somsuang_Pr_ch2.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Somsuang_Pr_ch3.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Somsuang_Pr_ch4.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Somsuang_Pr_back.pdf937.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.