Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2603
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ-
dc.contributor.authorสุวรรณา กิจภากรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล-
dc.date.accessioned2006-09-18T12:09:27Z-
dc.date.available2006-09-18T12:09:27Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2603-
dc.descriptionการเจริญเติบโตของกระต่ายตั้งแต่หย่านมถึงพร้อมผสมพันธุ์ -- ลักษณะการสืบพันธุ์และการให้ผลผลิตของแม่กระต่าย -- การเจริญเติบโตของกระต่ายขุนหลังหย่านมถึงส่งตลาดen
dc.description.abstractศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตหลังหย่านมถึงพร้อมผสมพันธุ์เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ในกระต่ายจำนวน 115 ตัว จำแนกออกได้เป็น 4 กลุ่มพันธุ์คือ กระต่ายพันธุ์พื้นเมือง กระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ ซึ่งมีที่มาของพันธุ์จากประเทศนิวซีแลนด์และกระต่ายลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างกระต่ายพื้นเมืองกับกระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ แบบสลับพ่อแม่ทั้ง 2 แบบ กระต่ายทั้งหมดได้รับการเลี้ยงดูอย่างเดียวกันในกรงขังเดี่ยว ณ ศูนย์ฝึกนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ นครปฐม ให้อาหารข้นที่มีโปรตีน 14% โดยให้กินเต็มที่พร้อมหญ้าขนสด บันทึกน้ำหนัก และปริมาณอาหารที่กินทุก 2 สัปดาห์ คำนวณน้ำหนักเพิ่ม ปริมาณอาหารที่ให้ทั้งหมด อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ปริมาณอาหารที่กินเฉลี่ยต่อวัน และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ วิเคราะห์วาเหรียนซ์แบบลีสท์สแควร์ ผลการทดลองปรากฏว่า กลุ่มพันธุ์มีผลต่อน้ำหนักหย่านม และน้ำหนักเมื่อสัปดาห์ที่ 10 และ 12 ของการทดลอง รวมทั้งต่อน้ำหนักเพิ่ม (P<.05) อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร (P<.01) ส่วนเพศมีผลต่อน้ำหนักเมื่อสัปดาห์ที่ 12 ของการทดลอง (P<.01) ปริมาณอาหารที่ใช้ทั้งหมดและเฉลี่ยต่อวัน น้ำหนักเพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (P<.05) และพบปฏิกิริยาร่วมระหว่างกลุ่มพันธุ์ และเพศในลักษณะ น้ำหนักเมื่อสัปดาห์ที่ 10 และ 12 ของการทดลอง น้ำหนักเพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (P<.05) ค่าเฉลี่ยลีสท์สแควร์ของแต่ละลักษณะจำแนกตามแหล่งความแปรปรวนที่มีนัยสำคัญ ในการเปรียบเทียบ contrast ระหว่างกระต่ายพันธุ์แท้ทั้งสองพบว่ากระต่ายนิวซีแลนด์ไวท์มีขนาดเล็กกว่ากระต่ายพื้นเมืองเมื่อหย่างนม และไม่มีความแตกต่างในระยะต่อมายกเว้นน้ำหนักเมื่อสัปดาห์ที่ 10 ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของกระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ดีกว่ากระต่ายพันธุ์พื้นเมือง กระต่ายลูกผสมทั้ง 2 แบบไม่แตกต่างกันในทุกลักษณะของการเจริญเติบโต เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มกระต่ายพันธุ์แท้ทั้งสองกับกระต่ายลูกผสมทั้ง 2 แบบปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างกันในทางน้ำหนักตัวทุกช่วงอายุ แต่กระต่ายลูกผสมเจริญเติบโตเร็วกว่ากระต่ายพันธุ์แท้ และมีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อดีกว่า (P<.05) ค่า heterosis ของการผสมข้ามระหว่างกระต่าย 2 พันธุ์นี้ค่อนข้างต่ำซึ่งเป็นปกติของลักษณะด้านการเจริญเติบโตซึ่งมีค่าอัตราพันธุกรรมปานกลางถึงสูงPostweaning growth characteristics of 115 rabbits were studied for 12 weeks period. Rabbits were classified into 4 breed groups namely Thai native (N), New Zealand White (NZW) originated from New Zealand and 2 reciprocal crosses between these two breeds (NxNZW and NZWxN). They were reared under uniform environment in individual feeding units with automatic waterer at the Department of Animal Husbandry Rabbit colony, Nakorn Pathom. All rabbits were fed 14% protein diet and freshly cut paragrass ad lib. Weights and amount of feed consumed were recorded biweekly. Total and daily feed consumed, gain and average daily gain as well as feed conversion ratio were calculated at the end of the experiment. Least squares analyses of variance revealed significant breed group effects on weaning weight, weight at 10 and 12 weeks of the experiment, gain (P<.05), average daily gain and feed conversion (P<.01). Sex differences were found in weight at 12 weeks of the experiment (P<.01), total and daily feed consumed, gain and average daily gain (P<.05). Breed group by sex interaction was important in weights at 10 and 12 weeks of the experiment, gain and average daily gain (p<.05). Least squares means and breed group comparisons were presented. Breed group contrast between purebreds revealed that NZW rabbits were smaller than N rabbits at weaning and no significant differences were observed after that except for weight at 10 weeks of the experiment. NZW rabbits were more efficient in feed conversion than N rabbits. NxNZW and NZWxN reciprocal crosses were similar in all growth traits. Crossbred-purebred contrasts showed adventages of crossbred over purebred rabbits in gain, average daily gain and feed efficiency (P<.05). Heterosis of all traits studied were low which is normal for growth characteristics since they are moderately to highly heritable ศึกษาลักษณะด้านการสืบพันธุ์ และการให้ผลผลิตของแม่กระต่าย 4 กลุ่มพันธุ์คือ นิวซีแลนด์ไวท์ (NZW) กระต่ายพื้นเมืองไทย (N) และกระต่ายลูกผสมระหว่าง พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์กับพื้นเมืองทั้ง 2 แบบ จำนวนกลุ่มพันธุ์ละ 10 แม่ พบว่าแม่กระต่าย NZW ให้จำนวนลูกเกิดครอกแรกน้อยกว่าแม่พันธุ์ NZWxN และ N แม่พันธุ์ NZW อุ้มท้องนานกว่าแม่พันธุ์ N 80 วัน (P<.05) ให้จำนวนลูกต่อครอกในครอกแรกน้อยกว่า 2.20 ตัว และน้ำหนักลูกทั้งครอกเมื่อเกิดน้อยกว่าแม่พันธุ์ N 81 กรัม (P<.05) และจากการศึกษาต่อไปถึงการให้ผลผลิตทั้งหมด เมื่อแม่กระต่ายมีอายุ 1 ปี ปรากฏว่า แม่กระต่ายพันธุ์ NZW รับการผสมมากครั้งแต่มีอัตราการผสมติดต่ำกว่า (P<.05) แม่กระต่ายอีก 3 กลุ่มพันธุ์ โดยให้จำนวนครอกที่ให้ลูกได้เท่ากัน ซึ่งบ่งชี้ถึงปัญหาการผสมติดยากของแม่พันธุ์ NZW เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกระต่ายพันธุ์แท้ด้วยกัน แม่พันธุ์ NZW ต้องรับการผสมมากกว่าแม่พันธุ์ N 1.20 ครั้ง (P<.05) จึงจะให้ลูกได้จำนวนครอกเท่ากัน และมีอัตราการผสมติดน้อยกว่าแม่พันธุ์ N 30.50% (P<.05) ไม่พบความแตกต่างใดๆ ระหว่างการให้ผลผลิตของแม่กระต่ายลูกผสม 2 แบบ จากการเปรียบเทียบระหว่างแม่กระต่ายพันธุ์แท้กับลูกผสม พบว่ากระต่ายลูกผสมมีประสิทธิภาพด้านการสืบพันธุ์ซึ่งวัดจากจำนวนครั้งที่รับการผสมและอัตราการผสมติดเหนือกว่ากระต่ายพันธุ์แท้ (P<.05) และมีค่า heterosis ของลักษณะทั้งสองเป็น -26.69 และ 33.02% ตามลำดับ Doe reproduction and preweaning litter performance were investigated in 4 breed groups of New Zealand White (NZW) and Thai native (N) purbreds and NZWxN and NxNZW crossbreds in a group of ten each. First parity litter size of NZW does was smaller than those of NZWxN and N does (P<.05). Comparing purebred does in first litter performance, NZW does showed .80 days longer gestation period (P<.05), 2.20 kits smaller litter size (P<.05) and 81 gm lower litter weight at birth (P<.05) than N does. When does approached one year of age, NZW does performed poorer than the other 3 breed groups in higher numbers of mating (P<.05) white producing equal number of litters and lower conception rate (P<.05). Comparison made between 2 purebreds revealed superiority of N does over NZW does in reproductive performance in number of matings and conception rate (P<.05). No significant differences in litter performance were found between 2 crossbreds. Crossbred-purebred contrast showed that crossbred does required fewer number of mating with higher conception rate than purebreds (P<.05). Significant heterosis was found -29.69 and 33.02% in numbers of mating and conception rate, respectively.en
dc.description.abstractalternativeศึกษาการเจริญเติบโตของกระต่ายขุนหลังหย่านมเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ (WO) ถึงส่งตลาดเมื่ออายุ 14 สัปดาห์ (W8) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ในกระต่ายจำนวน 110 ตัว เกิดจากแม่พันธุ์ 4 กลุ่มพันธุ์คือ นิวซีแลนด์ไวท์ (NZW) พื้นเมือง (N) ลูกผสมระหว่างนิวซีแลนด์ไวท์กับกระต่ายพื้นเมืองทั้ง 2 แบบ (NxNZW และ NZWxN) ผสมกับพ่อพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ พบว่ากลุ่มพันธุ์มีผลต่อน้ำหนักเริ่มต้น และส่งตลาด น้ำหนักเพิ่มและอัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านมของกระต่าย และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (P<.05) แต่ไม่มีผลต่อปริมาณอาหารข้นที่กระต่ายกิน ส่วนเพศไม่มีผลต่อน้ำหนักและลักษณะการเจริญเติบโตหลังหย่านม และไม่พบปฏิกิริยาร่วมระหว่างกลุ่มพันธุ์กับเพศของกระต่าย กระต่ายที่มีน้ำหนักหย่านมมากจะโตกว่ากระต่ายที่มีน้ำหนักหย่านมน้อยกว่าเมื่อส่งตลาดอายุเท่ากัน (P<.01) กระต่าย 100% นิวซีแลนด์ไวท์มีน้ำหนักตัวเพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตต่อวันต่ำกว่ากระต่ายลูกผสม 50 และ 75% นิวซีแลนด์ไวท์ (P<.05) และมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำกว่ากระต่าย 75% นิวซีแลนด์ไวท์แบบ NZWx(NxNZW) (P<.05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกระต่าย 100 กับ 75% นิวซีแลนด์ไวท์ ปรากฏว่า กระต่ายขุน 75% นิวซีแลนด์ไวท์ มีน้ำหนักส่งตลาดมากกว่า กินอาหารน้อยกว่า แต่มีการเพิ่มน้ำหนักตัว และอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อดีกว่ากระต่าย 100% นิวซีแลนด์ไวท์ (P<.05) ส่วนกระต่าย 50 และ 75% นิวซีแลนด์ไวท์ไม่แตกต่างกันในลักษณะการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกระต่าย 75% นิวซีแลนด์ไวท์ 2 กลุ่มคือ NZW x (NxNZW) และ NZW x (NZWxN) ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ยกเว้นน้ำหนักหย่านม ดังนั้นการผลิตกระต่ายขุนจะใช้ระดับของนิวซีแลนด์ไวท์ 50 หรือ 75% ก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมของระบบการผลิตถ้าใช้แม่พันธุ์ลูกผสม การผลิตกระต่ายขุน แบบ NZW x (NxNZW) มีแนวโน้มว่าจะมีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารสูงสุดPostweaning growth characteristics for 8 weeks duration was studiedin 110 rabbits. They were derived from 4 breed groups of does namely New Zealand White (NZW) and Thai native (N) and NxNZW and NZWxN crossbreds mated to New Zealand White bucks. Least squares analysis of variance revealed significant effects of breed groups on weaning (WO) and market weight (W8), gain, average daily gain and feed efficiency (P<.05). Sex and breed group by sex interaction were not important in any traits. Significant covariate WO in analyzing W8 suggested that rabbits that were heavier at weaning would reach heavier market weight. Gain and average daily gain of purebred NZW were lower than 50 and 75% NZW crossbreds (P<.05). Besides, feed efficiency of purebred NZW was worse than 75% NZW x (NxNZW) crossbreds (P<.05). Linear contrasts comparing purebred NZW and 75% crossbreds showed the advantage of rearing 75% crossbreds in heavier market weight and gain, better average daily gain and feed efficiency along with smaller amount of consumed (P<.05). Crossbreds were comparable in growth performance no matter what they were 50 N or 75% NZW. Two groups of 75% NZW crossbreds : NZW x (NxNZW) and NZW x (NZWxN), were equally performed except for weaning weight. Commerical rabbit production could utilize either 50 N or 75% NZW crossbreds as fattening rabbits whichever more suitable to the production system. Regarding crossbred does, NZW x (NxNZW) crossbreds seem to be more profitable in terms of lower feed consumed/gain eventhough it was not statistically significant.-
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติen
dc.format.extent14751867 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกระต่าย -- การเลี้ยงen
dc.titleผลของการผสมข้ามพันธุ์ต่อการผลิตกระต่ายen
dc.title.alternativeEffect of crossbreeding on rabbit productionen
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authorChancharat.R@Chula.ac.th-
dc.email.authorSuwanna.Ki@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chancharat.pdf8.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.