Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26495
Title: การแปรและการเปลี่ยนแปลงเสียงในภาษากวย-กูย (ส่วย)
Other Titles: Phonological variation ad change in Kuai-Kui( suai)
Authors: ปรีชา สุขเกษม
Advisors: ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสร้างระบบเสียงภาษากวยโบราณ แสดงการเปลี่ยนแปลงทางเสียง จากภาษากวยโบราณมาเป็นภาษากวย-กูยปัจจุบัน วิเคราะห์การแปรทางเสียงในภาษากวย-กูยปัจจุบัน วิเคราะห์การแปรของเสียงตามอายุที่เป็นตัวบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงในภาษากวย-กูย ถิ่นที่แสดงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตมากที่สุด ระบบเสียงกวยโบราณ เป็นการสืบสร้างจากกวย-กูยปัจจุบัน 6 หมู่บ้าน แบ่งเป็นกลุ่มกวย 4 หมู่บ้าน และกลุ่มกูย 2 หมู่บ้าน กวยโบราณมีสระ 2 ชุด คือ สระโฆษะปกติกับสระโฆษะต่ำทุ้ม สระโฆษะปกติกับสระโฆษะ *ie และ ue ในกวยโบราณยังคงเป็น ie และ ue ในกลุ่มกวย แต่เปลี่ยนเป็น i: และ u: ในกลุ่มกูย สระโฆษะต่ำทุ้ม *a: ยังคงเป็น a: ในกลุ่มกวย แต่เปลี่ยนเป็น ie ในกลุ่มกูย การศึกษาการแปรทางเสียงในกวย-กูย 4 หมู่บ้านที่มีภาษาแวดล้อมแตกต่างกัน พบการแปรที่มาจากการสัมผัสภาษา กล่าวคือ กูยบ้านสังแกซึ่งมีความใกล้ชิดกับเขมร ยังคงมีพยัญชนะท้าย –c –n และ – r เช่นเดียวกับเขมร ขณะที่กวยบ้านสำโรงและกวนบ้านโพนผึ้งซึ่งมีความใกล้ชิดกับลาวไม่ปรากฏเสียงพยัญชนะท้ายดังกล่าว ทั้งนี้อาจมาจากอิทธิพลของภาษาลาว เพราะระบบเสียงภาษาลาวก็ไม่มีเสียงพยัญชนะท้ายเหล่านี้เช่นเดียวกัน ส่วนกูยบ้านจอมพระซึ่งเดิมใกล้ชิดกับเขมร ต่อมามีความใกล้ชิดกับไทย ถึงแม้จะยังคงมีพยัญชนะท้าย –c –n และ – r แต่เสียงเหล่านี้มีการแปรระหว่างรูปแปรซึ่งเป็นเสียงดั้งเดิม คือ [–c] [–n] และ [– r] กับรูปแปรซึ่งเกิดขึ้นใหม่ คือ [–k] [–n] และ [– l] กูยบ้านสังแก กูยบ้านจอมพระ และกวยบ้านสำโรงซึ่งอยู่ในประเทศไทย มีแนวโน้มที่ระดับเสียงจะเข้ามามีบทบาทในการจำแนกความหมายของคำแทนสระโฆษะปกติและสระโฆษะต่ำทุ้ม จึงมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นภาษามีวรรณยุกต์ ส่วนกวยโพนผึ้งซึ่งพูดใน สปป.ลาว มีการเปลี่ยนแปลงสัทลักษณะของสระ กล่าวคือ สระโฆษะปกติจะเป็นสระเลื่อนหลัง ส่วนสระโฆษะต่ำทุ้มเป็นสระเลื่อนหน้า และมีแนวโน้มจะเป็นภาษาที่สระมีการจัดระบบใหม่ จากการวิจัยเชิงสถิติถึงการแปรของสระโฆษะต่ำทุ้ม พบว่า ผู้พูดกวย-กูยบ้านสำโรงและบ้านจอมพระยิ่งอายุน้อยลง จะยิ่งใช้รูปสระโฆษะปกติมากกว่ารูปสระโฆษะต่ำทุ้ม แสดงว่าสระโฆษะต่ำทุ้มกำลังจะสูญไป และจะเกิดวรรณยุกต์ขึ้นมาทดแทน
Other Abstract: This research aims to reconstruct the phonology of Proto-Kuai, explain the patterns of phonological change from Proto-Kuai to modern Kuai-Kui, identify synchronic phonological variations in modern Kuai-Kui and make a statistical analysis of one selected phonological variable. The phonology of Proto-Kuai was reconstructed from four Kuai and two Kui dialects. Proto-Kuai has two types of vowels, clear and breathy. The clear diphthongs *ie and *ue and the breathy monophthong *a: in Proto-Kuai have been retained in the modern Kuai dialects while in the modern Kui dialects, they have been changed to i:, u: and ie respectively. Phonological variations were investigated in four Kuai-Kui dialects which were spoken in different linguistic settings. Ban Sangkae Kui which has been in contact with the Khmer language has final consonants -c -n and -r as in Khmer, whereas Ban Samrong and Ban Ponpeung Kuai which have been in contact with the Lao language do not keep these three final consonants since Lao does not have these three finals. In Ban Chompra Kui which has been in contact with Khmer and Thai, each of these final consonants has two variants [-c] ~ [-k], [-n] ~ [-n] and [-r] ~ [-l]. Some of the Kuai-Kui dialects spoken in Thailand are becoming tonal while Ban Ponpeung Kuai spoken in Laos is becoming a vowel-restructured language. According to a statistical analysis of the variation of breathy vowels which have two variants, breathy vowels[V] ~ clear vowels[V], it was found that young Kuai-Kui speakers at Ban Samrong and Ban Chompra use the clear-vowel variant together with pitch more often than the breathy-vowel one. The result supported the idea that some ofthe Kuai-Kui dialects are becoming tonal.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26495
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha_su_front.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_su_ch1.pdf4 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_su_ch2.pdf19.98 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_su_ch3.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_su_ch4.pdf22.16 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_su_ch5.pdf17.24 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_su_ch6.pdf16.59 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_su_ch7.pdf9.96 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_su_ch8.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_su_ch9.pdf6.51 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_su_back.pdf9.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.