Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26543
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธารี หิรัญรัศมี | |
dc.contributor.advisor | สุพล ดุรงค์วัฒนา | |
dc.contributor.author | ปาริชาต บุตรวงศ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี | |
dc.date.accessioned | 2012-11-28T04:06:45Z | |
dc.date.available | 2012-11-28T04:06:45Z | |
dc.date.issued | 2546 | |
dc.identifier.isbn | 9741736592 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26543 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ผลงานของผู้ตรวจสอบภายในโดยผู้สอบบัญชีอิสระของธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจใช้ผลงานของผู้ตรวจสอบภายในซึ่งได้แก่ ผู้สอบบัญชีในตำแหน่งผู้จัดการและผู้ช่วยผู้สอบบัญชีในตำแหน่งผู้ควบคุมงาน ในการตรวจสอบงบการเงินของสถาบันการเงินที่จะศึกษาจำนวน 90 บริษัท ผลจากการศึกษาพบว่า (1) เหตุผลหลักที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีการใช้ผลงานของผู้ตรวจสอบภายในคือ เพื่อต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสอบบัญชี โดยผู้ตอบส่วนใหญ่เห็นว่างานตรวจสอบภายในด้านการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance Audit) เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีมากที่สุด (2) สำหรับผู้ตอบที่มีการใช้ผลงานตรวจสอบภายในด้านการตรวจสอบทางการเงินมักจะใช้ผลการทดสอบการควบคุมมากกว่าผลการทดสอบเนื้อหาสาระ โดยผู้ตอบส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในของรายการเงินให้กู้ยืมและเงินฝาก (3) ประสิทธิผลของการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในด้านความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน ความรู้ความสามารถ และความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพของผู้ตรวจสอบภายในเป็นประเด็นที่พบว่าเป็นประโยชน์ต่อการประเมินระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน และการประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชี (4) นอกจากนี้ ผลการศึกษาพบว่าประสบการณ์เชิงวิชาชีพและความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพของผู้ตรวจสอบภายในมีความสัมพันธ์กับระดับการใช้ผลงานของผู้ตรวจสอบภายใน (ด้านการตรวจสอบทางการเงิน) โดยผู้สอบบัญชีอิสระ และพบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางเชิงบวก (5) ปัญหาและอุปสรรคของผู้สอบบัญชีในการใช้ผลงานของผู้ตรวจสอบภายใน อันดับแรกคือ ผลงานของผู้ตรวจสอบภายใน (ด้านการตรวจสอบทางการเงิน) ไม่ตรงกับความต้องการของผู้สอบบัญชี รองลงไปคือ มีผู้ตอบที่เห็นว่าผลงานของผู้ตรวจสอบภายในไม่สามารถเชื่อถือได้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสอบบัญชีของสถาบันการเงินที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม มีผู้ตอบที่แสดงความเห็นว่าไม่พบปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ ในการใช้ผลงานของผู้ตรวจสอบภายในคิดเป็นร้อยละ 35 ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่มีการใช้ผลงานของผู้ตรวจสอบภายใน | |
dc.description.abstractalternative | The main purpose of this thesis is to study the using the work of internal auditors by independent auditors in the audit of financial statements of commercial banks, finance companies and securities companies in Thailand. Ninety financial institutions in Thailand were distributed with survey questionnaires by independent auditors. The respondents are the independent auditors, thirty managers and thirty-eight seniors in charge of financial institution audit. The results indicates that (1) the objectives of independent auditors decisions to use the work of internal auditors are to increase the efficiency and effectiveness of financial statement auditing and evaluating the internal control system and to assess the audit risk. (2) In addition, the respondents use or rely on some areas of internal audit report such as the auditing of deposits and loan, and prefer to use the test of control than substantive test. (3) The independence, competency, and due professional care of internal audit, are related to internal audit effectiveness that benefit to evaluate internal control system and to assess the audit risk by independent auditor. (4) Moreover, the experience and due professional care of internal auditor are related to level to use the work of internal auditors by independent auditor. (5) The respondents perspectives, the first problem when independent auditors use the internal audit report are the financial audit of internal auditing is not served the independent auditor requirement and unreliable of internal audit which most of the non-listed company. However, there are 35 % of the independent auditors that use the work of internal auditors do not found the problem. | |
dc.format.extent | 3333565 bytes | |
dc.format.extent | 2639888 bytes | |
dc.format.extent | 8845209 bytes | |
dc.format.extent | 4624073 bytes | |
dc.format.extent | 9922505 bytes | |
dc.format.extent | 7462257 bytes | |
dc.format.extent | 15693761 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การใช้ผลงานของผู้ตรวจสอบภายในโดยผู้สอบบัญชีอิสระในการตรวจสอบงบการเงินของธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | Using the work of internal auditors by independent auditors in the audit of financial statements of commercial banks, finances companies, and securities companies in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Parichat_bo_front.pdf | 3.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parichat_bo_ch1.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parichat_bo_ch2.pdf | 8.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parichat_bo_ch3.pdf | 4.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parichat_bo_ch4.pdf | 9.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parichat_bo_ch5.pdf | 7.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parichat_bo_back.pdf | 15.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.