Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26005
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมชาย หิรัญกิจ | - |
dc.contributor.author | ดุษณีย์ ส่องเมือง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-26T03:14:44Z | - |
dc.date.available | 2012-11-26T03:14:44Z | - |
dc.date.issued | 2518 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26005 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518 | en |
dc.description.abstract | ผลประโยชน์อันเกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก คือ รายได้เงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น ช่วยส่งเสริมพัฒนาท้องถิ่นและความเจริญก้าวหนาให้แก่สังคม โอกาสด้านการทำงานต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ตลอดจนช่วยกระจายรายได้ไปในส่วนภูมิภาคถึงชนทุกระดับชั้นด้วย ดังนั้น จึงนับได้ว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สำหรับประเทศไทยได้ประสบปัญหาภาวะการขาดดุลการค้ามาเป็นเวลานานแล้ว และยังไม่สามารถที่จะแก้ไขสถานการณ์เหล่านี้ได้ ก็น่าจะลองนำเอามาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวมาช่วยแก้ปัญหาดูบ้าง เพราะจากการสำรวจของบริษัทเช็คกี้ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงได้ยืนยันว่า ประเทศไทยมีลู่ทางในการท่องเที่ยวสูง แต่ยังไม่ได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจังนัก จึงทำให้ได้รับผลประโยชน์ไม่เต็มที่เท่าที่ควร นอกจากนี้ ดอกเตอร์บุลลอกัสผู้เชี่ยวชาญทางการท่องเที่ยวขององค์การสหประชาชาติได้พยากรณ์เกี่ยวกับจำนวนนักท่องเที่ยวในอนาคตของประเทศไทยว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ต้องขึ้นอยู่กับข้อสมมุติที่กำหนดไว้ เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งเสริมการท่องเที่ยวต้องมีอำนาจและหน้าที่อย่างกว้างขวางในการดำเนินงาน เป็นต้น ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า การดำเนินงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยยังมีข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขและปรับปรุงอยู่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ประเทศไทยมี อ.ส.ท. ที่เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทำหน้าที่รับผิดชอบแทนรัฐบาลในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศอันเป็นงานที่กว้างขวางมาก เพราะต้องเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน แต่หน้าที่รับผิดชอบของ อ.ส.ท. ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้นจำกัดอยู่ในขอบเขตที่แคบไม่ได้ครอบคลุมถึงหน้าที่ควรอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลไว้ได้หมด ยังขาดอีกหลายประการ เช่น การกำหนดนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวและวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับชาติ การพัฒนาสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวและสร้างสรรสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ เป็นต้น ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากการที่รัฐบาลไม่ได้ให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของงานส่งเสริมการท่องเที่ยวตั้งแต่แรกเริ่มดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้การดำเนินงานของ อ.ส.ท. พบกับอุปสรรคและปัญหาหลายประการคือ การเสนอของบประมาณ การปฏิบัติตามหน้าที่ที่ต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมายและความร่วมมือประสานงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นเนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้อ.ส.ท. ไม่สามารถดำเนินงานตามแผนงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ดังนั้น ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้จะวิเคราะห์เน้นเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาด้านงบประมาณเพียงประการเดียวเท่านั้น สำหรับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ อ.ส.ท. มีเพียง 4 ประการเท่านั้น คือ การโฆษณาเผยแพร่และส่งเสริมการท่องเที่ยว การวิจัยรวบรวมสถิติทางการท่องเที่ยว การเข้าร่วมในสมาคมและสหพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวนานาชาติ และการจัดการสถานตากอากาศ 3 แห่ง ซึ่งการดำเนินงานทั้ง 4 ประการนี้ อ.ส.ท. ยังไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ผลสูงสุดตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพราะเงินงบประมาณที่ อ.ส.ท. เสนอขอไปถูกตัดทอนลงเป็นจำนวนมากทุกปี จึงทำให้ อ.ส.ท. ไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่บางประการในพระราชกฤษฏีกาที่ อ.ส.ท. ไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น การพัฒนาบูรณะสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมายและเงินงบประมาณเป็นจำนวนมากในการดำเนินงาน เป็นต้น ดังนั้นการดำเนินงานของ อ.ส.ท. จึงเป็นแต่เพียงการเริ่มต้นเท่านั้น เพราะ อ.ส.ท. ไม่สามารถดำเนินงานได้ครบตามหน้าที่รับผิดชอบในพระราชกฤษฎีกา ทั้ง ๆ ที่ในพระราชกฤษฎีกาก็ยังกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของ อ.ส.ท. ไว้ไม่ครบตามหน้าที่อันควรรับผิดชอบของรัฐบาล ฉะนั้นเมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของ อ.ส.ท. กับหน้าที่อันควรรับผิดชอบของรัฐบาลแล้ว อ.ส.ท. ก็ยิ่งมีผลงานน้อยลงไปอีก ฉะนั้น เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ รัฐบาลน่าจะช่วยแก้ไขขจัดอุปสรรคและปัญหาของ อ.ส.ท. อย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถดำเนินงานแทนรัฐบาลในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะปัญหาด้านงบประมาณนี้ อ.ส.ท. อาจมีทางเลือกหลายประการ คือ 1. ให้รัฐบาลกำหนดแผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยวไว้เป็นนโยบายสำคัญของประเทศเพื่อให้งานส่งเสริมการท่องเที่ยวมีโอกาสรวมอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งช่วยให้ อ.ส.ท. ได้รับงบประมาณประเภทงบโครงการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีกประเภทหนึ่ง ตลอดจนทำให้หน่วยงานอื่นเห็นความสำคัญของงานส่งเสริมการท่องเที่ยวที่จะให้ความร่วมมือประสานงานในการดำเนินงานร่วมกันต่อไป 2. แก้ไขหน้าที่รับผิดชอบและอำนาจในการดำเนินงาน และปรับปรุงการจัดหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินงานได้กว้างขวาง ซึ่งทำให้ อ.ส.ท. มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างกว้างขวางสมดุลย์กับอำนาจที่ได้รับมอบหมาย แต่ อ.ส.ท. จำเป็นต้องปรับปรุงการจัดหน่วยงานให้มีสิทธิรักษาอำนาจตามกฏหมายที่ได้รับมอบด้วย ฉะนั้นการแก้ไขข้อนี้จะเปิดโอกาสให้ อ.ส.ท. เสนอของบประมาณเพิ่มขึ้นได้ เพราะมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นกว้างขวางกว่าเดิม ตลอดจนหน่วยงานก็ได้ขยายใหญ่ขี้นด้วย 3.ให้ธุรกิจเอกชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งทางด้านความคิดเห็นและเงินงบประมาณในการดำเนินงาน เพราะธุรกิจเหล่านี้เป็นผู้ใกล้ชิดและได้รับประโยชน์โดยตรงจากการท่องเที่ยว ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของการให้เงินอุดหนุนในนามของสมาคมทางการท่องเที่ยว หรือจ่ายให้หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐในรูปของภาษีหรือค่าธรรมเนียม เป็นต้น จากทางเลือก 3 ประการ จะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในการแก้ไขปัญหาของ อ.ส.ท. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการดำเนินงานและได้รับผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งถ้าเลือกข้อใดข้อหนึ่งมาช่วยแก้ไขปัญหาก็จะทำให้ไม่ได้รับผลประโยชน์สูงสุด เช่น เลือกประการแรกก็จะทำให้ อ.ส.ท. ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น แต่อำนาจหน้าที่รับผิดชอบที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ หรือถ้าเลือกประการที่สอง อ.ส.ท. อาจไม่ได้รับเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นก็ได้ ถ้ารัฐบาลไม่ได้กำหนดเอานโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวไว้เป็นนโยบายสำคัญของประเทศ ฉะนั้นในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน อ.ส.ท. ในปัจจุบันนั้น ควรใช้วิธีการแก้ไขปัญหาทั้ง 3 ประการ ร่วมกันไป เพื่อให้ อ.ส.ท. มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานอย่างกว้างขวางได้สัดส่วนกัน และปฏิบัติตามหน้าที่อันควรรับผิดชอบแทนรัฐบาลได้ครบถ้วน ตลอดจนได้รับเงินงบประมาณในการดำเนินงาน และความร่วมมือประสานงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ อันนำสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ทำให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งอาจจะนำเอาผลประโยชน์ที่ได้รับจากงานส่งเสริมการท่องเที่ยวนี้ไปช่วยแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี | - |
dc.description.abstractalternative | The benefits derived from the development of tourist industry in a tourist attractive country are numerous. Among them are: the increasing of foreign currency, the promotion of urban development and the progress of its society, the increasing of job opportunities and the widespread of income in the urban areas. Therefore, tourist industry is considered to play an important role in the economic and social development of the country. Thailand has been faced with the deficit trade balance for a long time and the situation has not yet been solved. A tourist promotion measurement should be tried on to solve such a situation. According to the Chechi Report done by a reliable tourist research firm, Chechi, it indicates that tourist industry in Thailand is of a high potential but there is lack of efficient tourist promotion. Moreover, assuming certain hypotheses, Dr. Bullockus, a tourist industrial specialist from the United Nations, predicted that the number of visitor arrivals to Thailand would enormously increased in the future. One of his hypotheses is that the authority responsible for the tourist industry promotion must be authorized to broadly execute power to administrate and accomplish its duty. In conclusion, Thailand needs to improve her promotion of tourist industry. At present Thailand designates T.O.T., her state-enterprise, to perform duty in charge of the government’s responsibility in the tourist promotion of the country. The duty is broad and involves with many other sectors but the responsibility as proclaimed in the Tourism Decree is so confined. Such duties of which should be taken in responsible by the government are: - to set a definite plan of tourist promotion and development in the national plan. - to develop existing tourist attractions, -to create new tourist attractions, etc. The Government, not realizing of the importance of tourist promotion at the beginning, has not fully support the Organization and let it be afflicted with much trouble and problems especially with the budgetary proposal, the performing duties without authoritative power needed and the cooperation from other authorities related. Because budget seems to be one of the most important factor which prevents T.O.T. from achieving the goals. This thesis will emphasize only on the analysis of the T.O.T’s budgetary problem. The four main tasks that T.O.T. is responsible for are: advertising and promoting tourist industry, doing research and collecting statistical data in concern of tourist industry, participating in international tourism association and organization and administrating three recreation areas. The proposed budget of T.O.T. has been cut down every year, therefore, T.O.T. could not effectively [implement] its plan and to excercise its duty as proclaimed in the Decree, e.g. to develop and rehabilitate tourist attractive. Even though the Decree does not state all the tourist concerned duty which should be performed by the Government T.O.T. still could not perform all the duty stated in the Decree. This is the result of lacking of power by law and of financial problem. Concerning the matters, T.O.T. work result is little. For the common interests of the country, the government should seriously help solving T.O.T. problem to make it be able to take charge of the government in concern of tourist development. Due to the budgetary problem, the government could do by: 1) Including tourist promotion plan in the important part of the nation plan of economic and social development. The result will be that T.O.T. will be able to obtain financial aid from the development budget plan apart from its usual budget, and that other authorities and sectors will realize the importance of tourist promotion and will well cooperate with T.O.T. 2) Rectifying the responsibility and scope of administrating power of T.O.T. This should include the re-organization of tourist promotion authority to let it exercise the power needed in effective administration. After its re-organization, the authority's will take a wider responsibility and obtain enough power. It could propose enough budget needed for to run the work effectively. 3) Allowing private tourist firms to take part in financing T.O.T. because those firms obtain benefits from the promotion of tourist industry. This could be done in the form of taxes or duties levying from those firms. The three suggestions are closly related to one another and they must be put into practice at the same time to maximize benefits obtained from tourist industry. If only one of these suggestions is carried out, for instance, if the first one is chosen T.O.T. will be out of budgetary problem but still it will not have sufficient power to achieve the goal. If the second one is chosen, there will be no guarantee that T.O.T. will have enough budget unless the government states that promotion of tourist industry is one of the important policies of the country. In order to solve the formerly stated problem that T.O.T. now faces in its administration, the government should bring about these suggestions and exercise them at the same time. Beside solving T.O.T. problems, the economic and social problem of the conutry will directly be solved. | - |
dc.format.extent | 850624 bytes | - |
dc.format.extent | 1501490 bytes | - |
dc.format.extent | 894616 bytes | - |
dc.format.extent | 1949823 bytes | - |
dc.format.extent | 2306854 bytes | - |
dc.format.extent | 1066194 bytes | - |
dc.format.extent | 504124 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การท่องเที่ยว | - |
dc.subject | ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | - |
dc.subject | ภาษาอังกฤษ -- ไวยากรณ์ | - |
dc.title | ศึกษาและวิเคราห์งบประมาณขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | The study and analysis of the budget of tourism organization of Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Doosanee_So_front.pdf | 830.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Doosanee_So_ch1.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Doosanee_So_ch2.pdf | 873.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Doosanee_So_ch3.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Doosanee_So_ch4.pdf | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Doosanee_So_ch5.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Doosanee_So_back.pdf | 492.31 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.